โครงการพัฒนาความเป็นผู้นำ และจิตอาสา พัฒนาสิ่งแวดล้อม สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเศรษฐศาสตร์
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการพัฒนาความเป็นผู้นำและจิตอาสาพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ 2560 ณ ศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ สำนักฟาร์ม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ดำเนินงานจำนวน 4 ครั้ง สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้คือ
ครั้งที่ 1 วันที่ 26 สิงหาคม 2560 กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 เข้าร่วมโครงการจำนวน 90 คน ปฏิบัติกิจกรรมในศูนย์เรียนรู้ได้แก่ การเพาะกล้าดอกดาวเรือง ผสมดินไว้สำหรับปลูกต้นดาวเรือง และกำจัดวัชพืชโดยรอบต้นมะม่วง และลำไย
ครั้งที่ 2 วันที่ 30 สิงหาคม 2560 กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 เข้าร่วมโครงการจำนวน 81 คน ปฏิบัติกิจกรรม ได้แก่ ถางหญ้ากำจัดวัชพืชโดยรอบต้นมะม่วงและลำไย และการก่อบล็อกสำหรับเตรียมปลูกพืชผักและขึ้นแปลงเตรียมดิน
ครั้งที่ 3 วันที่ 27 กันยายน 2560 กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 จำนวน 75 คน ปฏิบัติกิจกรรม ได้แก่ การขึ้นแปลงเตรียมดินสำหรับปลูกพืชผักเพิ่ม
ครั้งที่ 4 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2560 กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 84 คน ปฏิบัติกิจกรรม ได้แก่ การทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง และการทำปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพจากผลไม้และจากพืชสมุนไพร
จากการปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าว เป็นการวางแผนการทำงานร่วมกันของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 และ 3 สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะทางการเกษตร ได้แก่ การเพาะเมล็ดดอกดาวเรือง การผสมดินสำหรับปลูกต้นดาวเรือง การถางหญ้ากำจัดวัชพืชโดยรอบต้นไม้ผล การนำเศษใบไม้ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ไปทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง รวมถึงการฝึกทำปุ๋ยน้ำชีวภาพ สำหรับนำไปใช้ปรับปรุงดินและบำรุงต้นไม้ผล และพืชผักภายในศูนย์เรียนรู้ระบบเกษตรธรรมชาติ คณะเศรษฐศาสตร์ ซึ่งทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำเกษตรแบบธรรมชาติ นำวัสดุที่มีอยู่มรปรับใช้ในการทำเกษตรรวมถึงฝึกให้นักศึกษาคัดแยกขยะที่เกิดจากการทำกิจกรรมเพื่อเป็นการร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วย
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อส่งสริมนักศึกษาได้ฝึกการเป็นผู้นำ มีการวางแผนการทำงานเป็นทีมและการแก้ไขปัญหาได้ นักศึกษามีการวางแผนโดยการแจ้งเวลาการปฏิบัติกิจกรรมล่วงหน้า และมีการวางแผนแบ่งงานและจำนวนนักศึกษาให้เหมาะสมกับการปฏิบัติงาน
2 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความสามารถและมีทักษะในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นักศึกษามีเรียนรู้การปฏิบัติทักษะทางการเกษตร ดังนี้
1.การถางหญ้า กำจัดวัชพืชโดยรอบต้นไม้ผล ทำให้นักศึกษามีความชำนาญในการใช้เครื่องมือทางการเกษตรมากขึ้น
2.การเพาะเมล็ดดอกดาวเรือง และการเตรียมวัสดุสำหรับปลูกต้นดาวเรือง
3.การทำปุ๋ยหมักแบบไม่กลับกอง ตามวิธีการวิศวกรรมแม่โจ้ 1
4.การทำปุ๋ยน้ำชีวภาพจากผลไม้และจากพืชสมุนไพร
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษามีความเป็นผู้นำ รู้จักการวางแผนการทำงานเป็นทีมและการแก้ไขปัญหาได้
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 80 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 2 : นักศึกษามีความรู้ความสามารถและมีทักษะในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับความรู้ความเข้าในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- สรุปผลโครงการนักศึกษา ศก.บ้านโปง
เชิงคุณภาพ ค่าเฉลี่ย 3.51 4.01 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
23/08/2560  - 30/09/2560 23/08/2560  - 15/11/2560
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ