โครงการรวบรวมพันธุ์ไม้พื้นถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการเรียนการสอนทางด้านการเกษตร และมีพันธกิจในการสร้างและพัฒนาศูนย์การเรียนรู้เชิงบูรณาการด้านการเกษตร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ ค้นคว้า และรวบรวมองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีเกษตรสมัยใหม่ ที่เป็นศาสตร์ผสมผสานสอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นที่ ประกอบกับคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในฐานะเป็นหน่วยงานที่มีการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาที่มุ่งเน้นการสร้างผู้ที่มีความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ และมีการเรียนการสอนด้านการสหกรณ์ รวมถึงด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ในมุมมองทางด้านเศรษฐศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ที่ครอบคลุมในหลาย ๆ ด้านที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับการเกษตรที่เป็นรากฐานสำคัญของสังคมไทย จึงได้มีการดำเนินโครงการ เรื่อง รวบรวมพันธุ์ไม้พื้นถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม 2560 - กันยายน 2561 ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1.กิจกรรม การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์พืชท้องถิ่นและการใช้ประโยชน์ ดำเนินงานในวันที่ 31 มกราคม 2561 ได้รับเกียรติจากวิทยากรกรมป่าไม้ให้การให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะพันธุ์ไม้ท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ รวมถึงสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากพันธุ์ไม้ท้องถิ่น และมีนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 102 คน ผลการประเมินกิจกรรมด้านความรู้ความเข้าในภาพรวม พบว่า ส่วนใหญ่มีความรู้ความเข้าใจ จำนวน 63 ราย คิดเป็นร้อยละ 86.30 รองลงมาคือ ไม่มีความรู้ความเข้าใจ จำนวน 10 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.70 ตามลำดับ 2.กิจกรรม การเก็บรวบรวมข้อมูลและพันธุ์ไม้ท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ การเก็บรวบรวมพันธุ์ไม้พื้นถิ่นในพื้นที่ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย เนื่องจากตำบลป่าไผ่โดยเฉพาะพื้นที่บ้านโปง ประกอบไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ที่สำคัญ มีพื้นที่ป่าชุมชน และมีความหลากหลายของทรัพยากร ทั้งนี้เพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์ และสืบทอดเพื่อให้พื้นที่ตำบลป่าไผ่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรต่อไป โดยกำหนดให้มีการสำรวจและรวบรวมข้อมูลพันธุ์ไม้ที่สำคัญ จำนวน 50 ชนิด และมีการเพาะพันธุ์ไม้ไว้ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ จำนวน 1,000 กล้า 3.กิจกรรม การเสวนาทางวิชาการและนิทรรศการ หัวข้อ “การอนุรักษ์พันธุ์ไม้ท้องถิ่นและการเพาะพันธุ์ไม้ท้องถิ่น” จัดขึ้นในวันที่ 11 กรกฏาคม 2561 ได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมเกียรติ ชัยพิบูล อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์และนายอ้าย สุทธา ปราชญ์ชาวบ้าน บ้านโปง ม.6 ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นวิทยากร จัดขึ้นในวันที่ 11 กรกฎาคม 2561 มีนักศึกษาคณะเศรษฐศาสตร์ เข้าร่วมจำนวน 142 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านศรีบุญเรือง เข้าร่วมจำนวน 50 คน นักเรียนโรงเรียนบ้านโปง เข้าร่วมจำนวน 34 คน และประชาชนในพื้นที่ตำบลป่าไผ่ เข้าร่วมจำนวน 51 คน และมีผู้ตอบแบบประเมินจำนวน 146 คน ผลการประเมินการจัดกิจกรรมตามเอกสารแนบ และกิจกรรมที่ 4 การจัดสร้างเวปไซต์ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ท้องถิ่น ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ
คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ การจัดสร้างเว็บไซด์ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ที่ได้จากการรวบรวมโครงการฯ เพื่อใช้เป็นแหล่งในการสืบค้นข้อมูลสำหรับนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจ ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและต่อยอดด้านการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ท้องถิ่น โดยได้มีการดำเนินการจัดสร้างเว็ปไซด์ศูนย์เรียนรู้ฯ และปัจจุบันอยู่ระหว่างการขออนุญาตนำเวปไซต์ไปติดตั้งในเว็ปไซต์ของคณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมและขยายพันธุ์ไม้ท้องถิ่น 1.มีการรวบรวมพันธุ์ไม้ในพื้นที่ตำบลป่าไผ่ โดยเฉพาะในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ สำนักฟาร์มมหาวิทยาลัยแม่โจ้ พื้นที่บ้านโปงและพื้นที่ตำบลป่าไผ่ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยรวบรวมจำนวน 50 ชนิด และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบฐานข้อูลในเว็บไซด์ศูนย์เรียนรู้ฯ
2.มีการเพาะพันธุ์กล้าไม้พื้นถิ่นไว้ภายในศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ จำนวน 1,000 ต้น ซึ่งประกอบด้วย ไม้ยืนต้น ไม้ดอก พืชสมุนไพร นอกจากนี้ยังได้ดำเนินการแจกจ่ายให้แก่ ประชาชน นักเรียนและนักศึกษาที่สนใจนำไปปลูกเพื่อเพร่ขยายพันธุ์ต่อไป
2 เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่นักศึกษา ชุมชน หน่วยงานท้องถิ่นและผู้ที่สนใจ ในการเรียนรู้เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ท้องถิ่นและวิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจจากพันธุ์ไม้ท้องถิ่น 1.ประชาชน นักศึกษาและผู้สนใจ สามารถเรียนรู้ชนิดของพืชที่ได้จากการรวบรวมในเว็บไซด์หรือแหล่งข้อมูลอื่นๆ เช่น เพจ ที่ศูนย์เรียนรู้ฯ ได้ทำการเผยแพร่
2.สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการเรียนรู้นำไปต่อยอดพัฒนาไม้พื้นถิ่นให้เกิดมูลค่าในอนาคตได้
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : เป็นแหล่งเรียนรู้ รวบรวมและขยายพันธุ์ไม้ท้องถิ่น ให้แก่นักศึกษา ชุมชน หน่วยงานท้องถิ่นและผู้ที่สนใจ เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจจากพันธุ์ไม้ท้องถิ่น
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ความพึงพอใจของผู้รับบริการ/หน่วยงาน/องค์กรที่ได้รับบริการวิชาการและวิชาชีพต่อประโยชน์จากการบริการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 90.41 100
2. ฐานข้อมูลพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่ได้รับการรวบรวม
เชิงปริมาณ ฐานข้อมูล 1 1 100
3. ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 90 100 100
4. จำนวนผู้เข้ารับบริการ
เชิงปริมาณ คน 200 379 100
5. ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร
เชิงต้นทุน ล้านบาท 0.08 0.08 100
6. แหล่งเรียนรู้
เชิงปริมาณ แห่ง 1 1 100
7. ผู้เข้ารับบริการที่มีความรู้ ความเข้าใจเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ท้องถิ่น
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 86.3 100
8. ความพึงพอใจของประสิทธิภาพในกระบวนการให้บริการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 82.19 100
9. จำนวนพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่ได้รับการรวบรวม
เชิงปริมาณ ชนิด 50 50 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
03/01/2561  - 30/09/2561 03/01/2561  - 30/09/2561
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ