โครงการอินทนิลรวมใจ ต้านภัยคอร์รัปชัน
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สำนักงานมหาวิทยาลัย » กองพัฒนานักศึกษา
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » สภานักศึกษา
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการอินทนิลรวมใจ ต้านภัยคอร์รัปชัน จัดขึ้นเพื่อให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการคอร์รัปชันและเพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาจิตสำนึกการต่อต้านคอร์รัปชันสำหรับนักศึกษา
โดยทางคณะผู้จัดทำโครงการได้วางแผนรูปแบบกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และให้ผู้เข้าร่วมสามารถนำปรับไปใช้ในชีวิตประจำวันได้มากที่สุด โดยสามารถแบ่งประเภทกิจกรรมได้ .... ดังนี้ กิจกรรมแรกเป็นการให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาคอร์รัปชัน ปัญหาคอร์รัปชันใกล้ตัว และกฎหมายคอร์รัปชันในสังคมไทย เป็นการรับฟังการบรรยายจากวิทยากรทั้งภายในมหาวิทยาลัยและภายนอกมหาวิทยาลัย
กิจกรรมที่ 2 เป็นกิจกรรมที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการและคณะผู้จัดทำโครงการ ซึ่งคณะผู้จัดทำโครงการได้สร้างสรรค์กิจกรรมเป็นการแบ่งกลุ่มๆ โดยมีเงื่อนไขว่าภายในหนึ่งกลุ่มจะต้องมีตัวแทนสโมสรทุกสโมสรอยู่ในกลุ่มนั้น และทำความรู้จักกันภายในกลุ่ม ชื่อ-นามสกุล ชื่อเล่น สังกัดสโมสร และมีการกิจกรรมเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนได้แลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาคอร์รัปชัน การแก้ปัญหาคอร์รัปชัน และมีการจำลองสถานการณ์สมมติเกี่ยวกับการคอร์รัปชันว่าใครโกงกว่าใครและร่วมกันแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิด เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้ประเมินสภาวะทางจิตใจและความคิดของตนเองในสถานการณ์ที่สมมติขึ้นในเรื่องพิจารณาการตัดสินใจในเรื่องการคอร์รัปชัน และเพื่อทราบมุมมองที่มีต่อการคอร์รัปชันของผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมค่ายได้ตระหนักถึงภัยคอร์รัปชันว่าเป็นเรื่องใกล้ตัว อีกทั้งยังได้มีการระดมความคิดสร้างสรรค์ภายใต้กิจกรรมค่ำคืนสุขสันต์ ผู้นำนักศึกษาสัมพันธ์ โดยคณะผู้จัดทำโครงการได้สร้างสรรค์กิจกรรมเป็นการแสดงละครสั้นตามหัวข้อเรื่องที่ได้กำหนดให้ โดยมีเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการคอร์รัปชัน
กิจกรรมประเภทสุดท้ายเป็นกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมโครงการได้มานำเสนอแนวคิดการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันในรูปแบบต่างๆ โดยผ่านการเรียนรู้จากกิจกรรม ผู้นำยุคใหม่ ต้านภัยคอร์รัปชัน(เขียนร่างโครงการ) ซึ่งเป็นการแสดงความคิดสร้างสรรค์ และระดมความคิดของสมาชิกภายในกลุ่ม ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พัฒนาจิตสำนึกการต่อต้านคอร์รัปชัน โดยมีเงื่อนไขแนวทางการแก้ไขปัญหาเป็นไอเดียนั้นต้องสามารถนำไปปฏิบัติและใช้ได้จริง ซึ่งรูปแบบของกิจกรรมต้องขึ้นอยู่กับบริบทและกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 1.เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการคอร์รัปชัน ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับฟังการบรรยายในหัวข้อ ปัญหาคอร์รัปชันกับสังคมไทย รู้เท่าทัน...กฎหมายคอร์รัปชันในสังคมไทยและคอร์รัปชัน(ปัญหาใกล้ตัว) และได้ระดม แลกเปลี่ยนความคิดภายใต้กิจกรรม Check-in “รู้คิด รู้ทัน...คอร์รัปชันในประเทศไทย” และกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
2 2.เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาจิตสำนึกการต่อต้านคอร์รัปชันสำหรับนักศึกษา ผู้เข้าร่วมโครงการได้ระดมความคิด เปลี่ยนแปลงเรียนรู้ภายในกลุ่มภายใต้กิจกรรมกระทรวง ทบวง กรมและมีแสดงความคิดเกี่ยวกับแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับคอรร์รัปชันโดยสามารถนำไปปฏิบัติและใช้ได้จริง
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาการคอร์รัปชันเพิ่มมากขึ้นอีกทั้งเกิดกระบวนการพัฒนาจิตสำนึกการต่อต้านคอร์รัปชันในสังคม
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. - ระดับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวปัญหาคอร์รัปชันเพิ่มขึ้น
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 4.25 100
2. - ระดับความพึงพอใจต่อการเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับปัญหาการคอร์รัปชัน
เอกสารประกอบตัวชี้วัด
- แบบประเมิน
เชิงคุณภาพ ระดับ 3.51 4 100
3. - จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 100 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
03/07/2560  - 31/08/2560 14/07/2560  - 16/07/2560
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ