โครงการฮ่วมแฮง แฮกเกี่ยวข้าว จาวคณะผลิตฯ
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการ"ฮ่วมแฮง แฮกเกี่ยวข้าว จาวคณะผลิตฯ" จัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2560 ณ บริเวณหน้าอาคารพืชศาสตร์และเทคโนโลยีและแปลงสาธิตฟาร์มวิจัยและพัฒนาการผลิตพืช คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์พาวิน มะโนชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นประธานเปิดโครงการ "ฮ่วมแฮง แฮกเกี่ยวข้าว จาวคณะผลิตฯ" กล่าวรายงานโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรืองชัย จูวัฒนสำราญ คณบดีคณะผลิตกรรมการเกษตร เมื่อวันเสาร์ที่ 16 ธันวาคม 2560
ให้ความรู้ ด้านพิธีกรรมตามวัฒนธรรมวันเกี่ยวข้าว ตามฮีตฮอยล้านนาในอดีต "พิธีแฮกเกี่ยว" โดย ปราชญ์ชาวบ้าน พ่ออาจารย์นิคม พรหมมาเทพย์ , มีกิจกรรมให้นักศึกษาและอาจารย์ เจ้าหน้าที่ ช่วยกันเกี่ยวข้าวในนา ณ แปลงข้าวสาขาพืชไร่ คณะผลิตฯ เรียนรู้และทดลองฟาดข้าวเปลือก นวดข้าว สีข้าว บรรจุข้าว และร่วมกันแปรรูปข้าวเป็นอาหาร อาทิ ข้าวแต๋น ข้าวต้มมัด ข้าวมันปิ้ง ข้าวจี่ และมีการแข่งขันทำข้าวหลาม นักศึกษาที่มีส่วนร่วมได้เรียนรู้ทั้งด้านวัฒนธรรมในวันเกี่ยวข้าว และได้พัฒนาทักษะการทำงานร่วมกัน ตลอดจนได้สานสัมพันธ์ระหว่าง อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษาคณะผลิตฯ และบุคลากรจากหน่วยงาน รอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้

ผลการประเมินความสำเร็จตามตัวชี้วัด = ร้อยละ 100 โดยมีวัตถุประสงค์ของโครงการเพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงาม มีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตข้าวแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพื่อพัฒนารูปแบบในการจัดกิจกรรม/โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และวัฒนธรรมการเกษตร ให้น่าสนใจและทันสมัย
1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการผลิตข้าว ผลการประเมิน = คิดเป็นร้อยละ 100 /
2. ร้อยละความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ผลการประเมิน = คิดเป็นร้อยละ 84.8 /
3. ร้อยละจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ ผลการประเมิน = คิดเป็นร้อยละ 85.8 /
และผลประเมินความพึงพอใจที่นักศึกษามีต่อโครงการ คิดเป็นร้อยละ 85

สิ่งที่นักศึกษาพึงพอใจในการร่วมโครงการ ได้แก่ การได้เรียนรู้การเกี่ยวข้าว การทำข้าวหลาม การตีข้าว ได้สนุกในการทดลองเกี่ยวข้าว
การได้ลงมือปฏิบัติจริงให้หลากหลายกิจกรรมย่อย การได้ร่วมเกี่ยวข้าวกับเพื่อนต่างสาขา และเรียนรู้วัฒนธรรมเกษตรล้านนา

สิ่งที่นักศึกษาแนะนำให้พัฒนาการจัดโครงการด้านวัฒนธรรมในโอกาสต่อไป คือ เพิ่มกิจกรรมย่อยในโครงการเกี่ยวข้าวเพื่อให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมและได้เรียนรู้วัฒนธรรมการเกษตร ที่เกี่ยวกับ “ข้าว” มากขึ้น และให้มีโครงการทางวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มพื้นที่ การมีส่วนร่วมของนักศึกษาคณะผลิตฯ ซึ่งมีจำนวนนักศึกษามาก เป็นอันดับต้นๆของมหาวิทยาลัย

การปรับปรุงจากการประเมินโครงการปีที่แล้วใน 3 เรื่อง ได้แก่
1. ดำเนินการด้านพิธีการให้กระชับ ใช้เวลาให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
2. เพิ่มกิจกรรมในการเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการผลิตข้าวแบบภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา
ในรูปแบบอื่น ๆ ให้มากขึ้น เช่น กิจกรรมตีข้าว, แข่งขันเผาข้าวหลาม,การเกี่ยวข้าว และเน้นให้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติจริงในอัตราที่สูงขึ้นกว่าปีที่แล้ว
3. ได้เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เช่น เพิ่มวัสดุอุปกรณ์ตามแต่ความเหมาะสมในกิจกรรมฟาดข้าว แปรรูปข้าว การบรรจุข้าวสาร เป็นต้น


ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงาม และมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตข้าวแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงาม และมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตข้าวแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น
2 เพื่อพัฒนารูปแบบในการจัดกิจกรรม/โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และวัฒนธรรมการเกษตร ให้น่าสนใจและทันสมัย ได้พัฒนารูปแบบในการจัดกิจกรรม/โครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และวัฒนธรรมการเกษตร ให้น่าสนใจและทันสมัย
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ได้พัฒนารูปแบบในการจัดกิจกรรมโครงการด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและวัฒนธรรมการเกษตรให้น่าสนใจและทันสมัย นักศึกษา บุคลากรและผู้สนใจได้มีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตข้าวแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมโครงการตระหนักถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงาม และมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตข้าวแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 100 100
2. ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการผลิตข้าว เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 84.8 100
3. ร้อยละความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 85.8 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
06/12/2560  - 18/12/2560 16/12/2560  - 16/12/2560
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ