โครงการ การพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านวิศวกรรมพลังงานสำหรับรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจ ของประเทศไทย (ไทยแลนด์ 4.0)
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » วิทยาลัยพลังงานทดแทน
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
สรุปผลการดำเนินกิจกรรมย่อย
กิจกรรมย่อยที่ 1
วิทยาลัยพลังงานทดแทน ดำเนินการจัดทำหลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการอนุรักษ์พลังงาน หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2561 (ต่อเนื่อง) ในการรองรับนักศึกษาสาขาสายวิชาชีพหรือปฏิบัติการ โดยการจัดทำหลักสูตรมีวัตถุประสงค์ให้มีความสอดคล้องและเป็นไปตามประกาศกระทรวง ศึกษาธิการเรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2558 กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับ อุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่องแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2558 ที่กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษา ดำเนินการพัฒนา/ปรับปรุงรายละเอียดของหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
โดย คณะกรรมการวิชาการ เห็นชอบให้นำเสนอหลักสูตรต่อคณะกรรมการบริหารวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ ในการประชุมครั้งที่ 8/2561 เมื่อวันที่ 23 เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2561 คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัย เห็นชอบให้นำเสนอหลักสูตรต่อสภามหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 11/2561 เมื่อวันที่ 25 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2561 และสภามหาวิทยาลัย ให้ความเห็นชอบ/อนุมัติหลักสูตร ในการประชุมครั้งที่ 7/2561 เมื่อวันที่ 16 เดือน กันยายน พ.ศ. 2561

กิจกรรมย่อยที่ 2
สำหรับการประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินงานกิจกรรหลักสูตรระยะสั้น (หลักสูตรฝึกทักษะการอบรมทางด้านวิศวกรรมพลังงาน) ใช้วิธีการประเมินโดยวัดจากระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ โดยทำการสุ่มสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 49 ราย พบว่า
โดยภาพรวมผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในระดับมาก (3.58) และเมื่อพิจารณาความพึงพอใจในแต่ละด้าน พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจด้านกระบวนการของโครงการ/แผน/กิจกรรมมากที่สุด (3.67) และมีความพึงพอใจด้านความคุ้มค่า ประโยชน์ที่ได้รับ และความยั่งยืนของโครงการน้อยที่สุด (3.49) ซึ่

กิจกรรมย่อยที่ 3
สำหรับการประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินงานโครงการ ใช้วิธีการประเมินโดยวัดจากระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ โดยทำการสุ่มสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 51 ราย พบว่า
โดยภาพรวมผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในระดับมาก (3.77) และเมื่อพิจารณาความพึงพอใจในแต่ละด้าน พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจด้านกระบวนการของโครงการ/แผน/กิจกรรมมากที่สุด (4.18) และมีความพึงพอใจด้านความคุ้มค่า ประโยชน์ที่ได้รับ และความยั่งยืนของโครงการน้อยที่สุด (3.16)

กิจกรรมย่อยที่ 4
สำหรับการประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินงานโครงการ ใช้วิธีการประเมินโดยวัดจากระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ โดยทำการสุ่มสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 100 ราย พบว่า
โดยภาพรวมผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในระดับมาก (3.60) และเมื่อพิจารณาความพึงพอใจในแต่ละด้าน พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจด้านกระบวนการของโครงการ/แผน/กิจกรรมมากที่สุด (3.70) และมีความพึงพอใจด้านความคุ้มค่า ประโยชน์ที่ได้รับ และความยั่งยืนของโครงการน้อยที่สุด (3.43)

กิจกรรมย่อยที่ 5
สำหรับการประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินงานโครงการ ใช้วิธีการประเมินโดยวัดจากระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ โดยทำการสุ่มสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 82 ราย พบว่า
โดยภาพรวมผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในระดับมาก (3.93) และเมื่อพิจารณาความพึงพอใจในแต่ละด้าน พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจด้านกระบวนการของโครงการ/แผน/กิจกรรมมากที่สุด (4.07) และมีความพึงพอใจด้านความคุ้มค่า ประโยชน์ที่ได้รับ และความยั่งยืนของโครงการน้อยที่สุด (3.77)

กิจกรรมย่อยที่ 6
การติดตามผลประเมินโครงการ คณะผู้วิจัยที่ติดตามผลการประเมินโครงการ ดำเนินการติดตามประเมินผลกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละกิจกรรม เพื่อสอบถามความพึงพอใจ ผลประโยชน์ที่ได้จากิจกรรม ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ตัวชีวัด และเป้าหมายของโครงการ โดยผลการประเมินแสดงค่าเป็นร้อยละของผลสำเร็จการดำเนินโครงการ ที่เป็นไปตามกรอบระยะเวลา งบประมาณ ที่ก่อให้เกิดประสิทธิในการจัดโครงการ

กิจกรรมย่อยที่ 7
การจัดสรรทุนสนับสนุนการเรียนนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 60 ทุนๆ ละ 48,000 บาท ตามเกณฑ์การศึกษาของหลักสูตร (กิจกรรมย่อยที่ 1) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมการอนุรักษ์พลังงาน ในปีการศึกษา 2561 โดยมีผู้สมัครขอรับทุนสนับสนุนการศึกษา (ครั้งที่ 1 ) จำนวน 51 ทุน และในรอบที่ 2 อีกจำนวน 9 ทุนต่อไป
คณะกรรมจัดสรรทุนสนับสนุนการศึกษา ได้มอบทุนสนับสนุนให้กับผู้ขอรับทุนการศึกษา ตามประกาศของวิทยาลัยพลังงานทดแทน
ข้อเสนอแนะ
1. มีความล่าช้าในการเบิกจ่ายงบประมาณในระยะแรกของการทำโครงการซึ่งมีการปรับแผนด้านการใช้จ่ายงบประมาณให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติ
2. การจัดกิจกรรมมีระยะเวลาที่กระชั้นชิด และน้อยไปทำให้ผู้เข้าร่วมอบรมยังไม่สามารถเข้าร่วมอบรมได้รับการฝึกทักษะได้เต็มที่ ในบางกิจกรรม
3. ควรจัดกิจกรรมให้มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ซึ่งยังมีบางกิจกรรมที่ไม่เข้าข่ายการให้บริการวิชาการ
4. ควรควรคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายให้ครอบคลุมทุกกลุ่ม ตามที่กำหนดไว้ในโครงการ เช่น การนำกลุ่มบุคลากร เจ้าหน้าที่ หรือช่างเทคนิคในโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานควบคุม อาคารควบคุม สถานประกอบการที่เกี่ยวข้องทางด้านพลังงานและระบบผลิตพลังงานจากพลังงานทดแทนเข้ามาร่วมโครงการ
5. ควรมีการถอดบทเรียนในการดำเนินโครงการเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการดำเนินโครงการต่อไป
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อพัฒนาหลักสูตรทางวิชาชีพให้ตอบสนองกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย 1. ได้การพัฒนาหลักสูตรทางวิชาชีพ จำนวน 1 หลักสูตร ระดับปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่อง (2 ปี) ที่สามารถตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย (ไทยแลนด์ 4.0
2 เพื่อพัฒนาแนวทางและกระบวนการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนทางวิชาชีพเพื่อตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในระดับมหาวิทยาลัย 2. ได้บุคลากรทางด้านพลังงานและระบบผลิตพลังงานจากพลังงานทดแทน ภาครัฐและเอกชน ที่เข้ารับการพัฒนาฝีมือ ความชำนาญ ด้านวิศวกรรมพลังงาน
3 เพื่อผลิตบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ ฝีมือและความชำนาญด้านวิศวกรรมพลังงานเพื่อตอบสนองต่อภาคการผลิตของอุตสาหกรรมในประเทศไทย 3. ได้นักเรียนและนักศึกษาได้เข้าสู่กระบวนการจัดการเรียนการสอนทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน ในด้านทักษะการปฏิบัติการและด้านวิชาการ
4 เพื่อให้โอกาสกับบุคลากรสายวิชาชีพในการเพิ่มองค์ความรู้ ทักษะและฝีมือการปฏิบัติงานในโรงงานหรือสถานประกอบการ 4. ได้หลักสูตรระยะสั้น สำหรับการฝึกอบรม ความรู้ ทักษะ ฝีมือและความชำนาญด้านวิศวกรรม จำนวน 4 หลักสูตรระยะสั้น ประกอบด้วย หลักสูตรฝึกทักษะการอบรมทางด้านวิศวกรรมพลังงาน หลักสูตรฝึกปฏิบัติการอนุรักษ์พลังงานในอาคาร หลักสูตรฝึกปฏิบัติกานอนุรักษ์พลังงานในโรงงาน และหลักสูตรปฏิบัติงานพื้นฐานการเรียนรู้ทางพลังงาน
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : 1. ได้แนวทางการพัฒนาและกระบวนการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนทางวิชาชีพหรือหลักสูตรปฏิบัติการในระดับมหาวิทยาลัย 2. ได้หลักสูตรทางวิชาชีพที่สามารถตอบสนองการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย (ไทยแลนด์ 4.0) จำนวนทั้ง หมด 5 หลักสูตร (หลักสูตรปริญญาตรี 1 หลักสูตร,หลักสูตรระยะสั้น 4 หลักสูตร) 3. ในปีงบประมาณ พ.ศ.2561 ได้บุคลากรที่มีความรู้ ทักษะ ฝีมือและความชำนาญด้านวิศวกรรมพลังงานทั้งหมด 300 คน โดยแบ่งเป็นบุคลากรที่มีคุณวุฒิในระดับปริญญาตรีทั้งหมด 60 คน และบุคลากรที่มีผ่านการอบรมในหลักสูตรระยะสั้นจำนวน 240 คน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. หลักสูตรการศึกษา/อบรม
เชิงปริมาณ หลักสูตร 5 5 100
2. โครงการมีการบริหารจัดการเวลาที่ดีและเหมาะสม
เชิงเวลา ร้อยละ 90 90 100
3. คู่มือการบริหารหลักสูตร
เชิงปริมาณ เล่ม 5 5 100
4. โครงการมีการบริหารจัดการงบประมาณที่ดีและเหมาะสม
เชิงต้นทุน ร้อยละ 90 90 100
5. บุคลากรมีความรู้ ทักษะและความชำนาญทางด้านวิศวกรรมพลังงาน
เชิงปริมาณ คน 300 300 100
6. บุคลากรที่ผ่านการอบรมให้ความรู้ทักษะและความชำนาญ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 80 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/10/2560  - 30/09/2561 01/10/2560  - 30/09/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ