โครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร ประจำปีการศึกษา 2560
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
วันที่ 9 มีนาคม 2561 (นักศึกษา จบปีการศึกษา 2560 ) คณะผลิตกรรมการเกษตร จัดโครงการปัจฉิมนิเทศ แก่นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย ณ ห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 เข้าร่วม จำนวน 528 คน และนักศึกษาชั้นปีที่ 2-3 เข้ามีส่วนร่วมในการจัดงาน จำนวน 31 คน จากทุกหลักสูตร

โดยมีนักศึกษาชั้นปีสุดท้าย มาเข้าร่วมจาก 7 หลักสูตร จำนวน 528 คน ได้แก่
1.) หลักสูตรพืชศาสตร์ (พืชสวนประดับ 38 คน ,พืชผัก 47 คน,ไม้ผล 72 คน)
2.) หลักสูตรพืชไร่ (2ปี 52 คน , 4 ปี 59 คน)
3.) หลักสูตรปฐพีศาสตร์ 18 คน
4.) หลักสูตรเกษตรเคมี 25 คน
5.) หลักสูตรวิทยาการสมุนไพร 22 คน
6.) หลักสูตรอารักขาพืช (กีฏวิทยา 34 คน ,โรคพืช 48 คน , วัชพืช 19 คน )
7.) หลักสูตรส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร (2ปี 49 คน , 4 ปี 45 คน)

ผศ. ดร.พุฒิสรรค์ เครือคำ ผู้ช่วยคณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร กล่าวต้อนรับพร้อมกล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดโครงการ
และได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรืองชัย จูวัฒนสำราญ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร กล่าวเปิดโครงการปัจฉิมนิเทศและปัจฉิมโอวาทแก่นักศึกษา นักศึกษารับฟังบรรรยายพิเศษ คุณเดชณรงค์ชัย พรมลี และคุณณิชสาคร พรมลี กก.ผจก.บริษัทบ้านนอกคอกนา จำกัด และบริษัท สยามสตาร์ ซีดส์ จำกัด ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 54 เรื่อง “การเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงาน เกษตรไทยในยุคไทยแลนด์ 4.0” มีการแนะนำการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก จากเจ้าหน้าที่ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การนำเสนอรายละเอียดการรับสมัครงาน จำนวน 4 บริษัท 1.เจียไต๋ 2.ศรีตรัง 3.แม็คโคร 4.บริษัทซูเปอร์เรซูเม่จำกัด โดยคณะฯจัดอบรม แนะนำหรือชี้แนวทางที่นอกเหนือจากการเรียนการสอน โดยวิทยากรหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรอบรู้ มีประสบการณ์ เป็นการบริการให้คําปรึกษาด้านการใช้ชีวิตระหว่างช่วงวัยเรียนสู่ช่วงวัยทำงาน ให้นักศึกษาได้เปิดโลกทัศน์ สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อออกไปสู่การทำงานในวิชาชีพ หรือการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา วิทยากรและผู้ประกอบการได้ชี้นำและให้ข้อมูลการเข้าสู่ตลาดแรงงานแก่นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษารับการพัฒนาให้มีศักยภาพและทักษะในการดำเนินชีวิต ตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้กับชีวิตในการทำงาน การประกอบอาชีพ และชีวิตส่วนตัวได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การปรับปรุงจากการประเมินโครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษาประจำปี 2559 (งบ 2560)
1. ได้จัดเตรียมเอกสาร อาหารว่างและเครื่องดื่ม ให้มากกว่าจำนวนผู้มาร่วมโครงการที่แจ้งไว้แล้ว เพราะเป็นการเตรียมพร้อมรองรับ หากจำนวนนักศึกษา
เดินทางมาเข้าร่วมเพิ่มมากขึ้น ไม่ต้องวิ่งไปถ่ายเอกสารเพิ่มเติม
2. จัดให้มีผู้บรรยายที่ทรงคุณวุฒิ และจำเป็นต่อการพัฒนาของนักศึกษา ระดับ ชั้นปี 4 ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่วัยทำงาน จัดให้มีช่วงผู้ประกอบการรับสมัครงานและบรรยาย จำนวน 4 แห่ง และแจ้งให้ผู้ประกอบการแต่จะแห่งที่เหลือ ประสานงานไปรับสมัครงาน ยังสาขาต่างๆในคณะผลิตฯแยกสาขา เพื่อให้ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะทางที่บริษัทได้กำหนดไว้

ข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป
1. ควรให้คณะผู้จัดงาน จองห้องบรรยาย ขนาดกว้างกว่าห้องประชุมข้าวหอมมะลิ อาคารเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพฯ หากเป็นไปได้ เนื่องจากมีจำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 มาช้า เลยได้นั่งเก้าอี้เสริม
2. คณะผลิตกรรมการเกษตร ควรบรรจุ โครงการปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ชั้นปีที่ 4 ไว้ในแผนปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยของบสนับสนุนการจัดงานจากแหล่งเงินรายได้คณะผลิตฯ ประจำปี 2562

ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์แก่นักศึกษา สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อออกไปสู่การทำงานในวิชาชีพ หรือการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา นักศึกษาได้เปิดโลกทัศน์ สำหรับการเตรียมความพร้อมเพื่อออกไปสู่การทำงานในวิชาชีพ หรือการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา
2 เพื่อจัดบริการให้คําปรึกษาด้านการใช้ชีวิตระหว่างช่วงวัยเรียนสู่ช่วงวัยทำงาน นักศึกษาได้รับการจัดบริการให้คําปรึกษาด้านการใช้ชีวิตระหว่างช่วงวัยเรียนสู่ช่วงวัยทำงาน
3 เพื่อชี้นำและให้ข้อมูลการเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยวิทยากรและผู้ประกอบการ นักศึกษาได้รับการชี้นำและให้ข้อมูลการเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยวิทยากรและผู้ประกอบการ
4 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีศักยภาพและทักษะในการดำเนินชีวิต ตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ นักศึกษาให้รับการพัฒนาศักยภาพและทักษะในการดำเนินชีวิต ตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาที่ผ่านการอบรมมีความพร้อมในการทำงาน พร้อมในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับที่นักศึกษาได้เปิดโลกทัศน์การเตรียมความพร้อมเพื่อออกไปสู่การทำงานในวิชาชีพหรือการศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 4.5 100
2. ระดับที่นักศึกษาได้รับการชี้นำและให้ข้อมูลการเข้าสู่ตลาดแรงงาน เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 4.38 100
3. ระดับที่นักศึกษาเข้าใจด้านการพัฒนาศักยภาพของตนเอง ในทักษะการดำเนินชีวิตตามคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ 5 ข้อ เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 4 100
4. ระดับการรับบริการการให้คําปรึกษาด้านการใช้ชีวิตระหว่างช่วงวัยเรียนสู่ช่วงวัยทำงาน เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 4.2 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
08/03/2561  - 09/03/2561 09/03/2561  - 09/03/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ