โครงการบัณฑิตจิตอาสา พัฒนาชุมชน
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการบัณฑิตจิตอาสา พัฒนาชุมชน ที่หลักสูตรเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จัดขึ้น โดยเป็นการให้โอกาสนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในพิธีทางศาสนาและมีส่วนร่วมกับชุมชนในการทำงาน มีความตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมร่วมกัน มีกิจกรรมสัมพันธ์ร่วมกัน จะเป็นส่วนหนึ่งให้นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอันดีงาม ทำให้นักศึกษามีจิตอาสา และมีคุณธรรมจริยธรรม โดยได้จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ฟังธรรม ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนพร้อมทั้งเรียนรู้วิถีชุมชนด้วย ณ วัดสิริมงคลบุญญาราม หมู่ที่11 ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีกิจกรรมร่วมกับชาวบ้านชุมชนไร่สหกรณ์ เช่น การเรียนรู้ฐานวิถีชุมชน การบำเพ็ญประโยชน์และทำความสะอาดในชุมชน ในวันที่ 3-4 กุมภาพันธ์ 2561 มีนักศึกษาเข้าร่วมทั้งหมด 94 คน ชาวบ้าน 44 คน และอาจารย์ 4 ท่าน โดยนักศึกษาได้ทำกิจกรรมอย่างสนุกสนาน กิจกรรมนี้ยังทำให้ผู้สูงอายุในชุมชนมีความสุข มีความภาคภูมิใจที่ตนได้ถ่ายทอดความรู้ให้เด็กรุ่นใหม่ นักศึกษาสามารถปรับตัวเข้ากับชุมชนได้ดี โครงการจึงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิถีชุมชน คุณธรรมจริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม นักศึกษาได้เรียนรู้วิถีชุมชน คุณธรรมจริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม โดยแบ่งองค์ความรู้ชุมชนเป็น 6 ฐาน คือ ฐารการทำสะตวง ฐานการตัดช่อ ฐานงานสาน ฐานงานใบตอง ฐานขนมพื้นบ้าน ฐานหมอนมงคล โดยมีวิทยากรที่เป็นปราชญ์ชุมชนมาแบ่งปันความรู้ให้นักศึกษา พร้อมทั้งมีการถวายผ้าป่าสามัคคีจากหลักสูตรเศรษฐศาสตร์สหกรณ์ด้วย
2 เพื่อให้นักศึกษาได้มีจิตอาสาในการบำเพ็ญประโยชน์พัฒนาชุมชน นักศึกษาได้มีจิตอาสาในการบำเพ็ญประโยชน์พัฒนาชุมชน ทำความสะอาดบริเวณวัด บริเวณที่สาธารณะของชุมชน แม้เวลาที่กลุ่มสตรีแม่บ้านทำอาหารและทำความสะอาด นักศึกษาสามารถแสดงน้ำใจในการช่วยเหลือโดยไม่ต้องร้องขอ นักศึกษามีจิตอาสาพร้อมทั้งสามารถแบ่งหน้าที่ออกเป็นฝ่ายๆ ในการทำงาน เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิถีชุมชน ศิลปะและวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการตามเป้าหมายที่กำหนด(96 คน) เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 97.92 100
2. ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อโครงการ
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ผลประเมินบัณฑิตอาสา
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 4.09 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 2 : เพื่อให้นักศึกษาได้มีจิตอาสาในการบำเพ็ญประโยชน์พัฒนาชุมชน และมีคุณธรรมจริยธรรม
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการตามเป้าหมายที่กำหนด(96 คน)
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- ใบลงทะเบียนวันที่4
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 84.38 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
03/02/2561  - 04/02/2561 03/02/2561  - 04/02/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ