โครงการงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 35 จ.พัทลุง (คณะผลิตกรรมการเกษตร)
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
วันที่ 3-10 มกราคม 2561 อาจารย์ จำนวน 9 คน เจ้าหน้าที่ จำนวน 2 คน และนักศึกษา จำนวน 40 คน ได้เดินทางไปปฏิบัติงานเข้าร่วมโครงการประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 35 จังหวัดพัทลุง ณ คณะเทคโนโลยีและการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง โครงการงานประเพณี 4 จอบ แห่งชาติ ครั้งที่ 35 ในปีนี้มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดโครงการ โดยมี 12 สถาบันอุดมศึกษาที่มีหลักสูตรทางการเกษตร จาก 4 ภาคของประเทศไทยเข้าร่วมโครงการ เป็นภาคีสมาชิก 4 จอบแห่งชาติ ซึ่งมีการจัดโครงการมายาวนานติดต่อกันเป็นครั้งที่ 35

คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำนักศึกษา เข้าแข่งขันกีฬาทักษะเกษตร จำนวน 11 ทักษะ เพื่อพัฒนานักศึกษาด้านทักษะวิชาการเกษตร นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และทักษะวิชาการสาขาเกษตรที่จะนำไปสู่ความร่วมมือและพัฒนาการเกษตรของประเทศไทยในอนาคต
นอกเหนือจากการแข่งขันทักษะวิชาการเกษตร ยังได้เข้าร่วมการแข่งกีฬาสากล ฟุตซอล และตระกร้อ กิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรมของแต่ละสถาบัน 4 ภาคกิจกรรมปลูกป่าโกงกาง เก็บขยะมูลฝอยริมชายหาด ได้สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างสมาชิกภาคี เครือข่ายมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนทางด้านการเกษตร 4 ภาคของประเทศไทย

คณะผลิตฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เดินทางเข้าร่วมโครงการฯ กับคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ โดย

นักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร เข้าแข่งขันจำนวน 11 ทักษะ กีฬาสากล 2 ประเภท
นักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าแข่งขันจำนวน 6 ทักษะ กีฬาสากล 1 ประเภท
นักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ เข้าแข่งขันจำนวน 2 ทักษะ กีฬาสากล 1 ประเภท

ผลการแข่งขัน คะแนนรวมทักษะเกษตรเป็นอันดับ 2 รองจาก ม.เกษตรศาสตร์ และ ม.ข่อนแก่น เป็นอันดับ 3
ได้รับเหรียญทองทักษะเกษตรจำนวน 9 เหรียญ กีฬาสากล 1 เหรียญ
ด้านพืช 6 ทักษะ = การผลิตแผ่นประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการเกษตร, การเซทแมลงการเข้าด้ามจอบเตรียมแปลง, การประเมินเนื้อดินโดยวิธีภาค
สนามและการวัดค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน, การขยายพันธุ์พืช ติดตา-ต่อกิ่ง-ทาบกิ่ง และการจัดสวนถาด
ด้านสัตว์ 3 ทักษะ = การตัดแต่งซากสัตว์ปีก, การรีดเต้านมเทียมและการตอนสุกร
เหรียญทองกีฬาสากล ประเภทตะกร้อชาย จำนวน 1 เหรียญ

ได้รับเหรียญเงิน จำนวน 6 เหรียญ
ด้านพืช 4 ทักษะ = ได้แก่การกรอกวัสดุปลูกใส่ถุง, การวินิจฉัยโรคพืช, โครงงานทางการเกษตร และการพูดส่งเสริมการเกษตร
ด้านสัตว์ 1 ทักษะ = การคล้องโคและล้มโค
ด้านประมง 1 ทักษะ = การแข่งขันบรรจุพันธุ์ลูกปลา

ได้รับเหรียญทองแดงจำนวน 1 เหรียญ
ด้านพืช 1 ทักษะ การคำนวณอัตราการใช้และการพ่นสารกำจัดวัชพืช

มีจำนวนสถาบันที่ได้เชื่อมความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีระหว่างคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา ในโครงการ 12 สถาบัน โดยงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 36 มีนักศึกษาเกษตรจาก 12 สถาบัน กว่า 2,000 คน เข้าร่วม
โดยมีนักศึกษาเกษตรจาก 12 สถาบัน ที่เข้าร่วมคือ 1.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU) 2.มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (UBU) 3.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (TU) 4.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (KU) 5.มหาวิทยาลัยศิลปากร (SU) 6.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU) 7.สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KMITL) 8.มหาวิทยาลัยนเรศวร (NU) 9.มหาวิทยาลัยทักษิณ (TSU) 10.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม (MSU) 11.มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (MJU) และ 12.มหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKU)

จากผลการประเมินการเข้าร่วมโครงการของนักศึกษา ปรากฎว่า มีระดับความพึงพอใจต่อการแลกเปลี่ยน และสืบสานศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละสถาบัน = 4.51 มีระดับความรู้ความเข้าใจต่อการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะวิชาการทางด้านการเกษตร 4.40

การปรับปรุงจากผลประเมินโครงการปีที่แล้ว คือ
1.) ได้วางแผนการทำงานร่วมกันระหว่างสโมสรนักศึกษา 3 คณะ ได้แก่ 1.คณะผลิตกรรมการเกษตร 2. คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี 3. คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจนในแต่ละกิจกรรม และเว้นวรรคการทำงานร่วมกัน เพื่อลดแรงปะทะ
2.) ได้แก้ไข ปัญหาเรื่องการปะทะทางอารมณ์ระหว่างสโมสรนักศึกษาคณะผลิตฯ และสโมสรนักศึกษาคณะสัตวศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นักศึกษาวางแผนงานกันเป็นอย่างดี พยายามควบคุมปัจจัยที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์ที่นักศึกษาไม่สามารถควบคุมอารมณ์และความรู้สึกได้ นักศึกษาจึงสามารถสร้างความสามัคคีภายในกลุ่ม 3 คณะด้านการเกษตร ม.แม่โจ้ ได้ดีในระดับที่ยอมรับได้

ปัญหาอุปสรรคโครงการงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ. 2560
ปัญหาการเปลี่ยนแปลงกำหนดการแข่งขัน ทำให้นักศึกษาและอาจารย์ประจำทักษะ ต้องวางแผนการเดินทางใหม่เพื่อแก้ไขปัญหา และสโมสรนักศึกษา ได้เสียงบประมาณไปกับการแก้ไขปัญหา เฉพาะหน้านั้นเป็นจำนวนมาก

ข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป
ควรวางแผนการคัดเลือกและฝึกซ้อมนักศึกษาแข่งขันทักษะเกษตร และกีฬาสากลให้เข้มข้น และให้มีเวลาฝึกซ้อม เตรียมความพร้อมแต่เนินๆ เพื่อให้มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ครองแชมป์อันดับ 1 และรับถ้วยพระราชทานดังเช่นเคย
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะวิชาการทางด้านการเกษตร ได้แลกเปลี่ยนความรู้และทักษะวิชาการทางด้านการเกษตร
2 เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีระหว่างคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา 12 สถาบัน ได้เชื่อมความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีระหว่างคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา 12 สถาบัน
3 เพื่อแลกเปลี่ยน และสืบสานศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละสถาบันภาคีสมาชิก ได้แลกเปลี่ยนและสืบสานศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละสถาบันภาคีสมาชิก
4 เพื่อเข้าร่วมแข่งขันกีฬาทักษะเกษตร สำหรับการพัฒนานักศึกษาด้านทักษะวิชาการเกษตร ได้เข้าแข่งขันกีฬาทักษะเกษตร สำหรับการพัฒนานักศึกษาด้านทักษะวิชาการเกษตร
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะนอกห้องเรียนด้านต่างๆ ทั้งด้านวิชาการเกษตร ด้านกีฬา ศิลปวัฒนธรรม อาสาพัฒนา บำเพ็ญประโยชน์ คุณธรรมและจริยธรรมและการอนุรักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม เรียนรู้วิธีการประสานงานโครงการและการบริหารงานให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการจัดงาน ตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนสถาบันที่ได้เชื่อมความสัมพันธ์อันดีและความสามัคคีระหว่างคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา ในโครงการ เชิงปริมาณ สถาบัน 12 12 100
2. ลำดับรางวัลที่ได้รับ เชิงคุณภาพ ลำดับ 1 2 100
3. ระดับความพึงพอใจต่อการแลกเปลี่ยน และสืบสานศิลปวัฒนธรรมประจำท้องถิ่นของแต่ละสถาบัน เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 4.51 100
4. ระดับความรู้ความเข้าใจต่อการแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะวิชาการทางด้านการเกษตร เชิงคุณภาพ ระดับ 3.5 4.4 100
5. จำนวนรางวัลที่ได้รับจากการแข่งขันในแต่ละด้าน เชิงคุณภาพ รางวัล 5 12 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
02/01/2561  - 12/01/2561 03/01/2561  - 11/01/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ