โครงการเข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ครั้งที่ 18 ประจำปี 2560 รอบคัดเลือกภาคเหนือ
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะศิลปศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
งานกิจกรรมนักศึกษา กองกิจการนักศึกษา สำนักงานอธิการบดี ได้ดำเนินการจัดโครงการเข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ครั้งที่ 18 ประจำปี 2560 รอบคัดเลือกภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 18 - 30 กันยายน
2560 ณ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย อำเภอเมือง จ.เชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือก เตรียมความพร้อม และนำตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ฯ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในรอบคัดเลือกภาคเหนือ ตลอดจนเพื่อรณรงค์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และน้อมนำพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง การส่งเสริมคนดี ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและแก้ปัญหาได้กว้างขวางและต่อเนื่องมากขึ้น รวมถึงเพื่อเสริมสร้างค่านิยมในการแสดงออกของนักศึกษาและการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องเหมาะสม โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1. กิจกรรมการฝึกอบรมเตรียมความพร้อมและคัดเลือกตัวแทนมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเข้าร่วมการประกวด โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์วาสนา ศรีรักษ์ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาภาษาไทยและภาษาาตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นวิทยากรฝึกอบรมเตรียมความพร้อม ซึ่งมีนักศึกษาที่สนใจเข้าร่วมฝึกอบรม จำนวน 10 คน รวมถึงได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ชยุตภัฎ คำมูล อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะศิลปศาสตร์มาร่วมคัดเลือกตัวแทนมหาวิทยาลัย จำนวน 2 คน เพื่อส่งเข้าร่วมประกวดในรอบคัดเลือกภาคเหนือต่อไป
2. กิจกรรมเข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ครั้งที่ 18 ประจำปี 2560 รอบคัดเลือกภาคเหนือ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยมีอาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา เข้าร่วม จำนวน 10 คน ซึ่งเป็นอาจารย์ผู้ควบคุม 3 คน พนักงานขัยรถ 1 คน ตัวแทนนักศึกษาที่เข้าร่วมประกวด 2 คน และกองเชียร์ จำนวน 4 คน มีผู้เข้าร่วมการประกวดครั้งนี้ จำนวน 23 คน จาก 13 สถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือ ซึ่งการประกวดแบ่งของเป็น 2 รอบ คือรอบเตรียมตัวมาหัวข้อ "พอเพียง แบ่งปัน ทุกชีวิตจะเป็นสุข" ภายใต้หัวข้อหลักคือ "ถวายงานผ่านภาษา ตายรอยพระยุคลบาท ช่วยชาติได้อย่างไร" โดยผู้พูดใช้เวลาในการพูด 5 นาที และคัดเลือกผู้ที่เหมาะสมเข้าสู่รอบที่ 2 คือรอบหัวข้อฉับพลันต่อไป ซึ่งในรอบฉับพลันผู้พูดจะทราบหัวข้อล่วงหน้าเพียง 3 นาที และมีเวลาพูดเพียง 3 นาทีเท่านั้น โดยหัวข้อการประกวดรอบฉับพลันในปีนี้คือ "ชีวิตจะเจริญมั่นคง ถ้าซื่อตรงต่อหน้าที่" ผลการประกวดปรากฎว่า นายสมชาย ทุนมาก ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับราลวัลชนะเลิศ นายรัตนโชค ผาคำ ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย และนายนาวิน ฉิมพาลี ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์ ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ นางสาวชญานิศ บุญภักดี ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และนายนัธวินทร์ ทองย้อยตัวแทนจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้รับรางวัลชมเชย ส่วนนายยุทธภูมิ จิตรคง ตัวแทนจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สามารถผ่านเข้าร่วมหัวข้อฉับพลันได้ แต่ไม่ได้รับรางวัลและไม่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนเข้ารอบชิงชนะเลิศ

สำหรับผลการประเมินโครงการ ฯ พบว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 100 (จากกลุ่มเป้าหมาย 10 คน) ซึ่งผู้ตอบแบบประเมินให้ความเห็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.08) โดยเห็นว่า การจัดโครงการในครั้งนี้สามารถคัดเลือก เตรียมความพร้อม และนำตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ฯ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในรอบคัดเลือกภาคเหนือได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.77) นอกจากนี้เห็นว่าการจัดโครงการในครั้งนี้สามารถรณรงค์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และน้อมนำพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง การส่งเสริมคนดี ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและแก้ปัญหาได้กว้างขวางและต่อเนื่องมากขึ้น อยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.46) รวมถึงยังเห็นว่าการจัดโครงการในครั้งนี้สามารถเสริมสร้างค่านิยมในการแสดงออกของนักศึกษาและการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.00)

ด้านการประเมินผลความพึงพอใจต่อภาพรวมของการดำเนินงานโครงการ พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการมีความพอใจต่อการดำเนินงานในการจัดกิจกรรมอยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.78) โดยมีความเห็นว่าประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดโครงการนี้มากที่สุด (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.23) รองลงมาคือควรมีการจัดโครงการนี้อีก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.08) และมีความพึงพอใจต่อการประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรมให้ทราบล่วงหน้า น้อยที่สุด (ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.23)
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อคัดเลือก เตรียมความพร้อม และนำตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ฯ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในรอบคัดเลือกภาคเหนือ ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นว่าการจัดโครงการในครั้งนี้สามารถคัดเลือก เตรียมความพร้อม และนำตัวแทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เข้าร่วมการประกวดสุนทรพจน์อุดมศึกษาเฉลิมพระเกียรติ ฯ ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในรอบคัดเลือกภาคเหนือได้อย่างมีประสิทธิภาพ อยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.77)
2 เพื่อรณรงค์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และน้อมนำพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง การส่งเสริมคนดี ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและแก้ปัญหาได้กว้างขวางและต่อเนื่องมากขึ้น ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นว่าการจัดโครงการในครั้งนี้สามารถรณรงค์ให้นักศึกษาได้เรียนรู้และน้อมนำพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง การส่งเสริมคนดี ไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตและแก้ปัญหาได้กว้างขวางและต่อเนื่องมากขึ้น อยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.46)
3 เพื่อเสริมสร้างค่านิยมในการแสดงออกของนักศึกษาและการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องเหมาะสม ผู้เข้าร่วมโครงการเห็นว่าการจัดโครงการในครั้งนี้สามารถเสริมสร้างค่านิยมในการแสดงออกของนักศึกษาและการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องเหมาะสม อยู่ในระดับมาก (ค่าคะแนนเฉลี่ย 4.00)
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : 1. ตัวแทนนักศึกษา จำนวน 2 คน สำหรับส่งเข้าประกวดในรอบคัดเลือกภาคเหนือ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนตัวแทนมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมประกวดรอบคัดเลือกภาคเหนือ เชิงปริมาณ คน 2 2 100
2. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ คน 10 10 100
3. ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 81.6 100
4. ระดับการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ เชิงคุณภาพ ค่าคะแนนเฉลี่ย 3.51 4.08 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
01/09/2560  - 15/10/2560 18/09/2560  - 30/09/2560
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ