โครงการเปิดโลกทัศน์นักการสื่อสาร สู่เส้นทางวิชาชีพสื่อดิจิทัล ประจำปีการศึกษา 2560
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสารสนเทศและการสื่อสาร
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
ผลการดำเนินงานในภาพรวม

โครงการเปิดโลกทัศน์นักการสื่อสาร สู่เส้นทางวิชาชีพสื่อดิจิทัล ปีการศึกษา 2560 โดยนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ชั้นปีที่ 3 รหัส 58 คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ นำโดยคณาจารย์และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล จำนวน 39 คน และผู้ควบคุมดูแลนักศึกษา จำนวน 3 คน คือ 1) อาจารย์กริ่งกาญจน์ เจริญกุล และ 2) อาจารย์วิชญา โคตรฐิติธรรม 3) อาจารย์อภิญญา ฤทธิโพธิ์ โดยได้เดินทางเพื่อไปศึกษาดูงาน ณ กรุงเทพมหานครฯ และจังหวัดชลบุรี เพื่อศึกษาดูงานสถานประกอบวิชาชีพด้านสื่อ ระหว่างวันที่ 29 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2561 การศึกษาดูงานสถานประกอบการวิชาชีพสื่อในครั้งนี้ คณาจารย์และนักศึกษาได้เข้าศึกษาดูงานสถานประกอบการ จำนวน 4 แห่ง คือ 1) ศึกษาดูงาน สถานประกอบการด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ณ อาคารมาลีนนท์ทาวเวอร์ สถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสี ช่อง 3 2) สถานประกอบการด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ และ 3) สถานประกอบการด้านDigital marketing และด้านกราฟิก ในสื่อโฆษณา ณ บริษัท แมคฟิว่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) 4) สถานประกอบการด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ณ บริษัท เวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน) บางบ่อ

การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติ Green eco เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการจัดกิจกรรม 2 ส่วน คือ 1) นักศึกษาแบ่งกลุ่มกันทำกิจกรรมปลูกป่า และถ่ายทำ VTR แหล่งเรียนรู้ ธรรมชาติศึกษา รวมถึงวิธีการอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี และ 2) กิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติ Green eco โดยนักศึกษาแบ่งกลุ่มกันช่วยเก็บเศษขยะ และเศษใบไม้ ณ บริเวณหาดตาแหวน เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี โดยนักศึกษาได้ร่วมกันเก็บขยะ สิ่งปฏิกูลต่างๆ ขยะ หรือ มูลฝอย หรือ ของเสีย เป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม และ มีผลต่อสุขภาพอนามัย มูลฝอยหรือของเสียกำลังมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นทุกปี เพราะสาเหตุจากการเพิ่มของประชากร การขยายตัวทางเศรษฐกิจและทางอุตสาหกรรม นับเป็นปัญหาที่สำคัญของชุมชนซึ่งต้องจัดการและแก้ไข ปริมาณกากของเสียและสารอันตราย ได้แก่ ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลได้ รวมถึงโครงการนี่เป็นการส่งเสริมการ และการนำแนวคิดการสื่อสารขององค์กร และโครงการดังกล่าวมาปรับใช้อย่างไร และแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้กับมหาวิทยาลัยแม่โจ้อย่างไร

ผลของการนำไปใช้ประโยชน์
การจัดกิจรรมโครงการครั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มประสบการณ์ในสายงานวิชาชีพ และถือเป็นการสร้างโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเองนอกห้องเรียน นักศึกษาเกิดความเข้าใจในสายวิชาชีพของตนเอง และนักศึกษาสามารถตัดสินใจที่จะเลือกสถานประกอบการเพื่อการฝึกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ต่อไป
การเสริมสร้างศักยภาพด้านวิชาการ สร้างโอกาสการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ตรง ส่งผลให้นักศึกษาทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากกิจกรรมไปใช้หลังจากสำเร็จการศึกษา อาทิเช่น การสมัครงาน การสัมภาษณ์งาน และการใช้ชีวิตในองค์กรอย่างมีความสุข และสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างเป็นสุข ประสบผลสำเร็จในชีวิตและประสบผลสำเร็จในหน้าที่การทำงาน และครอบครัวในอนาคต ทั้งนี้นักศึกษาได้รับการปลูกฝังในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม แนวคิดด้านสิ่งแวดล้อมมาปรับใช้ในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต่อไป
การจัดกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติ Green eco อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ณ เกาะล้าน จังหวัดชลบุรี ซึ่งนักศึกษาได้มีความตระหนัก และได้เรียนรู้เกี่ยวกับผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ขยะทำให้เกิดการปนเปื้อนของพื้นดินแหล่งน้ำและอากาศทำให้บ้านเมืองไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยไม่เป็นที่เจริญของผู้ที่ได้พบเห็นส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน โดยทั่วไปการแก้ไขปัญหาของขยะ จึงควรปฏิบัติเพื่อป้องกันและแก้ไขผลเสียที่จะเกิดขึ้นสำหรับการป้องกันและแก้ไขที่ดีควรพิจารณา ถึงต้นเหตุที่ก่อให้เกิดขยะขึ้นมาซึ่งก็คงจะหมายถึงมนุษย์ หรือผู้สร้างขยะ นั้นเอง การป้องกันและการแก้ไขปัญหาของขยะ เริ่มต้นด้วย การสร้างจิตสำนึกแก่มนุษย์ให้รู้จักรับผิดชอบในการรักษาความสะอาด ทั้งในบ้านเรือนของตัวเอง และภายนอกบ้านไม่ว่าจะเป็นถนนหนทางสถานที่ทำงาน หรือที่สาธารณะอื่น ๆ
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการคิด วางแผน และดำเนินกิจกรรม เพื่อการเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเอง ตลอดจนนักศึกษามีความเข้าใจในสายงานวิชาชีพ และตัดสินใจเลือกสถานประกอบการในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 1 นักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการสื่อสารดิจิทัล ชั้นปีที่ 3 รหัส 58 ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการ โดยการคิดกิจกรรมที่จะจัดขึ้น ประชุมวางแผนการดำเนินกิจกรรม ประสานหน่วยงานสถานประกอบการ เพื่อรับโอกาสในการเรียนรู้จากองค์กรสื่อชั้นนำของประเทศ นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมโครงการได้รับความรู้ และสามารถตัดสินใจเลือกสถานประกอบการที่นักศึกษาต้องออกไปฝึกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา และสามารถนำวิชาความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการทำงานในอนาคต
2 เพื่อให้นักศึกษาได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หรือพิษภัยทางธรรมชาติ สารเคมี เพื่อเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อม 2 นักศึกษาได้จัดกิจกรรมอนุรักษ์ธรรมชาติ Green eco อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เป็นการปลูกฝังจิตสำนึก และขยายเครือข่ายด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้เข้ามามีส่วนร่วม นอกจากจะเป็นการทำกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์แล้ว ยังเป็นกิจกรรมการช่วยเหลือสังคม
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการคิด วางแผน และดำเนินกิจกรรมการเสริมสร้างการเรียนรู้ด้วยตนเอง และนักศึกษาได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ ระดับมาก เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
2. การมีส่วนร่วมของนักศึกษาในการจัดกิจกรรมโครงการ ระดับมาก เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
3. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ คน 75 0.00
รวม      0.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 0.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
26/01/2561  - 25/09/2561 29/01/2561  - 02/02/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ