โครงการแม่โจ้ : แป๋งบ้านสร้างเมือง ตอน ประมงแม่โจ้แป๋งบ้าน ปีที่ 5
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ดำเนินโครงการภายใต้วัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อให้การเลี้ยงปลาในชุมชนบ้านแม่แก้ด
เป็นไปอย่างยั่งยืน และส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้หลักวิชาการ งานวิจัย งานบริการวิชาการ งานกิจกรรมนักศึกษา บูรณาการร่วมกัน
รายวิชาที่นักศึกษานำไปใช้ในการดำเนินกิจกรรม ได้แก่
- รายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำ
- รายวิชาแพลงก์ตอนวิทยา
- รายวิชามีนวิทยา
ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่
- ชุมชนบ้านแม่แก้ดน้อย
- ชุมชนบ้านโปง
- ชุมชนบ้านแม่โจ้
- กลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานเก็บตัวอย่าง วิเคราะห์คุณภาพน้ำ และสำรวจสำรวจสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ นักศึกษาในรายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำ รายวิชาแพลงก์ตอนวิทยา และรายวิชามีนวิทยา ได้รับมอบหมายพื้นที่ในชุมชนในการเก็บตัวอย่าง วิเคราะห์คุณภาพน้ำ และสำรวจสำรวจสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ ได้แก่น้ำในบ่อเลี้ยงปลาของชุมชนบ้านแม่แก้ด น้ำในลำห้วยแม่โจ้ในเขตชุมชนบ้านโปง ชุมชนบ้านแม่โจ้ และในเขตมหาวิทยาลัยแม่โจ้
2 เพื่อเสริมสร้างอาชีพทางการประมงที่ยั่งยืน และสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชน/ชุมชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม - นักศึกษาในรายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำ รายวิชาแพลงก์ตอนวิทยา ได้ลงพื้นที่เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนในพื้นที่ ได้แก่โรงเรียนบ้านแม่โจ้ และชาวบ้านชุมชนบ้านแม่โจ้
- นักศึกษาในรายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำ รายวิชาแพลงก์ตอนวิทยา ออกพื้นที่ปฏิบัติการในเขตชุมชนบ้านแม่แก้ด ซึ่งเป็นชุมชนที่มีการเลี้ยงปลานิล ได้มีการเก็บข้อมูลของบ่อเลี้ยงปลา เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ และส่งกลับข้อมูลไปยังเจ้าของบ่อปลาต่อไป
3 เพื่อให้คณะ นักศึกษา และชุมชน ได้มีความร่วมมือกันศึกษาเรียนรู้ ปรับประยุกต์ใช้งานวิชาการในการพัฒนาชุมชนร่วมกัน โดยบูรณาการระหว่างการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และกิจกรรมนักศึกษา นักศึกษาได้มีการประสานงานกับเทศบาลเมืองแม่โจ้และเทศบาลตำบลป่าไผ่ในการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน โดยการนำข้อเสนอจากชุมชนมาออกแบบในการดำเนินกิจกรรมแบบบูรณาการ
4 เพื่อส่งเสริมและประกอบระบบระเบียนกิจกรรมนักศึกษา หลังเสร็จสิ้นโครงการได้มีการบันทึกข้อมูลนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการลงในระบบระเบียนกิจกรรมนักศึกษา
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : บัณฑิตมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดี เก่ง และมีความสุข
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนรายวิชาที่บูรณาการวิชาการรับใช้สังคม
เชิงปริมาณ รายวิชา 3 3 100
2. ระดับความพึงพอใจโดยรวมของนักศึกษาในการเข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.17 100
3. จำนวนผลงานทางวิชาการจากกระบวนการรายวิชาที่ผลิตได้
เชิงปริมาณ ชิ้น 10 9 90.00
4. ระดับความพึงพอใจโดยรวมของชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 3.94 100
5. ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
6. จำนวนชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ ชุมชน 3 3 100
7. ประโยชน์ที่นักศึกษาได้รับหลังจากการเข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 3.8 100
รวม      98.57
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 98.57
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
27/02/2561  - 28/09/2561 27/02/2561  - 28/09/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ