โครงการแม่โจ้แปงบ้าน สร้างเมือง คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 ลงพื้นที่บริการทำวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า ระหว่างวันที่ 21 - 25 สิงหาคม 2560 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่ มีนักศึกษาเข้าร่วม 54 คน โดยแบ่งพื้นที่เขตรับผิดชอบ เป็น 5 โซน ดังนี้ 1.บริเวณโรงอาหารและหอพัก 2.บริเวณอาคารเรียน 70 ปี 3.บริเวณสำนักหอสมุด 4.บริเวณศูนย์กีฬาฯ และคณะวิทยาศาสตร์ และ 5.บริเวณคณะวิศวกรรมศาสตร์และพื้นที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรล้านนา
กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้และฝึกอบรมด้านการเลี้ยงไก่และสุกร ระหว่างวันที่ 21 - 25 สิงหาคม 2560 ณ เทศบาลตำบลป่าไผ่ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่
กิจกรรมที่ 3 พัฒนาวิชาชีพด้านสัตวศาสตร์โครงการหลวงวัดจันทร์ ได้จัดขึ้นวันที่ 13-15 มกราคม 2560 ณ ศูนย์โครงการหลวงวัดจันทร์ อ.กัลยานิวัฒนา จ.เชียงใหม่ โดยเป็นการปฏิบัติงานนอกพื้นที่ร่วมกับชุมชน บ้านแจ่มน้อย, บ้านห้อยฮ่อม, บ้านห้วยครกและบ้านดอยตุง ได้ให้บริการฉีดวัคซีน ป้องกันโรคปากเท้าเปื่อยให้กับโคและกระบือ,ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้กับสุนัขและแมว, ฉีดวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลและโรคฝีดาษให้กับไก่, ให้บริการตอนสุกรและถ่ายพยาธิให้กับสัตว์เลี้ยงให้กับชาวบ้านในชุมชนพื้นที่ดังกล่าว และได้จัดอบรมวิธีการเลี้ยงสัตว์ที่ถูกสุขลักษณะและสาธิตวิธีการทำดินโป่ง
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมพัฒนาโรงเรียนบ้านขุนแปะ ได้ดำเนินกิจกรรมในวันที่ 9-11 กันยายน 2560 ณ โรงเรียนบ้านขุนแปะ ต.บ้านแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ โดยมีสพ.ญ.ดร.กฤดา ชูเกียรติศิริ, นายกิตติพงษ์ ทิพยะ และนายครรชิต ชมภูพันธ์ นำนักศึกษาจำนวน 25 คน ได้ร่วมกันปรับปรุงคอกหมู และภูมิทัศน์ภายในโรงเรียน
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อสร้างนักศึกษาเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ เป็นคนดี คนเก่ง และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ ได้พัฒนาทักษะทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ โดยนักศึกษาสามารถนำความรู้ด้านวิชาการที่ได้จากห้องเรียนมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานนอกพื้นที่
2 เพื่อเป็นการถ่ายทอดความรู้ทางด้านวิชาการและหลักการเลี้ยงสัตว์ที่ถูกต้อง ถ่ายทอดความรู้ทางด้านวิชาการ โดยจัดการอบรมวิธีการเลี้ยงสัตว์ที่ถูกสุขลักษณะและสาธิตวิธีการทำดินโป่งให้กับชาวบ้านในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง
3 เพื่อให้เกิดประโยชน์กับทั้งชุมชน นักศึกษาและมหาวิทยาลัย สามารถบูรณาการความรู้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน และนักศึกษาสามารถปฏิบัติงานนอกสถานที่ร่วมกับผู้อื่นได้
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาเป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ เป็นคนดี และคนเก่ง
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการทำวัคซีน
เชิงปริมาณ ตัว 1500 393 26.20
2. ระดับความสำเร็จในการใช้จ่ายงบประมาณเปรียบเทียบกับผลผลิตที่ได้รับ
เชิงต้นทุน ระดับ 4 4 100
3. นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้ใช้องค๋ความรู้บูรณาการเข้ากับการทำงาน
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 83.6 100
รวม      75.40
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 75.40
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
03/10/2559  - 30/09/2560 13/01/2560  - 11/09/2560
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ