โครงการแม่โจ้ : แป๋งบ้านสร้างเมือง ตอน ประมงแม่โจ้สร้างเมือง ปีที่ 4
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการแม่โจ้ : แป๋งบ้านสร้างเมือง ตอน ประมงแม่โจ้สร้างเมือง ปีที่ 4 ได้ดำเนินโครงการภายใต้วัตถุประสงค์เพื่อสร้างแหล่งอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำ เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคอาหารโปรตีนในเขตพื้นที่สูงและส่งเสริมให้เยาวชนในพื้นที่มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาโดยการใช้หลักวิชาการ งานวิจัย งานบริการวิชาการ งานกิจกรรมนักศึกษา บูรณาการร่วมกัน
รายวิชาที่นักศึกษานำไปใช้ในการดำเนินโครงการ จำนวน 4 รายวิชา ได้แก่
- รายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำ
- รายวิชาแพลงก์ตอนวิทยา
- รายวิชาหลักชีววิทยาเพื่อการประมง
- รายวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อของปลา
ชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 13 ชุมชน ได้แก่
- ชุมชนคูเมืองเชียงใหม่
- ชุมชนแม่น้ำคาว
- เขื่อนแม่กวงอุดมธารา
- เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล
- คลองชลประทานแม่แฝก
- แม่น้ำปิง(เขตอำเภอเมือง)
- ลำน้ำแม่สา(อำเภอแม่แตง)
- บ้านแม่ซา ตำบลแม่นาจร อำเภอแม่แจ่ม
- บ้านโม่งหลวง ตำบลกองแขก อำเภอแม่แจ่ม
- บ้านสองธาร ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม
- บ้านเด่น อำเภอกัลยาณิวัฒนา
- บ้านแจ่มน้อย อำเภอกัลยาณิวัฒนา
- บ้านวังลุงใหม่ ตำบลหางดง อำเภอฮอด
ชนิดสัตว์น้ำที่ส่งเสริมให้มีการเลี้ยง จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ ปลาตะเพียน ปลาไน ปลาไหล และ กบ
สิ่งมีชีวิตที่สำรวจพบในแหล่งน้ำในชุมชน ได้แก่
1 ปลาสลาด
2 ปลาน้ำหมึกโคราช
3 ปลาน้ำหมึกเหลือง
4 ปลาซิวใบไผ่แถบขาว
5 ปลาซิวใบไผ่
6 ปลานางอ้าว
7 ปลาซิว
8 ปลาซิวควาย
9 ปลาซิวหนวดยาว
10 ปลาหน้านวล
11 ปลาตะเพียนเงิน
12 ปลาตะเพียนทอง
13 ปลาแดงน้อย
14 ปลาเลียหิน
15 ปลามูด
16 ปลาสร้อยลูกบัว
17 ปลาพลวง
18 ปลาขิ้ง
19 ปลามะไฟ
20 ปลาตะเพียนทราย
21 ปลาตะเพียนน้ำตก
22 ปลามอน
23 ปลาแก้มช้ำ
24 ปลาค้อเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์
25 ปลาค้อลายบั้ง
26 ปลาค้อทรายแต้มเล็ก
27 ลูกอ๊อด
28 กุ้งฝอย
29 เขียด
30 ปลาดุกด้าน
31 ปลากินยุง
32 ปลากระทิงลายแม่น้ำ
33 ปลาแป้นแก้ว
34 ปลานิล
35 ปลาบู่ทราย
36 ปลาหมอไทย
37 ปลากริมข้างลาย
38 ปลากระดี่หม้อ
39 ปลาสลิด
40 ปลาช่อน
41 ปลาค้อปรีดี
42 ปลากระสูบขีด
43 ปลากระแห
44 ปลากะมัง
45 ปลาไน
46 ปลานวลจันทร์เทศ
47 ปลาแขยงหิน
48 ปลากดเหลือง
49 หอย
50 ปลาไหลนา
51 ปลากระดี่หม้อ
52 ปลาก้าง
53 ปูนา
54 กบ
55 ปลากดเหลือง
56 ตัวอ่อนแมลงชีปะขาว
57 ปลาหมอช้างเหยียบ
58 ปลากริมควาย
1.กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการทางวิชาการแก่สังคม “เยาวชนรักษ์น้ำแม่แจ่ม” ณ บ้านแม่ซา/บ้านโม่งหลวง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีรูปของกิจกรรมคือ การนำนักศึกษาในรายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำไปเรียนรู้ปัญหาในพื้นที่จริง โดยการให้นักศึกษานำความรู้ในกระบวนการรายวิชาไปถ่ายทอดแก่เยาวชนในชุมชนให้ได้เห็นความสำคัญของทรัพยากรแหล่งน้ำเพื่อให้เกิดการหวงแหนและอนุรักษ์ต่อไป
2.กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการทางวิชาการแก่สังคม “เยาวชนรักษ์น้ำแม่แจ่ม” และการถ่ายทอดและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาชุมชนป่าต้นน้ำต้นแบบเพื่อความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ ดิน น้ำ ป่า ปัญญา อาชีพ เชื่อมต่อปัญญา กับการเรียนการสอน งานวิจัย บริการวิชาการ และพัฒนานักศึกษา ร่วมกับชุมชนเพื่อแก้ปัญหาและประโยชน์ของชุมชน ณ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีรูปของกิจกรรม คือการนำนักศึกษาในรายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำไปเรียนรู้ปัญหาในพื้นที่จริง โดยการให้นักศึกษานำความรู้ในกระบวนการรายวิชาไปถ่ายทอดแก่ชุมชนในเรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีน และการร่วมมือกับชุมชนในการอนุรักษ์แหล่งน้ำและการสร้างพื้นที่ชุ่มน้ำ
3.กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการทางวิชาการแก่สังคม “เยาวชนรักษ์น้ำแม่แจ่ม” ณ บ้านสองธาร ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบของกิจกรรมคือการนำนักศึกษาในรายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำไปเรียนรู้ปัญหาในพื้นที่จริง โดยการให้นักศึกษานำความรู้ในกระบวนการรายวิชาไปถ่ายทอดแก่ชุมชนในเรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีน การปลูกป่า การรักษาแหล่งต้นน้ำ ตลอดจนการปลูกฝังให้เยาวชนในชุมชนให้ได้เห็นความสำคัญของทรัพยากรแหล่งน้ำเพื่อให้เกิดการหวงแหนและอนุรักษ์ต่อไป
4.กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการทางวิชาการแก่สังคม “การศึกษาประยุกต์ใช้ฮอร์โมนเพื่อประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงปลาไหลนา” ณ บ้านวังลุงใหม่ ตำบลหางดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ รูปแบบของกิจกรรมคือการนำนักศึกษาในรายวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อของปลา ไปเรียนรู้ปัญหาในพื้นที่จริง โดยการให้นักศึกษานำความรู้ในกระบวนการรายวิชาไปถ่ายทอดแก่ชุมชนในเรื่องการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีน
5.กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับการบริการทางวิชาการแก่สังคม ได้แก่การศึกษาคุณภาพน้ำทรัพยากรประมงคูในเมืองเชียงใหม่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล และลำน้ำแม่สา รูปแบบของกิจกรรมคือการนำนักศึกษาในรายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำและวิชาแพลงก์ตอนวิทยา ไปเรียนรู้ปัญหาในพื้นที่จริง โดยการให้นักศึกษานำความรู้ในกระบวนการรายวิชาไปสำรวจและเก็บข้อมูลของนิเวศวิทยาแหล่งน้ำ ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลคุณภาพน้ำ ข้อมูลสิ่งมีชีวิตในน้ำและแพลงก์ตอน เพื่อนำข้อมูลมาสิเคราะห์ สรุปผล และนำเสนอในชั้นเรียนทั้งในภาคบรรยายและโปสเตอร์
6.นักศึกษาในรายวิชาหลักชีววิทยาเพื่อการประมง เข้าร่วมกิจกรรม “พลิกฟื้นคืนป่าตามศาสตร์พระราชา” ณ ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 27 สิงหาคม 2560 เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาได้ปฏิบัติงานเก็บตัวอย่าง วิเคราะห์คุณภาพน้ำ และสำรวจสำรวจสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ นักศึกษาในรายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำ รายวิชาแพลงก์ตอนวิทยา ได้รับมอบหมายพื้นที่ในชุมชนในการเก็บตัวอย่าง วิเคราะห์คุณภาพน้ำ และสำรวจสำรวจสิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำ ได้แก่ คูเมืองเชียงใหม่ แม่น้ำคาว เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล คลองชลประทานแม่แฝก แม่น้ำปิง(เขตอำเภอเมือง) ลำน้ำแม่สา(อำเภอแม่แตง) อำเภอแม่แจ่ม และ อำเภอกัยาณิวัฒนา
2 เพื่อเสริมสร้างอาหารโปรตีนที่ได้จากสัตว์น้ำให้แก่นักเรียน และสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ด้านการเสริมสร้างอาหารโปรตีนที่ได้จากสัตว์น้ำ
- นักศึกษาในรายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำ รายวิชาแพลงก์ตอนวิทยา ออกพื้นที่ปฏิบัติการในเขตชุมชนบ้านสองธาร ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม และบ้านเด่น อำเภอกัลยาณิวัฒนา เพื่อส่งเสริมการการเพาะเลี้ยงกบ การเพาะปลาไน การเพาะปลาตะเพียน ให้กับชุมชน เพื่อสร้างอาหารโปรตีนให้แก่นักเรียนและครัวเรือน
- นักศึกษาในรายวิชาวิทยาต่อมไร้ท่อของปลา ออกพื้นที่ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม เรื่อง “การศึกษาประยุกต์ใช้ฮอร์โมนเพื่อประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงปลาไหลนา” ณ บ้านวังลุงใหม่ ตำบลหางดง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 30 กรกฎาคม 2560

ด้านการสร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชน/ชุมชนในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
- นักศึกษาในรายวิชานิเวศวิทยาแหล่งน้ำ รายวิชาแพลงก์ตอนวิทยา ได้ลงพื้นที่เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนในพื้นที่ ได้แก่ โรงเรียนบ้านแม่ซา ตำบลแม่นาจร โรงเรียนบ้านโม่งหลวง ตำบลกองแขก และ โรงเรียนบ้านสองธาร ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่
- นักศึกษาในรายวิชาหลักชีววิทยาเพื่อการประมง เข้าร่วมกิจกรรม “พลิกฟื้นคืนป่าตามศาสตร์พระราชา” ณ ตำบลบ้านทับ อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ในวันที่ 27 สิงหาคม 2560
3 เพื่อให้ คณะ นักศึกษา และชุมชน ได้มีความร่วมมือกันศึกษาเรียนรู้ฝึกปฏิบัติจริง ปรับประยุกต์ใช้งานวิชาการในการพัฒนาชุมชนร่วมกัน โดยบูรณาการระหว่างการเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ และกิจกรรมนักศึกษา นักศึกษาได้มีการประสานงานกับเทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม เขื่อนแม่กวงอุดมธารา และ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ในการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน โดยการนำข้อเสนอจากชุมชนมาออกแบบในการดำเนินกิจกรรมแบบบูรณาการ
4 เพื่อส่งเสริมและประกอบระบบระเบียนกิจกรรมนักศึกษา หลังเสร็จสิ้นโครงการได้มีการบันทึกข้อมูลนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการลงในระบบระเบียนกิจกรรมนักศึกษา
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : บัณฑิตมีคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ดี เก่ง และมีความสุข
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนรายวิชาที่บูรณาการวิชาการรับใช้สังคม
เชิงปริมาณ รายวิชา 3 4 100
2. จำนวนชนิดสัตว์น้ำที่ส่งเสริมให้มีการเลี้ยง
เชิงปริมาณ ชนิด 2 4 100
3. จำนวนสิ่งมีชีวิตในน้ำที่สำรวจพบ
เชิงปริมาณ ชนิด 30 58 100
4. จำนวนชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ ชุมชน 5 13 100
5. จำนวนผลงานทางวิชาการจากกระบวนการรายวิชาที่ผลิตได้
เชิงปริมาณ ชิ้น 10 12 100
6. ระดับความพึงพอใจโดยรวมของนักศึกษาในการเข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.15 100
7. ระดับความพึงพอใจโดยรวมของชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 3.82 100
8. ประโยชน์ที่ได้รับหลังจากการเข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.18 100
9. ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
15/12/2559  - 29/09/2560 15/12/2559  - 29/09/2560
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ