โครงการการบูรณาการการบริหารจัดการขยะภายในท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม เพื่อการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการการบูรณาการการบริหารจัดการขยะภายในท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วม เพื่อแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ปลูกจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน เพื่อให้ชุมชนดำเนินการรูปแบบการบริหารจัดการขยะโดยอาศัยหลัก “Green Heart: Smart Villages” และเพื่อพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะที่เหมาะสมกับชุมชน มีระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ถึง วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2561
การดำเนินงานในครั้งนี้ ได้ดำเนินการอบรมความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาขยะของประเทศไทย และปัญหาขยะของชุมชน รวมถึงวิธีการบริหารจัดการขยะในรูปแบบต่างๆ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ ประชาชนในชุมชน เด็กและเยาวชนในโรงเรียนต่าง ๆ ในพื้นที่เทศบาลตำบลป่าไผ่ และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวนกว่า 1,250 ราย โดยหลังจากอบรม ได้ดำเนินการจัดทำประชาพิจารณ์ เพื่อระดมความคิดเห็นและค้นหาวิธีการจัดการขยะที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของชุมชน ซึ่งชุมชนสามารถดำเนินการได้ด้วยตนเอง ทำให้ได้โครงการบริหารการจัดการขยะที่เป็นตัวของชุมชนและดำเนินการโดยชุมชนอย่างแท้จริง และในระหว่างการอบรมก็ยังมีการเก็บรวบรวมข้อมูลบริบทพื้นที่ ซึ่งเป็นการสำรวจข้อมูลทั่วไป และพฤติกรรมขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนเทศบาลตำบลป่าไผ่ ครั้งที่ 1 ทั้งนี้ยังได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงาน โดยเชิญแกนนำชุมชน เจ้าหน้าที่เทศบาล และผู้ที่สนใจจำนวนกว่า 100 คน เดินทางไปศึกษาดูงานการจัดการขยะระดับชุมชนทีประสบความสำเร็จจากชุมชนต้นแบบ 2 แห่ง คือ เทศบาลตำบลป่าสัก อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน และองค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ และยังมีการจัดอบรมเพิ่มความรู้เทคนิคการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน 3 รูปแบบ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปปรับปรุงและพัฒนาการทำกิจกรรมการบริหารจัดการขยะระดับชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย หลักสูตรที่ 1 อบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และการสร้างมูลค่าเพิ่มจากปุ๋ยอินทรีย์ในระดับชุมชน และวิธีการเพาะกล้าผัก หลักสูตรที่ 2 อบรมความรู้ การบริหารจัดการธนาคารขยะ ร้านค้า 0 บาท และกองทุนขยะในระดับชุมชน หลักสูตรที่ 3 อบรมการประดิษฐ์สิ่งของจากขยะ Recycle เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะ (DIY) และยังได้จัดกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และ Big cleaning Day เพื่อให้คนในชุมชนได้รับรู้ถึงวิธีการบริหารจัดการขยะระดับชุมชน และในวันที่จัดกิจกรรม Big cleaning Day ประชาชนในพื้นที่ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้ร่วมกันพัฒนาพื้นที่โดยการกำจัดวัชพืชและเก็บขยะ ในชุมชนต่างๆ และยังมีกิจกรรมส่งเสริมให้ครัวเรือนเห็นความสำคัญในการคัดแยกขยะ โดยการแจกสติ๊กเกอร์การแยกประเภทของขยะ แล้วส่งเสริมการทำปุ๋ยหมักร่วมกันระหว่างชุมชน และยังมีการเก็บข้อมูลทั่วไป และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยของประชาชนในชุมชนเทศบาลตำบลป่าไผ่ ครั้งที่ 2 และการเก็บข้อมูลการจัดการขยะมูลฝอยของร้านค้าในชุมชนเทศบาลตำบลป่าไผ่และบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ยัมีกิจกรรมการเตรียมความพร้อมและการดำเนินงานตามแนวทางหมู่บ้านปลอดขยะ (Zero Waste) เป็นกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในด้านการจัดการขยะมูลฝอยแบบครบวงจร (Zero Waste) และเพื่อเตรียมความพร้อมของชุมชน สู่การเข้าร่วมประกวดชุมชนปลอดขยะ (Zero Waste) ของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และในส่วนของกิจกรรมที่เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร และนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในการเตรียมความพร้อมเข้าร่วมประกวด Green office สำนักงานสีเขียว
การปรับปรุงภูมิทัศน์ของคณะด้วยสวนแนวตั้ง และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เน้นการรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและส่วนสุดท้ายของการจัดกิจกรรมคือ กิจกรรมการจัดการความรู้การบริหารจัดการขยะระดับชุมชน (KM) เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อให้ชุมชนในพื้นที่เทศบาลตำบลป่าไผ่นั้นได้รวบรวมองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมของชุมชนที่แตกต่างกันมานำเสนอ และเผยแพร่ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างชุมชนกับชุมชน และสถาบันการศึกษากับชุมชน ทั้งนี้เทศบาลตำบลป่าไผ่ ได้บรรจุกิจกรรมนี้ไว้ในแผนของเทศบาล โดยสามารถนำแผนดำเนินโครงการ/กิจกรรมดังกล่าวมาของบประมาณสนับสนุนจากเทศบาลได้ในปีถัดไป ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความยั่งยืนของโครงการ ถึงแม้โครงการจะจบแต่โครงการ/กิจกรรมที่ชุมชนได้ดำเนินการอยู่ก็จะยังคงอยู่ต่อไปได้อย่างยั่งยืน
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 สร้างความรู้ความเข้าใจ ปลูกจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อมในระดับชุมชน จากการดำเนินการการอบรมการสร้างจิตสำนึกการบริการจัดการขยะและสิ่งแวดล้อม จำนวน 12 ครั้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ อบรมความรู้และสร้างจิตสำนึกในการบริหารจัดการขยะและสิ่งแวดล้อมของชุมชนให้แก่ประชาชนทั่วไป ในเขตเทศบาลตำบลป่าไผ่ ในเขตเทศบาลตำบลป่าไผ่ ซึ่งได้มีหัวข้อในการอบรม จำนวน 2 หัวข้อ ในแต่ละครั้งประกอบด้วย “การสร้างจิตสำนึกในการรักษาสิ่งแวดล้อม” ซึ่งเป็นการนำเสนอถึงสถานการณ์ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ทั้งในระดับประเทศ และระดับภูมิภาค ที่ทำให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหา และผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ของปัญหาขยะที่มีต่อคนในชุมชน นอกจากนี้วิทยากรได้ให้ความรู้ถึงแนวทาง 3R ที่จะเป็นแนวทางในการลดปัญหาดังกล่าว โดยวิทยากรได้กระตุ้นให้ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงปัญหา เพื่อให้เกิดจิตสำนึกในการแก้ไขปัญหาขยะของชุมชนโดยการเริ่มที่ตัวบุคคลต่อไป และสำหรับหัวข้อ “การบริหารจัดการขยะ” วิทยากรได้นำเสนอถึงวิธีการจัดการขยะหลากหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นตัวอย่างในการจัดการขยะอย่างสร้างสรรค์ เพื่อเป็นแนวคิดให้แก่ผู้เข้าอบรมได้นำไปใช้ในการแก้ไขปัญหาขยะของตนเองต่อไป โดยการดำเนินการอบรม แยกตามหมู่บ้าน จำนวน 12 หมู่บ้าน รวมผู้เข้าร่วมอบรมทั้งสิ้น 816 ราย และโรงเรียนในพื้นที่เขตเทศบาลตำบลป่าไผ่ และพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 5 แห่ง ประกอบด้วย 1) โรงเรียนบ้านเมืองขอน 2) โรงเรียนบ้านศรีบุญเรือง 3) โรงเรียนวัดแม่แก้ดน้อย 4) โรงเรียนบ้านโปง และ 5) โรงเรียนสันทรายหลวง โดยมีผู้เข้ารวมอบรมทั้งสิ้น 580 ราย
รวมผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 1,396 ราย
2 ชุมชนมีการดำเนินการรูปแบบการบริหารจัดการขยะโดยอาศัยหลัก “Green Heart: Smart Villages” แต่ละหมู่บ้านจะมีผู้นำ ซึ่งมีลักษณะเป็นผู้นำแบบ Green Heart: Smart Villages รวมจำนวนทั้งสิ้น 12 ราย โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

รายชื่อผู้นำท้องถิ่นแบบ Green Heart: Smart Villages และโครงการในแต่ละหมู่บ้าน

1 บ้านเมืองขอน โครงการร้านค้า 0 บาท นางพวงเพชร บุญชุ่มใจ
2 บ้านหนองเต่าคำ โครงการกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ นายสุรพล ศรีรินทร์
3 บ้านป่าไผ่ โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษใบไม้ นายสุพรรณ ใหม่เส้น
6 บ้านโปง โครงการธนาคารขยะเพื่อชุมชนบ้านโปง นายอ้าย สุทธา
7 บ้านศรีบุญเรือง โครงการส่งเสริมคัดแยกขยะในครัวเรือน นายดำรง สมมิตร
9 บ้านหนองเต่าคำใหม่ โครงการธนาคารขยะ นางจันทร์ดี มานิต
11 บ้านท่ายาว โครงการธนาคารขยะ นางชวริยา ศรีวิชัย
12 บ้านหม้อ โครงการการบริหารจัดการกองทุนออมบุญขยะ นางสาวนิตยา วิริยา
14 บ้านหนองหลวงพัฒนา โครงการธนาคารขยะ นางธิราภรณ์ มงคล
15 บ้านเกษตรพัฒนา โครงการธนาคารขยะเพื่อสวัสดิการ นางสุกฤษตา ชมชื่น
16 บ้านหนองป่าข้าว โครงการการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุเหลือใช้ นายอนันต์ เชยกลิ่นเทศ
17 บ้านแพะใต้พัฒนา โครงการกองทุนขยะ นางกฤษณา พิมลบรรยงร์

3 พัฒนาหมู่บ้านต้นแบบในการจัดการขยะที่เหมาะสมกับชุมชน 1. โครงการร้านค้า 0 บาท หมู่ที่ 1 บ้านเมืองขอน
1.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) สร้างความตระหนักโดยการรณรงค์ให้คนในชุมชน นำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์จากร้านค้า 0 บาท
2) ลดปริมาณขยะในชุมชนที่เทศบาลต้องจัดเก็บ
1.2 สถานที่ในการดำเนินโครงการ ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านเมืองขอน หมู่ที่ 1 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
1.3 กิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย
1) การสร้างความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยการจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการร้านค้า0 บาท และประชุมชี้แจ้งทำความเข้าใจกับสมาชิก และประชาชนในชุมชน
2) การดำเนินงานร้านค้า0 บาท โดยบูรณาการร่วมกับร้านค้าประชารัฐ กิจการ คือร้านค้านำขยะที่รับซื้อไปขายต่อ โดยการ
- เปิดรับซื้อขยะรีไซเคิล เพื่อแลกสินค้าทุกเดือน โดยจัดทำสมุดทะเบียนคุม ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านเมืองขอน หรือไปรับซื้อที่บ้านสมาชิก สำหรับสมาชิกสะสมแต้มเพื่อแลกของ และสะสมแต้มธนาคารความดี ถ้าเดือนใดไม่นำขยะมาขายจะได้แค่ 150 แต้มจาก 300 แต้ม
- รับซื้อขยะอินทรีย์เพื่อแลกแต้ม หรือสินค้า หรือมูลไส้เดือนดิน/ น้ำหมักชีวภาพป้อนวัตถุดิบให้กลุ่มผู้ผลิตในชุมชน

2. โครงการจัดตั้งกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ หมู่ที่ 2 บ้านหนองเต่าคำ
2.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เพื่อลดต้นทุนการซื้อปุ๋ยเคมี
2) เพื่อช่วยลดปริมาณขยะที่จัดเก็บโดยเทศบาลนั้น มีจำนวนที่ลดลง
3) เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
2.2 พื้นที่ดำเนินโครงการ ณ สุสานบ้านหนองเต่าคำ
2.3 กิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย
1) การประชาสัมพันธ์ และการเปิดรับสมาชิกใหม่
2) จัดเตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการแยกประเภทของขยะ
- ขยะเปียก (แยกใส่ในถังสี)
- เศษใบไม้ (แยกใส่ในกระสอบ)
- เศษกระดาษ (แยกใส่ในกระสอบ)
- ขยะรีไซเคิล (แยกใส่ในกระสอบ)
3) การจัดอบรมความรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์
4) การบริหารการจัดการ โดยมีการประชุมเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์
- การเก็บรวบรวม โดยคณะกรรมการ
- การหาประชาชนในหมู่บ้านมาทำการหมักปุ๋ย
- ประชาชนในหมู่บ้านสามารถนำวัตถุดิบมาให้ แต่ไม่สามารถลงมือทำปุ๋ยอินทรีย์ได้

3. โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษใบไม้ หมู่ที่ 3 บ้านป่าไผ่
3.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เพื่อส่งเสริมให้ประชากรในหมู่บ้านรู้จักการคัดแยกขยะ
2) เพื่อส่งเสริมให้ประชากรรู้จักการนำขยะกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์
3) เพื่อส่งเสริมให้ประชากรมีความตระหนักถึงสิ่งที่จะตามมา เนื่องจากการเผาขยะ และลดการใช้สารเคมี
4) เพื่อลดต้นทุนการผลิตในการทำเกษตรกรรม
3.2 พื้นที่ดำเนินโครงการ ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนหมู่บ้านป่าไผ่
3.3 กิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย
1) ประชาสัมพันธ์โครงการ/ การรณรงค์การคัดแยกขยะพร้อมสาธิตวิธีการคัดแยกขยะ/
การเปิดรับสมาชิกร่วมดำเนินงาน โดยกำหนดบทบาทให้ชัดเจน
2) ทุกวันสิ้นเดือนให้ประชาชนนำขยะมาขาย โดยกำหนดให้ เศษใบไม้ราคากิโลกรัมละ 1 บาท และน้ำมันพืชหลังจากการใช้ในการปรุงอาหาร ราคาลิตรละ 5 บาท
3) การนำเศษใบไม้มาทำปุ๋ยอินทรีย์โดยผสมปุ๋ยคอก
4) การจัดจำหน่ายปุ๋ย และคืนกำไรให้ชุมชน โดยกำหนดให้
- คณะกรรมการดำเนินงาน: ได้รับปุ๋ยฟรี
- เกษตรกรผู้ซื้อปุ๋ย: ซื้อในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาด + ของแถม
5) กำหนดกฎระเบียบ/ เงื่อนไขการจัดสรรผลประโยชน์ให้ชัดเจน
6) คำนวณต้นทุนการผลิต/ ราคารับซื้อ

4. โครงการธนาคารขยะเพื่อชุมชนบ้านโปง หมู่ที่ 6 บ้านโปง
4.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เพื่อลดปริมาณขยะที่ทางเทศบาลต้องจัดเก็บ โดยการให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการแยกขยะแก่ประชาชนภายในชุมชน
2) เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีกิจกรรมเพื่อเพิ่มรายได้
3) เพื่อให้เกิดความสามัคคีในชุมชน
4.2 พื้นที่ดำเนินโครงการ ณ พื้นที่การทำปุ๋ยหมักของชุมชนบ้านโปง หมู่ที่ 6
4.3 กิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย
1) ประชาสัมพันธ์โครงการ และการเปิดรับสมาชิกร่วมดำเนินงาน
2) รับซื้อขยะในชุมชน (รวบรวมเดือนละ 2 ครั้ง) โดยต้องจัดหา
- ซื้อเครื่องชั่งน้ำหนัก
- จัดสร้างห้องสำหรับเก็บรวบรวม/ คัดแยกขยะ
- ซื้อวัสดุอุปกรณ์ (สมุดบัญชี, ใบเสร็จ ฯลฯ)
3) จัดตั้งกองทุนขยะเพื่อชุมชน โดยการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของกองทุน

5. โครงการส่งเสริมคัดแยกขยะในครัวเรือน หมู่ที่ 7 บ้านศรีบุญเรือง
5.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) ส่งเสริมให้ประชาชนมีจิตสำนึกในการคัดแยกขยะในชุมชน
2) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่มีการคัดแยกขยะ เพื่อการลดปริมาณขยะในชุมชน
3) เพื่อจัดสรรเงินรายได้จากการขายขยะ และสวัสดิการของชุมชน
5.2 พื้นที่ดำเนินโครงการ ณ บ้านศรีบุญเรือง หมู่ที่ 7
5.3 กิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย
1) ส่งเสริมการคัดแยกขยะในแต่ละคุ้มบ้านของหมู่บ้าน
2) รับสมัครสมาชิก
3) จัดทำที่แยกขยะไว้ จำนวน 11 จุด
4) จัดทำประชาสัมพันธ์การคัดแยกขยะ/ ขยะ Recycle
5) จัดทำสมุดจดบันทึกการแยกขยะของสมาชิกในแต่ละคุ้มบ้าน
6) ขายขยะให้แก่ผู้รับซื้อขยะ เพื่อเป็นทุนหมุนเวียน และสวัสดิการของชุมชน

6. โครงการธนาคารขยะ หมู่ที่ 9 บ้านหนองเต่าคำใหม่
6.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) ลดขยะภายในชุมชน (ผ่านการคัดแยกขยะ)
2) สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน
3) ชุมชนเกิดความสามัคคีที่เกิดจากการมีส่วนร่วม
6.2 พื้นที่ดำเนินโครงการ ณ ศาลาศูนย์กิจกรรม หมู่ที่ 9 บ้านหนองเต่าคำใหม่
6.3 กิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย
1) ส่งเสริมการแยกขยะในครัวเรือน
2) จัดกิจกรรมรวบรวมขยะ Recycle เดือนละ 1 ครั้ง
3) มีประชุมคณะกรรมการ/ สมาชิกทุกครั้งก่อนรับซื้อ
4) ขายขยะ ณ วันที่มีการรับซื้อเท่านั้น

7. โครงการธนาคารขยะ หมู่ที่ 11 บ้านท่ายาว
7.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เพื่อลดปริมาณขยะภายในชุมชน
2) เพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนในชุมชนจากการจัดการขยะ
7.2 พื้นที่ดำเนินโครงการ ณ หมู่ที่ 11 บ้านท่ายาว ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียใหม่
7.3 กิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย
1) การประชาสัมพันธ์โครงการ และรับสมัครสมาชิกโครงการ
2) รวบรวมขยะที่มีการคัดแยก เพื่อขายให้แก่ผู้รับซื้อขยะภายนอกชุมชน

8. โครงการกองทุนออมบุญขยะ บ้านหม้อ หมู่ที่ 12 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
8.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจในการบริหารจัดการกองทุนออมบุญขยะบ้านหม้อที่ถูกต้องเหมาะสม และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
2) เพื่อจัดการขยะตามกระบวนการต่างๆ เชื่อมโยงสู่การใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม
3) เพื่อให้กองทุนออมบุญขยะ มีทุนเพิ่มจากการแปลงขยะเป็นรายได้
4) เพื่อสร้างสวัสดิการให้แก่ชุมชน
8.2 พื้นที่ดำเนินโครงการ ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านหม้อ หมู่ที่ 12 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
8.3 กิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย
1) กิจกรรมสร้างความรู้และความเข้าใจ ประกอบด้วยการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี
การบริหารจัดการกองทุนออมบุญขยะที่ถูกต้องเหมาะสม และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการจัดทำระเบียบข้อบังคับกองทุนฯ โดยมีการจัดทำเวทีประชาคม เป้าหมาย ได้แก่ ครัวเรือน
2) กิจกรรมสร้างรายได้ (การใช้ประโยชน์จากรีไซเคิล) จากขยะประเภทกระดาษ
ขยะประเภทพลาสติก/ แก้ว/ ขวด/ โลหะ/ อลูมิเนียม
3) กิจกรรมลดรายจ่ายโดยการทำปุ๋ยหมักจากขยะเปียก
4) กิจกรรมส่งเสริมการออม “กองทุนออมบุญขยะ” ประกอบด้วย กิจกรรมอย่ามามือเปล่า กิจกรรมสะสมแต้มบุญ กิจกรรมประชาสัมพันธ์โครงการ กิจกรรมจัดสวัสดิการแก่สมาชิก

9. โครงการธนาคารขยะ หมู่ที่ 14 บ้านหนองหลวงพัฒนา
9.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เพื่อลดปริมาณขยะภายในชุมชน
2) เพื่อสร้างรายได้ให้กับประชาชนในชุมชนจากการจัดการขยะ
9.2 พื้นที่ดำเนินโครงการ ณ ศาลาประชารวมใจ บ้านหนองหลวงพัฒนา
9.3 กิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย
1) การติดตั้งแผ่นป้ายโครงการ และป้ายคณะกรรมการ
2) จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการจัดเก็บขยะ
3) จัดกิจกรรมการคัดแยกขยะในครัวเรือน โดย
- ขยะอินทรีย์ ประเภทเศษกิ่งไม้ จะนำมาทำการเผาถ่าน ประเภทเศษอาหารต่าง ๆ จะนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์
- ขยะรีไซเคิล นำมารวบรวมเพื่อนำมาขาย
- ขยะอันตราย ให้ทางเทศบาลจัดเก็บขยะชนิดนี้
- ขยะทั่วไป ให้ทางเทศบาลจัดเก็บ แต่ในอนาคตอาจจะจัดทำเครื่องอัดขยะ โดยจะต้องทำการคัดแยกแค่ถุงพลาสติกต่าง ๆ เท่านั้น

10. ธนาคารขยะเพื่อสวัสดิการชุมชน หมู่ที่ 15 บ้านเกษตรพัฒนา
10.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เพื่อรณรงค์ให้หมู่บ้านรู้จักการคัดแยกขยะ โดยเริ่มจากครอบครัว
2) เพื่อแก้ไขปัญหาการทิ้งขยะ ตามจุดเสี่ยงภายในหมู่บ้าน
3) เพื่อเพิ่มมูลค่าขยะให้เป็นสวัสดิการชุมชนแก่สมาชิกในครอบครัว
4) เพื่อการพัฒนาบริหารจัดการปัญหาขยะอย่างเป็นระบบ
10.2 พื้นที่ดำเนินโครงการ ณ บ้านเกษตรพัฒนา หมู่ที่ 15 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
10.3 กิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย
1) สวัสดิการสมาชิกกองทุนขยะของประชาชนในชุมน
2) กำหนดวันในการรับบริจาคขยะจากสมาชิก และคนภายในชุมชน
3) กำหนดเกณฑ์ในการนำขยะมาเปลี่ยนเป็นเงิน เพื่อเข้ากองทุน
4) กำหนดผลตอบแทนแก่คณะกรรมการผู้ดูแลกองทุนขยะของธนาคารขยะ
5) กำหนดผลตอบแทนแก่สมาชิก ประกอบด้วย
- เงินปันผลรายปี
- เงินสวัสดิการผู้ป่วย เงินสวัสดิการการคลอดบุตร และเงินสวัดิการการช่วยเหลือในงานต่างๆ เช่น งานชาปนกิจศพ งานมงคลสมรส

11. โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากเศษวัสดุเหลือใช้ หมู่ที่ 16 บ้านหนองป่าข้าว
11.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) ลดปริมาณเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
2) สร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชน
3) ลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร
11.2 พื้นที่ดำเนินโครงการ ณ สนามฟุตบอลบ้านหนองป่าข้าว
11.3 กิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย
1) การสร้างแทงค์น้ำ, ซื้อรถเข็น, ขี้วัว, สารเร่ง
2) การพัฒนาพื้นที่ โดยการนำเศษขยะจำพวก ใบไม้ต่าง ๆมารวมกัน เพื่อนำมาจัดทำเป็นปุ๋ยหมัก
3) การจัดประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน โดยการรับสมัครสมาชิกเพิ่มเติม การกำหนดหน้าที่ให้ชัดเจน และการกำหนดเกณฑ์การแบ่งผลประโยชน์

12. โครงการกองทุนขยะ หมู่ที่ 17 บ้านแพะใต้พัฒนา
12.1 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1) เพื่อลดปริมาณขยะภายในชุมชน
2) เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี
3) เพื่อให้กองทุนขยะของชุมชน มีทุนเพิ่มจากการแปลงขยะให้เป็นรายได้
12.2 พื้นที่ดำเนินโครงการ ณ ลานเอนกประสงค์บ้านแพะใต้พัฒนา หมู่ที่ 17 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
12.3 กิจกรรมของโครงการ ประกอบด้วย
1) ประชาสัมพันธ์โครงการ และเปิดรับสมาชิกที่จะเข้าร่วมโครงการ (? 50 ครัวเรือน)
2) แต่งตั้งคณะกรรมการ โดยกำหนดให้กรรมการจำนวน 2 คน ทำหน้าที่รวบรวมขยะตามบ้าน (เดือนละ 1 ครั้ง/ทุกวันอาทิตย์สุดท้ายของเดือน) แล้วนำมารวมไว้ที่ศาลาหมู่บ้าน
3) การบริหารจัดการกองทุน โดยทำการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะและจำนวนครั้งที่สมาชิกแต่ละรายนำมาบริจาค บันทึกข้อมูลรายรับจากการขายขยะทุกเดือน กำหนดผลตอบแทนให้กับสมาชิกที่นำขยะมาบริจาค และค่าดำเนินการโครงการ (รอประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน)
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้นำในระดับหมู่บ้านมีความเป็นผู้นำท้องถิ่นแบบ Green Heart Smart: Village จำนวน 10 ราย
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. เยาวชน ประชาชน ผู้สูงอายุ ในพื้นที่เทศบาลตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ใกล้เคียงที่เข้ามาดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นได้รับความรู้ในการบริหารจัดการขยะภายในชุมชน (1,250 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 70 100 100
2. ชุมชนท้องถิ่น มีผู้นำแบบ Green Heart: Smart Village
เชิงปริมาณ ราย 10 12 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 2 : มีต้นแบบในการบริหารจัดการขยะ 3 รูปแบบ ที่เหมาะสมกับแต่ละชุมชน ในลักษณะ Green Heart Smart Village และมีเครือข่ายผู้นำชุมชนท้องถิ่นแบบ Green Heart: Smart Village จำนวน 10 หมู่บ้าน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. มีหมู่บ้านต้นแบบในการบริหารจัดการขยะในรูปแบบที่เหมาะสมตามลักษณะของชุมชน โดยใช้เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ 3 รูปแบบ
เชิงปริมาณ หมู่บ้าน 10 12 100
2. มีเครือข่ายผู้นำชุมชนท้องถิ่นแบบ Green Heart: Smart Village
เชิงปริมาณ หมู่บ้าน 10 12 100
3. ประชาชนในชุมชน มีความพึงพอใจต่อการได้รับความรู้ในการบริหารจัดการขยะภายในชุมชน
เชิงคุณภาพ ระดับความพึงพอใจ 3.51 3.95 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
17/10/2560  - 30/09/2561 17/10/2560  - 30/09/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ