โครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะผลิตกรรมการเกษตร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
แนวคิดที่ว่า วัฒนธรรมของไทย เป็นวิถีชีวิตของคนไทยในสังคมไทย เป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาม และการแสดงออกถึงความรู้สึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ
ที่สมาชิกในสังคมไทย สามารถ รู้ เข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติร่วมกันในสังคมไทย ..หนึ่งในวัฒนธรรมไทย คือ ประเพณีและพิธีทางศาสนาต่างๆ อันได้แก่ กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันสำคัญต่างๆ โดยคณะผลิตกรรมการเกษตร ได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของวัฒนธรรม จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากร ในหน่วยงานได้ร่วมอนุรักษ์ศิลปและวัฒนธรรมล้านนาไทย โดยกำหนดกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย จำนวน 3 กิจกรรม ดังนี้
1. กิจกรรมดำหัวผู้อาวุโส อนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีปี๋ใหม่เมือง
2. กิจกรรมส่งเสริมนักศึกษาประกวดเทพี-เทพบุตรสงกรานต์
3. กิจกรรมถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน

สรุปผลประเมิน โครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย ประจำปีงบประมาณ 2561
ผลผลิต : นักศึกษาและบุคลากร ได้ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมอนุรักษ์สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา และยังได้มีโอกาสสร้างผลงานเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถเผยแพร่สู่สังคมได้ ตลอดจนได้สร้างความสามัคคี เสริมสัมพันธไมตรีระหว่างนักศึกษาและบุคลากร ของคณะผลิตกรรมการเกษตร

1) กิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส "อนุรักษ์และส่งเสริมประเวณีปี๋ใหม่เมือง"
จัดวันที่ 20 เมษายน 2561 เงินรายได้คณะผลิตฯ 40,000 บาท
นักศึกษาและบุคลากร ได้สืบทอดและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีตามแบบล้านนาไทยที่ผู้เยาว์ควรแสดงออกมีต่อผู้อาวุโสที่เคารพนับถือ และได้ทำขนมพื้นบ้าน กรวยดอกไม้ แต่งกายพื้นเมือง รวมแข่งขันส้มตำลีลา มีผลการประเมินความสำเร็จของโครงการ คิดเป็นร้อยละ 83.6

การปรับปรุงจากการประเมินโครงการปีที่แล้ว
จัดการประชาสัมพันธ์ให้มีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้อาวุโสประจำคณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวนมากขึ้น โดยที่นักศึกษาจะได้หัดห่อข้าวหนมจ๊อก และรับประทานอาหารล้านนาท้องถิ่น ภาคเหนือร่วมกับบุคลากร เป็นการสานสัมพันธไมตรี สร้างความสามัคคีระหว่างบุคลากรและนักศึกษา ซึ่งถือว่าได้ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรได้สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น

สิ่งที่ยังไม่ได้ปรับปรุง
1. การเพิ่มระยะทางในการเดินขบวนรดน้ำดำหัวอธิการบดี และเลือกเส้นทางที่จะมีผู้เห็นความงดงามของริ้วขบวนเป็นจำนวนมาก เพื่อให้คุ้มค่ากับการประดับตกแต่งและความตั้งใจของผู้มีส่วนร่วมในการจัดริ้วขบวนเนื่องจากปีนี้มีบุคลากรให้ความสนใจร่วมเดินขบวนจำนวนน้อย และไม่ได้มีการจัดขบวนอย่างเป็นทางการ หากปีหน้ามีการวางแผนจัดขบวนอย่างเป็นทางการ จะทำการเพิ่มระยะทางการเดินขบวน
2. การจัดประดับตกแต่งสถานที่จัดงาน บริเวณสนามหญ้าหน้าอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตฯ ให้เป็นแบบล้านนา และมีมุมถ่ายภาพ เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความประทับใจและสามารถบันทึกภาพประทับใจได้เนื่องจากปีนี้มีงบประมาณจำกัด จึงไม่ได้มีการประดับตกแต่งมุมถ่ายภาพเพิ่มเติม แต่จัดงานบริเวณสนามหญ้าหน้าอาคารรัตนโกสินทร์ ที่มีต้นไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม จึงยังมีมุมเพื่อถ่ายภาพให้แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงาน

ข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป
1. เพิ่มกิจกรรมการแข่งขันต่างๆ ให้บุคลากรและนักศึกษาได้สร้างผลงาน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถเผยแพร่สู่สังคมได้ อาทิ การแข่งขันทำลาบดิบ ลาบสุก แกงแค และการเล่นยิงก๋งเป็นต้น
2. ควรเพิ่มกิจกรรมแข่งขันยิงก๋ง เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย เฮฮา มีความสุข สนุกร่วมกัน ทุกคนจะได้มีกิจกรรมส่วนร่วม

2) กิจกรรมส่งเสริมนักศึกษาประกวดเทพี-เทพบุตรสงกรานต์ วันที่ 12-14 เมษายน 2561 เงินรายได้คณะผลิตฯ 5,000 บาท
นักศึกษาได้เข้าประกวดเทพบุตรสงกรานต์ โดยจังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรมงานประเพณีสงกรานต์ (ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่) ประจำปี 2561”
ระหว่างวันที่ 12 - 15 เมษายน 2561 ประเพณีปี๋ใหม่เมือง หรือ ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วันสงกรานต์ล้านนาในภาคเหนือ คณะผลิตกรรมการเกษตร ส่งนักศึกษาจำนวน 1 คน นายไกรวิท อภิวัน เข้าร่วมการประกวดทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ร่วมกับผู้เข้าประกวดคนอื่นๆ ได้ฝึกทักษะการพูด ฝึกปฏิภาณไหวพริบในการตอบคำถาม การรับรู้รายละเอียดของกิจกรรมประเพณีปีใหม่ล้านนา ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาได้ร่วมงานประเพณีระดับจังหวัดที่จัดขึ้น และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรม พัฒนาบุคลิกภาพและความกล้าหาญ เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ ด้านการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อีกทางหนึ่งด้วย มีผลการประเมินความสำเร็จของโครงการ คิดเป็นร้อยละ 82.2
ข้อเสนอแนะ : ควรเตรียมคัดเลือกนักศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพและทักษะที่จำเป็น ส่งเข้าประกวด ในงานทางวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกความกล้าแสดงออกและได้เรียนรู้ ซึมซับเอาความรู้และคุณค่าทางวัฒนธรรมล้านนาไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้ เพื่อสืบต่อประเพณีสำคัญ
- งานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง - งานป๋าเวณียี่เป็งล้านนา

3) กิจกรรมถวายเทียนพรรษาผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้พระภิกษุ
วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 ณ ชั้น 1 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี และวัดเจ็ดลิน ในเมืองเชียงใหม่
เวลา 09.09 น. – 11.09 น. ได้จัดกิจกรรม“ตกแต่งดาคัว” โดยเชิญบุคลากรและนักศึกษา คณะผลิตฯ ร่วมฮอมของถวายทานพระสงฆ์ , จัดชุดเทียนพรรษา เครื่องไทยทาน พร้อมรวบรวมปัจจัย เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ตามวัฒนธรรมก่อนถึงวันเข้าพรรษาณ ชั้น 1 อาคารรัตนโกสินทร์ฯ
เวลา 11.15 น. รับประทานอาหารพื้นเมืองร่วมกัน สานสัมพันธ์ชาวคณะผลิตฯ ณ ชั้น 1 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร
ช่วงบ่าย เดินทางไปยังวัดเจ็ดลิน ในเมืองเชียงใหม่ ทำพิธีถวายเทียนพรรษา เครื่องไทยทาน ปัจจัย และกล้ากล้วยไม้ไทยจากโครงการคืนชีวิตกล้วยไม้ไทยสู่ไพรพฤกษ์ บุคลากรและนักศึกษารับศีลรับพรเสริมศิริมงคลและพลังบารมีให้แก่ชีวิต รับฟังประวัติวัดเจ็ดลินจากท่านเจ้าอาวาสวัดเจ็ดลิน “พระมหาวิษณุ จารุธัมโม” บุคลากรและนักศึกษาทำจิตใจให้ผ่องใส ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 30 นาที เวลา 14.15 น. กิจกรรมปล่อยกล้วยไม้ไทย เยี่ยมชมความสวยงามรอบบริเวณวัดเจ็ดลิน มีผลการประเมินความสำเร็จของโครงการ คิดเป็นร้อยละ 84.6

การปรับปรุงจากการประเมินโครงการปีที่แล้ว
1.มีการเพิ่มระยะเวลาการฝึกนั่งสมาธิกรรมฐาน จาก 10 นาที เป็น 30 นาที
2.ประสานงาน อาจารย์ที่มีชั่วโมงเรียนภาคฤดูร้อน เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญนักศึกษา บุคลากร และคณาจารย์ เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสานสัมพันธ์ชาวคณะผลิตกรรมการเกษตร

ข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป
เพิ่มกิจกรรมให้บุคลากรและนักศึกษามีส่วนร่วม เช่น การแข่งยิงลูกก้ง การแข่งทำอาหาร การแข่งการประดับตกแต่งเทียนพรรษา
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรได้สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น นักศึกษาและบุคลากร ได้รับการส่งเสริมให้ได้สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
2 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรสามารถสร้างผลงาน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถเผยแพร่สู่สังคมได้ นักศึกษาและบุคลากร ได้รับการส่งเสริมให้สามารถสร้างผลงาน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถเผยแพร่สู่สังคมได้
3 เพื่อส่งเสริมการบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา ได้ส่งเสริมการบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาและบุคลากร ได้ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมอนุรักษ์สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา และยังได้มีโอกาสสร้างผลงานเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถเผยแพร่สู่สังคมได้ ตลอดจนได้สร้างความสามัคคี เสริมสัมพันธไมตรีระหว่างนักศึกษาและบุคลากร ของคณะผลิตกรรมการเกษตร
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3 กิจกรรมที่ตั้งไว้ (จำนวน 161 คน) เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 100 100
2. ร้อยละความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 83.46 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
11/04/2561  - 30/09/2561 20/04/2561  - 26/07/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ