โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมง
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมง ประกอบด้วย 2 กิจกรรม รายละเอียดดังนี้
1. กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมง
ผลการดำเนินงาน : กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมง ภายใต้โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมง กำหนดให้เป็นกิจกรรมในวิชา จป 412 การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรทางน้ำ เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญและทราบถึงกระบวนการอนุรักษ์ที่นำเอาศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนในการดำเนินกิจกรรม และสามารถจัดการพัฒนาพื้นที่การอนุรักษ์ได้อย่างเหมาะสม และพื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้และลำน้ำห้วยโจ้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ศึกษาด้านคุณภาพน้ำและระบบนิเวศวิทยาทางน้ำ ของนักศึกษารายวิชา ชป232 นิเวศวิทยาแหล่งน้ำและวิชา ชป331 แพลงก์ตอนวิทยา ที่เปิดสอนในภาคเรียนที่ 1/2560 ของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ เพื่อให้นักศึกษาได้เป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญในวิชาชีพและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในห้องเรียนธรรมชาติซึ่งสามารถบูรณาการการเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการและยังสามารถพัฒนานักศึกษาให้มีส่วนร่วมกับชุมชนรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยในวันที่ 8 กันยายน 2560 คณะฯ ได้จัดกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมง ณ อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ หมู่ 6 ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ ภายใต้หัวข้อ“พิธีสืบชะตาและปล่อยพันธุ์สัตว์” ได้ปล่อยพันธุ์ปลาพื้นเมือง เช่น ปลาตะเพียนขาว ปลายี่สกเทศ เป็นต้น จำนวน 210,000 ตัว ร่วมกับหน่วยงานกรมประมงจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยสำนักงานประมงจังหวัดเชียงใหม่และศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ เทศบาลป่าไผ่ เทศบาลแม่โจ้ และเกษตกร ประชาชน และชุมชนโดยรอบอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ และลำน้ำห้วยโจ้ ที่จะได้ประโยชน์ด้านทรัพยากรทางน้ำและสภาพของระบบนิเวศที่สมบูรณ์มากกว่าเดิมพร้อมให้เกิดความตระหนักในการรักษาทรัพยากรทางน้ำให้คงอยู่ แล้วยังเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องมีการพัฒนาและลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนและสามารถพัฒนาสู่ชุมชนใกล้เคียงได้ในอนาคต ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น จำนวน คน
2. กิจกรรมจัดทำข้อมูลองค์ความรู้ทางการประมงและทรัพยากรทางน้ำออนไลน์
ผลการดำเนินงาน :
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 จัดกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมงร่วมกับชุมชน เพื่อบูรณาการงานเรียนการสอนและการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมของนักศึกษา 1. กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมง ภายใต้โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมง กำหนดให้เป็นกิจกรรมในวิชา จป 412 การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านทรัพยากรทางน้ำ เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความสำคัญและทราบถึงกระบวนการอนุรักษ์ที่นำเอาศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อให้ชุมชนได้มีส่วนในการดำเนินกิจกรรม และสามารถจัดการพัฒนาพื้นที่การอนุรักษ์ได้อย่างเหมาะสม โดยมีนักศึกษารายวิชาดังกล่าวเข้าร่วมโครงการจำนวน 256 คน (รายชื่อตามเอกสารในภาคผนวก)
2. พื้นที่อ่างเก็บน้ำห้วยโจ้และลำน้ำห้วยโจ้ ได้ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ศึกษาด้านคุณภาพน้ำและระบบนิเวศวิทยาทางน้ำ ของนักศึกษารายวิชา ชป232 นิเวศวิทยาแหล่งน้ำและวิชา ชป331 แพลงก์ตอนวิทยา ที่เปิดสอนในภาคเรียนที่ 1/2560 ของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ เพื่อให้นักศึกษาได้เป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญในวิชาชีพและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ได้เรียนรู้จากการปฏิบัติจริงในห้องเรียนธรรมชาติซึ่งสามารถบูรณาการการเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการและยังสามารถพัฒนานักศึกษาให้มีส่วนร่วมกับชุมชนรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้
2 เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือและกระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางน้ำระหว่างคณะฯ/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้กับชุมชนและหน่วยงานภายนอก 1. หน่วยงานกรมประมงจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วยสำนักงานประมงจังหวัดเชียงใหม่และศูนย์วิจัยพัฒนาประมงน้ำจืดเชียงใหม่ สนับสนุนพันธุ์ปลาและติดตามประสานงานเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการดูแลและบริหารจัดการน้ำรวมทั้งทรัพยากรทางน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเฉพาะการบริหารจัดการน้ำที่ต้องเฝ้าระวังเพื่อไม่ให้เกิดภาวะน้ำแล้ง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำและความแข็งแรงของอ่างเก็บน้ำด้วย
2.เทศบาลป่าไผ่ ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ของอ่างเก็บน้ำและได้มีการจัดตั้งกลุ่มเพื่อเฝ้าดูแลทรัพยากรภายในอ่างเก็บน้ำ และยังมีแผนที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งให้ความรู้ ด้านทรัพยากรทางน้ำ
3. เทศบาลแม่โจ้ มีส่วนเกี่ยวข้องในส่วนของลำน้ำห้วยโจ้ที่ไหลผ่านในพื้นที่ของเทศบาลแม่โจ้ ซึ่งทางคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ได้จัดทำกิจกรรมรักษ์ห้วยโจ้ด้วยคนแม่โจ้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างปัญญาอาสา: สร้างบัญฑิตนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญในวิชาชีพและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ตอนห้องเรียน 6 มิติ บูรณาการการเรียนการสอน วิจัย บริการวิชาการ และพัฒนานักศึกษาร่วมกับชุมชนรอบมหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อพัฒนาและดูแลลำน้ำห้วยโจ้ให้มีสภาพที่สมบูรณ์ตามระบบนิเวศให้มากที่สุด โดยได้บูรณาการร่วมกับการเรียนการสอนในรายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำ วิชาแพลงก์ตอนวิทยาและ วิชามีนวิทยา
4. เกษตกร ประชาชน และชุมชนโดยรอบอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ และลำน้ำห้วยโจ้ ที่จะได้ประโยชน์ด้านทรัพยากรทางน้ำและสภาพของระบบนิเวศที่สมบูรณ์มากกว่าเดิมพร้อมให้เกิดความตระหนักในการรักษาทรัพยากรทางน้ำให้คงอยู่ แล้วยังเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่ต้องมีการพัฒนาและลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ที่ยั่งยืนและสามารถพัฒนาสู่ชุมชนใกล้เคียงได้ในอนาคต
3 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางน้ำและตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมงและทรัพยากรทางน้ำ จากแบบประเมินความพึงพอใจ 315 ชุด คิดเป็นร้อยละ 63.64 ของผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 495 คน พบว่าผู้ตอบแบบประเมินได้ให้คะแนนมีส่วนร่วมในอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมง 4.16 คะแนน (ระดับมาก) และให้คะแนนว่ากิจกรรมประเภทนี้สามารถกระตุ้นให้ชุมชนดูแลและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน 4.13 คะแนน (ระดับมาก) ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางน้ำเพิ่มมากขึ้น 4.21 คะแนน (ระดับมากที่สุด) และให้คะแนนความพึงพอใจต่อบทบาทของคณะเทคโนโลยีการประมงฯ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ได้จัดกิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมง 4.22 คะแนน (ระดับมากที่สุด) และยังให้ความคิดเห็นว่าควรจัดกิจกรรมประเภทนี้อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
4 เพื่อให้ได้องค์ความรู้ทางการประมงและทรัพยากรทางน้ำแล้วนำไปเผยแพร่บนเว็บไซต์ของคณะฯ เพื่อบูรณาการงานเรียนการสอนและการมีส่วนร่วมในจัดกิจกรรมของนักศึกษา 1. พิธีสืบชะตาและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เป็นพิธีกรรมทางศาสนาและประเพณีพื้นบ้านของทางภาคเหนือที่จัดขึ้นเพื่อความเป็นศิริมงคล จัดเป็นกุศโลบายในการเพิ่มความเชื่อและแรงจูงใจเพื่อให้เกิดความเคารพ ซึ่งในปัจจุบันการประกอบพิธีลักษณะแบบนี้มักไม่เป็นที่นิยมในสังคมเมืองแต่ยังคงอยู่ประปรายตามชุมชนบทซึ่งเป็นสังคมส่วนใหญ่ของประเทศไทย โดยกิจกรรมนี้จะถูกพัฒนาและนำไปใช้เป็นข้อมูลเพื่อดำเนินกิจกรรมจัดทำข้อมูลองค์ความรู้ทางการประมงและทรัพยากรทางน้ำออนไลน์ที่สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลที่สนใจได้ทุกที่ทั่วโลก และยังสามารถพัฒนาเป็นแนวทางการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า เป็นต้น
2. กิจกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางน้ำของลำน้ำห้วยโจ้และอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ เป็นกิจกรรมที่ถูกกำหนดให้นักศึกษาในรายวิชา ชป 232 นิเวศวิทยาแหล่งน้ำและวิชา ชป 331 แพลงก์ตอนวิทยา ได้มีส่วนร่วมในการวางแผนการทำงาน การติดต่อประสานงาน และการดำเนินกิจกรมที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
2.1 กิจกรรมพัฒนาระบบนิเวศลำน้ำห้วยโจ้ ร่วมกับเทศบาลและประชาชนในชุมชนบ้านแม่โจ้ หมู่ที่ 4 ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 และ วันที่ 18 มีนาคม 2560 (ภาคผนวกที่ 2) จัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาได้นำความรู้ภายในห้องเรียนไปปฏิบัติงานจริงและแก้ไขปัญหาของชุมชนรอบมหาวิทยาลัย และยังเป็นการบริการวิชาการที่สามารถสร้างนักศึกษาที่เป็นนักปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญ
2.2 กิจกรรมทำฝายมีชีวิต ร่วมกับนักศึกษาในรายวิชา นป 111 หลักชีววิทยาเพื่อการประมง, วิชา ชป 211 มีนวิทยา และวิชา ชป331 แพลงก์ตอนวิทยา บริเวณสวนป่าบุญศรี ภายมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ต.หนองหาร อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 18 – 20 กรกฏาคม 2560 (ภาคผนวกที่ 3) เป็นกิจกรรมที่ร่วมกับพัฒนากับชมรมศิษย์เก่าแม่โจ้ในการพัฒนาพื้นที่ภายในมหาวิทยาลัยให้มีความสมบูรณ์ตามระบบนิเวศและเพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่การปฏิบัติงานของนักศึกษาในโครงการครัวอิ่มอุ่น และยังเป็นกิจกรรมที่สร้างสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษาแต่ละชั้นปีกับรุ่นพี่แม่โจ้ที่เข้ามาร่วมกิจกรรมดังกล่าวอีกด้วย
2.3 กิจกรรมปลูกป่าปล่อยปลา ร่วมกับประชาชนในชุมชนบ้านโป่ง ณ ป่าชุมชนบ้านโปง และอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ หมู่ที่ 6 ต.ป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 และ วันที่ 18 มีนาคม 2560 (ภาคผนวกที่ 4) จัดขึ้นเพื่อให้ประชาชนในชุมชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ของชุมชนให้มีความสมบูรณ์ตามระบบนิเวศทั้งป่าและแหล่งน้ำ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมง : กิจกรรมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมง
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
2. จำนวนเครือข่ายหรือองค์การที่ให้ความร่วมมือจัดกิจกรรมส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมง
เชิงปริมาณ หน่วยงาน 2 3 100
3. จำนวนรายวิชาที่เข้าร่วมบรูณาการกับกิจกรรม
เชิงปริมาณ วิชา 2 3 100
4. ร้อยละความพึงพอใจของประชากรในชุมชนที่จัดกิจกรรมต่อบทบาทของคณะฯ ในการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมง
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.22 100
5. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 100 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 487 100
6. ระดับการตระหนักถึงการมีส่วนร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.21 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 2 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมด้านการประมง : กิจกรรมจัดทำข้อมูลองค์ความรู้ทางการประมงและทรัพยากรทางน้ำออนไลน์
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 50 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 100 100
2. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
3. จำนวนรายวิชาที่เข้าร่วมบรูณาการกับโครงการ
เชิงปริมาณ วิชา 2 2 100
4. ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมต่อแนวทางการเผยแพร่ข้อมูลองค์ความรู้ทางการประมงและทรัพยากรทางน้ำออนไลน์
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 65.4 81.75
รวม      95.44
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 97.72
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
03/07/2560  - 29/09/2560 ยังไม่มีข้อมูล  - ยังไม่มีข้อมูล
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ