โครงการ Maejo Fisheries Professional
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการ Maejo Fisheries Professional เป็นโครงการที่มีรูปแบบการนำเสนอผลงานทางวิชาการระดับนักศึกษา ทั้งภาคบรรยาย และภาคโปสเตอร์ ซึ่งเป็นผลงานที่ได้มาจาก
1) ผลงานในรายวิชาสัมมนา
2) ผลงานในรายวิชาปัญหาพิเศษ
3) ผลงานจากกระบวนการเรียนรู้จากรายวิชาต่าง ๆ
4) ผลงานด้านกิจกรรมนักศึกษา/เสริมหลักสูตรและการบูรณาการโครงการ/กิจกรรมเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษา ได้แก่
- กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่
- กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา
- กิจกรรมเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบราชการ (ติว กพ.)
- กิจกรรมเสริมสร้างทักษะด้านภาษาต่างประเทศ
- กิจกรรมเสริมสร้างทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- กิจกรรมส่งเสริมวิชาชีพแก่นักศึกษาและศิษย์เก่า
- กิจกรรมการนำเสนองาน
- กิจกรรมนักศึกษาพบผู้บริหารและบุคลากร
- กิจกรรมการหารายได้นักศึกษา
5) การเสวนาทางด้านการประมงและทรัพยากรทางน้ำ

จากการดำเนินงานในโครงการ Maejo Professional Fisheries ในปีงบประมาณ 2560 ได้มีการดำเนินการเพื่อส่งเสริมและพัฒนานักศึกษาของคณะ ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้
1) ผลงานจากกระบวนการเรียนรู้จากรายวิชาต่าง ๆ ได้มีการดำเนินเพื่อส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา บูรณาการร่วมกับรายวิชาต่างๆ ได้แก่
- รายวิชาเวศวิทยาแหล่งน้ำ ประจำภาคเรียนที่ 2/2559 และภาคเรียนที่ 1/2560
- รายวิชาแพลงก์ตอนวิทยา ประจำภาคเรียนที่ 1/2560
- รายวิชามีนวิทยา ประจำภาคเรียนที่ 1/2560
- รายวิชาการปฏิบัติงานฟาร์ม ประจำภาคเรียนที่ 2/2559 และประจำภาคเรียนที่ 1/2560
1.1 กิจกรรมพัฒนาลำห้วยแม่โจ้และการสำรวจทรัพยากรประมงเพื่อการอนุรักษ์ โดยการบูรณาการร่วมกับ ซึ่งมีรูปแบบของกิจกรรมประกอบด้วย การสำรวจสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ โดยให้นักศึกษารับผิดชอบพื้นที่เป้าหมายในลำห้วยแม่โจ้ ทำการสำรวจชนิดของสัตว์น้ำ ชนิดของแพลงก์ตอน และระบบนิเวศวิทยา เพื่อนำข้อมูลมารายงานผลในชั้นเรียนในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการนำเสนองานภาคบรรยายและการจะพิมพ์โปสเตอร์ผลงานวิชาการ ซึ่งจะทำให้นักศึกษาได้มีฝึกการนำเสนองานและสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาออกแบบโปสเตอร์เพื่อการนำเสนอได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และมีความเชี่ยวชาญ
1.2 กิจกรรมการพัฒนาลำห้วยแม่โจ้เพื่อการอนุรักษ์ นักศึกษาที่ได้รับมอบหมายงานในการแลพื้นลำห้วยแม่โจ้ ได้มีการสำรวจพื้นที่ โดยได้มีการปรึกษาหารือกับชุมชนและโรงเรียนในพื้นที่เพื่อหาแนวทางในการอนุรักษ์ ซึ่งได้มีการดำเนินกิจกรรมการเก็บขยะและกำจัดวัชพืชในลำห้วยแม่โจ้ ไหลผ่านเขตชุมชนต่างๆ ตลอดจนร่วมมือกับนักศึกษาที่พักอยู่ในหอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการดำเนินกิจกรรมพัฒนาลำห้วยแม่โจ้ที่ไหลผ่านในเขตมหาวิทยาลัย
1.3 กิจกรรมที่ส่งเสริมและปลูกฝังให้เยาวชนในชุมชุมมีความรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ โดยการนำนักเรียนในโรงเรียนลงสำรวจสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ พร้อมทั้งนำเสนอผลงานของแต่ละกลุ่มและเสนอแนวทางในการอนุรักษ์ต่อไป
1.4 กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการทางวิชาการแก่สังคม “เยาวชนรักษ์น้ำแม่แจ่ม” ณ บ้านแม่ซา/บ้านโม่งหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีรูปของกิจกรรมคือ การนำนักศึกษาในรายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำไปเรียนรู้ปัญหาในพื้นที่จริง โดยการให้นักศึกษานำความรู้ในกระบวนการรายวิชาไปถ่ายทอดแก่เยาวชนในชุมชนให้ได้เห็นความสำคัญของทรัพยากรแหล่งน้ำเพื่อให้เกิดการหวงแหนและอนุรักษ์ต่อไป
1.5 กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการทางวิชาการแก่สังคม “เยาวชนรักษ์น้ำแม่แจ่ม” และการถ่ายทอดและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาชุมชนป่าต้นน้ำต้นแบบเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ปัญญา อาชีพ เชื่อมต่อปัญญา กับการเรียนการสอน งานวิจัย บริการวิชาการ และพัฒนานักศึกษา ร่วมกับชุมชนเพื่อแก้ปัญหาและประโยชน์ของชุมชน ณ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีรูปของกิจกรรม คือการนำนักศึกษาในรายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำไปเรียนรู้ปัญหาในพื้นที่จริง โดยการให้นักศึกษานำความรู้ในกระบวนการรายวิชาไปถ่ายทอดแก่ชุมชนในเรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีน และการร่วมมือกับชุมชนในการอนุรักษ์แหล่งน้ำและการสร้างพื้นที่ชุ่มน้ำ
1.6 กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการทางวิชาการแก่สังคม “เยาวชนรักษ์น้ำแม่แจ่ม” ณ บ้านสองธาร ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบของกิจกรรมคือการนำนักศึกษาในรายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำไปเรียนรู้ปัญหาในพื้นที่จริง โดยการให้นักศึกษานำความรู้ในกระบวนการรายวิชาไปถ่ายทอดแก่ชุมชนในเรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีน การปลูกป่า การรักษาแหล่งต้นน้ำ ตลอดจนการปลูกฝังให้เยาวชนในชุมชนให้ได้เห็นความสำคัญของทรัพยากรแหล่งน้ำเพื่อให้เกิดการหวงแหนและอนุรักษ์ต่อไป
1.7 กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการทางวิชาการแก่สังคม “การศึกษาประยุกต์ใช้ฮอร์โมนเพื่อประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงปลาไหลนา” ณ บ้านวังลุงใหม่ ตำบลหางดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบของกิจกรรมคือการนำนักศึกษาในรายวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อของปลา ไปเรียนรู้ปัญหาในพื้นที่จริง โดยการให้นักศึกษานำความรู้ในกระบวนการรายวิชาไปถ่ายทอดแก่ชุมชนในเรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีน
1.8 กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการทางวิชาการแก่สังคม ได้แก่การศึกษาคุณภาพน้ำทรัพยากรประมงคูในเมืองเชียงใหม่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล และลำน้ำแม่สา รูปแบบของกิจกรรมคือการนำนักศึกษาในรายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำและวิชาแพลงก์ตอนวิทยา ไปเรียนรู้ปัญหาในพื้นที่จริง โดยการให้นักศึกษานำความรู้ในกระบวนการรายวิชาไปสำรวจและเก็บข้อมูลของนิเวศวิทยาแหล่งน้ำ ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลคุณภาพน้ำ ข้อมูลสิ่งมีชีวิตในน้ำและแพลงก์ตอน เพื่อนำข้อมูลมาสิเคราะห์ สรุปผล และนำเสนอในชั้นเรียนทั้งในภาคบรรยายและโปสเตอร์
1.9 ฝึกให้นักศึกษามีทักษะวิชาการทางด้านวิชาชีพการประมง โดยการกำหนดมีการสอนและทดสอบทักษะต่าง ๆ ราในรายวิชาการปฏิบัติงานฟาร์ม ได้แก่
o การเพาะ-อนุบาล และการเลี้ยงปลาในฟาร์มของคณะฯ
o การสอนและทดสอบทักษะ
-การทอดแห
-การถักอวน
-การว่ายน้ำ
-การลากอวน
-การบรรจุลูกปลา
-การใช้อุปกรณ์
-การขุดบ่อเลี้ยงปลา
2) ผลงานด้านกิจกรรมนักศึกษา/เสริมหลักสูตรและการบูรณาการโครงการ/กิจกรรมเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษา ได้แก่
2.1 กิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่
กิจกรรมเตรียมความให้กับนักศึกษา (ปฐมนิเทศนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2560) ในวันพุธที่ 27
กรกฎาคม 2559 ณ ห้องประชุม FT1301 อาคารเทคโนโลยีการประมง คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี ผศ.ดร.บัญญัติ มนเทียรอาสน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ให้โอวาทแก่นักศึกษาใหม่ แนะนำคณาจารย์และบุคลากร การแนะนำหลักสูตร การวางแผนการเรียนสำหรับนักศึกษาใหม่ การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย โดยประธานอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาการประมง ประธานอาจารย์ประจำหลักสูตรนวัตกรรมการจัดการธุรกิจประมง นางอัจฉรา เสาวฤทธิ์ นักวิชาการศึกษา ทั้งนี้ได้มีการบรรยายหัวข้อ “นักศึกษากับการประกันคุณภาพการศึกษา” โดย นายประเสริฐ ประสงค์ผล นักวิชาการประมง นางสาวศิรินยา อ้นแก้ว นักวิชาการศึกษา
2.2 กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา
กิจกรรมปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ประจำปีการศึกษา 2559 ในวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม 256 ณ ห้องประชุม FT 1101 อาคารเทคโนโลยีการประมง คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2.3 กิจกรรมเตรียมความพร้อมเข้าสู่ระบบราชการ (ติว กพ.)
จัดกิจกรรมในวันที่ 20 พฤษภาคม และ วันที่ 17 มิถุนายน 2560 ณ ห้องประชุม FT1101 อาคารเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมี ผศ.ดร.ชนกันต์ จิตมนัส อาจารย์ประจำคณะฯ เป็นผู้ทบทวนความรู้/แนะแนวข้อสอบให้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
2.4 กิจกรรมนักศึกษาพบผู้บริหารและบุคลากร
จัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ในวันที่ 26 ตุลาคม 2559 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3, วันที่ 2 พฤศจิกายน 2559 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 3 (เทียบเรียน 2 ปี), วันที่ 9 พฤศจิกายน2559 สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 (เทียบเรียน 2 ปี) และวันที่ 10 พฤศจิกายน 2559 สำหรับนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 และวันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 สำหรับนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 เพื่อเปิดให้นักศึกษาได้พบปะผู้บริหาร ซักถามข้อสงสัยจากผู้บริหารและจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเรื่องนั้น ๆ เช่นการวางแผนการเรียน การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ระบบระเบียนกิจกรรม กิจกรรมเสริมหลักสูตร ทุนการศึกษา ตลอดจนข้อมูลการให้บริการด้านต่าง ๆ แก่นักศึกษาของคณะฯ
2.5 กิจกรรมการหารายได้นักศึกษา
กิจกรรมธุรกิจจำลองของสโมสรนักศึกคณะเทคโนโลยีการประมงฯ โดยการจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ เพื่อฝึกทักษะการจัดการธุรกิจทางการประมงและหารายได้ให้กับนักศึกษา
2.6 กิจกรรมเสริมสร้างทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักวิชาการคอมพิวเตอร์ของคณะ (นายวีระวัฒน์ ฟังเย็น) ได้ถ่ายทอดเทคนิคการใช้ซอฟแวร์เพื่อการผลิตสื่อต่าง ๆ ในการนำเสนองานในรูปที่หลากหลาย ทำให้ผลงานนำเสนอที่มีความน่าสนใจมากขึ้น
3) การเสวนาทางด้านการประมงและทรัพยากรทางน้ำ การเสวนาทางการประมง : “ปลานิลของพ่อ.....ชีวิตของเรา” วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 ณ ห้องคาวบอยเธียเตอร์ อาคารพัฒนาวิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เวลา 13.00 -16.00 น. เพื่อให้ศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน และเกษตรกรผู้สนใจ ได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณทางวิชาชีพทางด้านการประมงและวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการการประกอบอาชีพทางด้านการประมงและวิชาชีพที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
รายนามวิทยากรเรียงลำดับจากซ้ายไปขวา
1. คุณอนันต์ โกเสส ตัวแทนกลุ่มผู้เลี้ยงปลานิลสันทราย อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
2. คุณกองทูล แก้วจันทร์ หัวหน้าแผนกวิชาการและส่งเสริมการขาย บริษัทไทยลักซ์เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน)
3. คุณลิขิต คุณปรึกษา ผู้จัดการฟาร์มมอร์ฟิช ฟาร์ม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม
4. คุณวิทยา มะสะ นักวิชาการปฏิบัติการ สำนักงานประมงจังหวัดเชียงราย
5. คุณสุทธินันท์ ศิริสวัสดีกุล ตัวแทนกลุ่มผู้เลี้ยงปลาสารภีโมเดล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
ดำเนินรายการเสวนาโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภินันท์ สุวรรณรักษ์ อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อสร้างบัณฑิตของคณะให้มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และมีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา เป็นคนดี คนเก่ง และใช้ชีวิตอย่างมีความสุข จากการให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติจริงในพื้นที่จริง ทำให้สามารถสร้างบัณฑิตของคณะให้มีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ เพื่อให้เป็นคนดี เป็นคนเก่ง และสามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
2 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความสามารถในการบริหารจัดการและฝึกความเป็นผู้นำก่อให้เกิดคุณภาพทางด้านวิชาการทักษะ ความเชี่ยวชาญด้านการประมง - มอบหมายงานให้นักศึกษาในรายวิชาดำเนินการสำรวจปัญหาในชุมชุม พร้อมทั้งหาวิธีแก้ปัญหา จากนั้นนำรายงานผลการดำเนินงานมาเผยแพร่โดยการจัดทำเป็นโปสเตอร์ทางวิชาการ ทำให้นักศึกษาของคณะฯ มีความเชี่ยวชาญจากากรฝึกปฏิบัติจริงในพื้นที่จริง
- นักศึกษาของคณะได้นำความรู้ด้านการประมงไปบริการแก่ชุมชน ซึ่งได้นำความรู้จากการเรียนรายวิชาหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำบูรณาการร่วมกันกับการบริการวิชาการ
3 เพื่อส่งเสริมและประกอบระบบระเบียนกิจกรรมนักศึกษา ได้มีการบันทึกข้อมูลนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการลงในระบบระเบียนกิจกรรมนักศึกษา
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : บัณฑิตมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดี เก่ง และมีความสุข
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนชิ้นงานที่นำเสนอ(ทั้งภาคบรรยายและภาคโปสเตอร์)
เชิงปริมาณ ชิ้นงาน 20 21 100
2. ระดับความพึงพอใจต่อการจัดโครงการ
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.3 100
3. ประโยชน์ที่ได้รับหลังจากการเข้าร่วมโครงการ - ด้านคุณธรรม จริยธรรม - ด้านความรู้ - ด้านทักษะทางปัญญา - ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.28 100
4. ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
20/12/2559  - 29/09/2560 21/12/2559  - 29/09/2560
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ