โครงการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประกอบด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้
1. กิจกรรมดำหัวผู้อาวุโส
ผลการดำเนินงาน : พิธีสงกรานต์ หรือดำหัว เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ
กิจกรรมในวันสงกรานต์ เป็นการเน้นการทำบุญตักบาตร ถือว่าเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้ตัวเอง และ อุทิศส่วนกุศลนั้นแก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว การทำบุญแบบนี้มักจะเตรียมไว้ล่วงหน้า นำอาหารไปตักบาตรถวายพระภิกษุที่ศาลาวัด ซึ่งจัดเป็นที่รวมสำหรับทำบุญ ในวันนี้หลังจากที่ได้ทำบุญเสร็จแล้ว ก็จะมีการก่อพระทรายอันเป็นประเพณีด้วย การสรงน้ำพระการรดน้ำ เป็นการอวยพรปีใหม่ให้กันและกัน น้ำที่รดมักใช้น้ำหอมเจือด้วยน้ำธรรมดา การสรงน้ำพระจะรดน้ำพระพุทธรูปที่บ้านและที่วัด และบางที่จัดสรงน้ำพระสงฆ์ด้วย การรดน้ำผู้ใหญ่ คือการไปอวยพรให้ผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือครูบาอาจารย์ท่านผู้ใหญ่มักจะนั่งลงแล้วผู้ที่รดก็จะเอาน้ำหอมเจือกับน้ำรดที่มือท่าน ท่านจะให้ศีลให้พรผู้ที่ไปรด แต่ดำหัวเป็นคำเมืองทางภาคเหนือ การดำหัวเรียกกันเฉพาะการรดน้ำผู้ใหญ่ที่เราเคารพนับถือ ผู้สูงอายุ คือการขอขมาในสิ่งที่ได้ล่วงเกินไปแล้ว หรือ การขอพรปีใหม่จากผู้ใหญ่ ของที่ใช้ในการดำหัวส่วนมากมีผ้าขนหนู มะพร้าว กล้วย และ ส้มป่อย การปล่อยนกปล่อยปลา ถือเป็นการล้างบาปที่ทำไว้ เป็นการสะเดาะเคราะห์ร้ายให้มีแต่ความสุขความสบายในวันขึ้นปีใหม่ การนำทรายเข้าวัด ทางภาคเหนือนิยมขนทรายเข้าวัดเพื่อเป็นนิมิตโชคลาภ ให้มีความสุขความเจริญ เงินทองไหลมาเทมาดุจทรายที่ขนเข้าวัน
แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน สังคมไทยปัจจุบันคือว่าเทศกาลสงกรานต์เป็นเทศกาลกลับบ้าน เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมแต่งจนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ
กิจกรรมดำหัวผู้อาวุโส ประจำปี 2560 ของคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ได้จัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2560 โดยได้มีการตกแต่งข้าวของที่ใช้ในการทำกิจกรรมและตกแต่งสถานที่ให้ได้บรรยากาศแบบพื้นเมือง เน้นให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่งตัวด้วยชุดพื้นเมือง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีทั้ง คณาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน นักศึกษา ตัวแทนชุมชน ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงปลา และรวมถึงผู้ใช้บัณฑิต โดยในพิธีได้ขอขมาให้สิ่งที่ผู้น้อย (มีอายุน้อย) ได้ล่วงเกินโดยตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ แต่ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือผู้ใหญ่ (ผู้มีอายุมาก) และขอพรเพื่อให้ในปีนี้ได้ประสบความสำเร็จอย่างที่แต่ละคนตั้งใจไว้ เป็นกิจกรรมที่สามารถถ่ายทอดความเป็นกลิ่นอายของวัฒนธรรมภาคเหนือ ประเพณีที่สะท้อนถึงความนอบน้อม เคารพต่อผู้อาวุโส ทางได้เล็งเห็นความสำคัญของกิจกรรมเหล่านี้จึงได้จัดกิจรรมเพื่ออนุรักษ์สืบสานประเพณีให้คงอยู่ต่อไป และในวันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2560 เวลา 13.00 น เป็นต้นไป ทางคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ได้เดินขบวนเข้าร่วมพิธีดำหัวผู้อาวุโส อธิการบดี และนายกสมาคมศิษย์เก่าแม่โจ้ ณ อาคารแผ่พืชน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

2. กิจกรรมการถวายเทียนพรรษา
ผลการดำเนินงาน : คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการอนุรักษ์ สืบสานประเพณีอันดีงานของท้องถิ่น จึงได้มีการสนับสนุนงบประมาณให้มีการจัดกิจกรรมถวายเทียนพรรษา ในวันพฤหัสบดี ที่ 29 มิถุนายน 2560 เวลา 07.30 – 09.30 น. ณ ลานสะพานเชื่อมใจ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ร่วมกันถวายดอกไม้ธูปเทียน เทียนพรรษา และเครื่องปัจจัยไทยทาน

3. กิจกรรมไหว้ครูและทำบุญคณะและอุทิศส่วนกุศลให้สัตว์ทดลอง
ผลการดำเนินงาน : กิจกรรมไหว้ครูและทำบุญคณะและอุทิศส่วนกุศลให้สัตว์ทดลอง ได้จัดขึ้นในวันที่ 29 มิถุนายน 2560 ณ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ โดยมีเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 427 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของคณะ ซึ่งรูปแบบของกิจกรรมได้แบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมย่อยดังนี้
- กิจกรรมทำบุญคณะ และอุทิศส่วนกุศลให้สัตว์ทดลอง ได้มีการนิมนต์พระสงฆ์จำนวน 5 รูป มาประกอบพิธีทำบุญคณะ และอุทิศส่วนกุศลให้นักศึกษา บุคลากร ที่ล่วงลับไปแล้ว และสัตว์ที่ใช้ในการศึกษาทดลอง ซึ่งมีความเชื่อตามหลักพระพุทธศาสนา ณ ห้องบรรยาย FT 1301 โดยมีคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม
- กิจกรรมไหว้ครู เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการโดยสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ ซึ่งมีการวางแผนการจัดกิจกรรมตามหลัก PDCA
- กิจกรรมนักศึกษาพบอาจารย์ที่ปรึกษา เป็นกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ให้นักศึกษาใหม่ และนักศึกษาเก่า ได้มีโอกาสเข้าพบหาอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อปรึกษาในเรื่องต่างๆ และเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา

4. กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาจุดแสดงด้านวิถีประมงพื้นบ้าน
ผลการดำเนินงาน : กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาจุดแสดงด้านวิถีประมงพื้นบ้าน ประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
- กิจกรรมบูรณาการการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เป็นกิจกรรมที่ศิลปวัฒนธรรมทางการประมงมาบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนวิชา จป 111 การประมงทั่วไป โดยมีอาจารย์ ดร.สุดาพร ตงศิริ เป็นอาจารย์ประจำวิชา ซึ่งมีการนำเครื่องมือประมงพื้นบ้านที่ได้จัดทำขึ้นโดยนักศึกษาในวิชา จป 415 เครื่องมือประมงกับการจัดการประมงอย่างยั่งยืน มาสร้างละครบทบาทสมมุติ โดยให้นักศึกษาในรายวิชาจับกลุ่มกันเพื่ออธิบายลักษณะ คุณสมบัติ วิธีการใช้ ประโยชน์ที่ได้รับจาการนำไปใช้ในต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ ระบบนิเวศวิทยาของแหล่งน้ำ การอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม วิถีประมงพื้นบ้าน การดำรงอยู่อย่างพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งสร้างจิตสำนึกและความเข้าใจระบบนิเวศทางธรรมชาติ สามารถนำไปบริหารจัดการทรัพยากรให้คงอยู่อย่างยั่งยืน อีกทั้งมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัดนั้น สามารถเพิ่มผลผลิตเกิดความยั่งยืนขึ้นได้
- กิจกรรมพัฒนาจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน เป็นการรวบรวมเครื่องมือประมงพื้นบ้านทั้ง 4 ภาค โดยเฉพาะเครื่องจักสานที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำ รวมถึงรายละเอียดและวิธีการใช้ของเครื่องมือแต่ละชนิด มาไว้ ณ จุดแสดงเรียนรู้ด้านวิถีประมงพื้นบ้าน คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิถีชีวิตด้านการประมงพื้นบ้าน สำหรับเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปด้วย ทั้งนี้ผู้คณะผู้จัดทำได้รวบรวมเครื่องมือประมงพื้นบ้านและนำเสนอข้อมูลของในแต่ละชนิด ตามวัตถุประสงค์ของโครงการไว้ทั้งสิ้น 13 องค์ความรู้ ดังนี้
องค์ความรู้ที่ 1 ตุ้มปลาไหล : เป็นเครื่องมือดักปลาเอี่ยนหรือปลาไหล รูปทรงคล้ายลูกน้ำเต้า ติดงาแซงบริเวณตีนตุ้ม ส่วนปากจะสานกรวยใส่เหยื่อล่อปลาไหล และใช้เป็นฝาปิดตุ้มภายในตัว ใช้ดักปลาไหลตามท้องนา สระน้ำ หรือแอ่งน้ำ การดักปลาไหลมักจะวางตุ้มในบริเวณที่มีน้ำนิ่งใกล้ขอบบ่อ ขอบสระ หรือคันนาไม่ลึกนัก พอให้ปากตุ้มโผล่พ้นน้ำ ขุดหลุมตื้น ๆ พอวางตุ้มได้เหมาะ แล้วกดดินรอบ ๆ ก้นตุ้ม ผูกคอตุ้มโยงกับไม้หลักที่ปักไว้กันตุ้มไม่ให้ลอยหรือล้ม แล้วใส่เหยื่อลงในกรวย เพื่อล่อปลาไหลให้เข้าไปกินเหยื่อ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นของคาว เช่น ปูฉีก หอยทุบ เศษหัวปลา เป็นต้น เมื่อปลาไหลเลื้อยเข้าไปในตุ้มแล้วหาทางออกตามอุปนิสัย ก็จะติดกรวยที่ใส่เหยื่อล่อปิดปากทางออก
องค์ความรู้ที่ 2 ไซกบ : เป็นเครื่องมือดักกบ เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมคางหมู ปากกลม ตัวผาย ก้นสอบลีบ ส่วนปากสานเป็นงาแซง สานด้วยลายขัดแตะหรือลายสอง ส่วนก้นเปิดกว้างประมาณ 6-7 ซ.ม. เวลานำไปดักกบจะใช้เศษหญ้าม้วนปิด
องค์ความรู้ที่ 3 ไซบั้ง : มีรูปทรงคล้ายลอบ บางพื้นที่อาจจะเรียกลอบดักกุ้ง ใช้ดักปลาหลิด (ปลาหลด) ปลาดุก ปลาหลิม (ปลาช่อน) ปลาสะเด็ด (ปลาหมอ) และปลาปก (ปลาขาว) เป็นต้น เนื่องจากไซบั้งตาถี่ จึงสามารถดักกุ้ง และปลาเล็กได้ดีด้วย นอกจากจะใช้ดักปลาในน้ำแล้ว ไซบั้งขนาดเล็กยังใช้ดักแมงมันได้อีกด้วย โดยใช้ด้านหน้าไซส่วนที่ติดงา วางครอบรูแมงมัน เลือกรูที่แมงมันออกมากที่สุด พยายามวางอย่างเบา ๆ เพราะหากวางแรงจะทำให้แมงมันรู้ตัวไม่ออกจากรู เมื่อแมงมันออกจากรูจะไต่เข้าไปในไซ จึงยกไซบั้งไปเทแมงมันใส่ถังน้ำ แมงมันจะไต่หรือบินหนีไม่ได้เพราะปีกเปียก เป็นวิธีจับแมงมันที่ง่ายกว่าการจับด้วยมือครั้งละตัว เพราะเสี่ยงต่อการถูกแม่แมงมันซึ่งมีขนาดเล็กกัด จะทำให้เจ็บและคันมาก
องค์ความรู้ที่ 4 ไซหัวหมู : มีลักษณะคล้ายหัวหมู ลำตัวกลม ส่วนท้ายโค้งมนสานด้วยตอกเส้นแบนเป็นลายขัดตาตะแกรงส่วนปากบานกว้าง ปิดด้วยงาแซงขนาดใหญ่คล้ายหัวหมู การดักปลาด้วยไซหัวหมูจะใช้ได้ทั้งในน้ำเหมืองและฮ่องเหมือง ทั้งช่วงน้ำไหลและน้ำนิ่ง โดยวางไซลงกะให้ส่วนหลังไซโผล่พ้นผิวน้ำพอให้เกิดพื้นที่ว่างเพื่อให้ปลาโผล่ขึ้นมาหายใจได้ในช่วงที่ติดก่อนที่คนดักปลาจะมาแก้ไซ ใช้เศษหญ้าและใบไม้ปิดพรางตัวไซไว้ ยกเว้นส่วนปากไซ ใช้เสาปักยึดไซทั้ง 2 ด้าน แต่หากน้ำไหลแรงให้ปักเสาเสริมส่วนก้นไซด้วย ปลาที่ติดจะเป็นปลาใหญ่ เช่น ปลาหลิม (ปลาช่อน) ปลาดุก และปลาสะเด็ด (ปลาหมอ) เป็นต้น
องค์ความรู้ที่ 5 ซ่อน : เป็นไม้ไผ่ฉีกเป็นซี่ๆ ทรงกรวย มักใช้เถาวัลย์พันเป็นเกลียวโดยรอบ นำไปดักปลาในทางน้ำแคบๆ
องค์ความรู้ที่ 6 อีจู้ : อีจู้ เป็นเครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีงาแซงอยู่ริมก้นใส่เหยื่อไว้ในกะพล้อ มีลักษณะกลมป่องส่วนก้น แล้วเรียวที่ส่วนบน คล้ายคนโทใส่น้ำบางชนิด หรือคล้ายรูปหม้อคอสูง ขนาดของอีจู้โดยทั่วไปวัดตามเส้นผ่าศูนย์กลาง ส่วนก้นมีความกว้างตั้งแต่ 20 – 40 เซนติเมตร เมื่อวางตั้งมีความสูงตั้งแต่ 50 เซนติเมตร จนถึง 1 เมตร การสานอีจู้ใช้ตอกไม้ไผ่เหลาบาง ๆ เริ่มสานที่ก้นเป็นลายขัดสี่เหลี่ยมเป็นตาห่าง ๆ แต่ต้องไม่ให้ปลาไหลลอดออกไปได้ แล้วสานในแนวตั้งขึ้นมาเป็นลายขัดทึบ สานปลายปากอีจู้เรียวแคบลงทีละน้อย ๆ ส่วนริมปลายปากจะบานออกเล็กน้อย เพื่อวางที่ปิดปากอีจู้ส่วนใหญ่ใช้กะลามะพร้าว หรือเศษฟางเศษหญ้าจุกปากให้แน่น ริมก้นอีจู้ด้านหนึ่งด้านใดจะสานเป็นช่องวงกลมไว้ เพื่อใส่งาแซงให้ปลาไหลเข้า โดยทั่วไปแล้วอีจู้แต่ละอันจะมีงาแซงอยู่ 1 ซองเท่านั้น แต่ถ้าสานอีจู้ขนาดใหญ่ก็ทำแซงริมก้นอีจู้ทุกด้าน คือมีงาแซงใส่ไว้ 4 ช่องทาง ภายในสานไส้อีจู้ด้วยไม้ไผ่เป็นลายขัดห่าง ๆ ทำเป็นกรวยใส่เหยื่อล่อปลาไหล บางทีเรียกว่า “กะพล้อ” หรือรอง สามารถดึงเข้าดึงออกได้ เหยื่อที่ใส่ให้ปลาไหลเข้าไปกิน มักใช้เนื้อหอยโข่งนา ปูตายทุบให้แหลกหรือเนื้อปลาสับการดักปลาไหลจะดักในน้ำนิ่งตามริมหนอง คลอง บึง หรือตามแปลงนา ความลึกของน้ำไม่มากนัก ต้องให้ส่วนปลายปากอีจู้โผล่พ้นน้ำเพราะปลาไหลจะได้ขึ้นมาหายใจได้ ใช้ใบหญ้าคลุมอีจู้แต่งช่องทางให้ปลาไหลเข้าไปทางงาแซงได้สะดวก ช่องงาแซงอยู่ในระดับพื้นดินใต้น้ำ พอดี ปลาไหลซึ่งชอบอาศัยอยู่ในโคลนเลน เมื่อได้กลิ่นเหยื่อจะหาทางเข้าไปกิน จนกระทั่งเข้าช่องจากแซงนั้น แต่ไม่สามารถกินเหยื่อได้เพราะใส่ไว้ในกะพล้ออีกชั้นหนึ่ง ทำให้เหยื่อไม่หมด ปลาไหลตัวอื่น ๆ จะเข้าไปอีก การกู้อีจู้อาจกู้วันละครั้ง หรือดักไว้หลาย ๆ วันก่อนจึงมากู้ก็ได้
องค์ความรู้ที่ 7 จั่น : ใช้ดักจับสัตว์น้ำ โดยลักษณะการทำงานเหมือนกับการทำงานของกับดักหนู คือ เมื่อปลาหรือสัตว์น้ำเข้าไปในจั่นแล้วประตูกลไกจะปิดลง ทำให้ปลาหรือสัตว์น้ำออกไม่ได้ เพราะฉะนั้นจั่นจึงไม่มีงา
องค์ความรู้ที่ 8 อีงวม : มีลักษณะคล้ายสุ่ม แต่แตกต่างกับสุ่ม คือ มีขนาดใหญ่กว่าสุ่มโมงมาก สุ่มบางอันสูงเกินกว่า 1 เมตร อีงวมจะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ปลายตีนกว้างออกเล็กน้อย ด้านบนทำเป็นวงกว้างเพื่อใช้มือ 2 ข้าง ล้วงจับปลาได้สะดวก การสานอีงวมจะสานด้วยตอกผิวไม้ไผ่บาง ๆ สายลายขีดทึบโดยตลอด
องค์ความรู้ที่ 9 ชะนาง : เป็นเครื่องมือจับปลาตามแหล่งน้ำตื้นๆ เช่น หนองน้ำ คู คลอง สานด้วยไม้ไผ่และหวาย รูปร่างคล้ายตะกร้าปากเป็นสี่เหลี่ยม ก้นสอบ สานด้วยไม้ไผ่ถักด้วยหวาย ชะนางมีลักษณะการใช้คล้ายตะแกรงช้อนปลา คือ ใช้ช้อนกุ้งหรือปลาเล็กๆ ตามชายคลองหรือหนองน้ำ นางยังมีใช้กันในบริเวณภาคใต้ บางที่ใช้เป็นตะกร้าล้างปลาไปด้วย
องค์ความรู้ที่ 10 ตะข้องคอขวด : เป็นเครื่องมือใช้สำหรับใส่ปลาชั่วคราว ลำตัวทำด้วยผิวไม้ไผ่ มัดขอบด้วยหวาย ลายขัด รูปร่างทรงกระบอกกลมมีคอสูงคล้ายขวด
องค์ความรู้ที่ 11 เซงเลง : เป็นเครื่องมือจับปลาชนิดหนึ่งเป็นรูปกรวยส่วนท้ายเรียวสอบติดกัน ลักษณะคล้ายกระชู ไม่มีงาเป็นที่รู้จักกันดีของชาวบ้านภาคใต้ เชงเลงจะมีหลายขนาดความยาวตั้งแต่ 6 - 8 ศอก ความกว้างของฝาก 1 - 2 ศอก
องค์ความรู้ที่ 12 ตุ้มดักปลา : เป็นเครื่องสานทำจากไม้ไผ่ มีลักษณะเหมือน ข้อง แต่มีลักษณะสูงกว่าและเรียว มีงาอยู่ด้านล่างเพื่อให้ปลาเข้าไป เป็นเครื่องมือหาปลาที่มีให้เห็นทั่วไปตามท้องถิ่นภาคอีสาน โดยมีวิธีใช้ตั้งบริเวณน้ำตื้นมีหญ้าขึ้นรก ซึ่งเป็นบริเวณที่น่าจะมีปลาไหลอาศัย โดยภายในจะใส่เหยื่อล่อปลา ส่วนมากนิยมใช้เหยื่อประเภทปูนาที่ตาย โขลกให้ปูแตกพอมีกลี่นคาวใส่เข้าไปในตุ้มปลา ดักไว้ค้างคืน และนิยมไปเก็บกู้ตอนเช้า
องค์ความรู้ที่ 13 นั่งได้-นอนได้ : เป็นเครื่องมือใช้ในการดักปลาดุกของชาวปักษ์ใต้ " นั่งได้ " ทำด้วยไม้ไผ่ หรือคลุ้ม เป็นตอกสานลายขัดรูปทรงเหมือนข้องใส่ปลาธรรมดา แต่ตอนก้นทำเป็นปากซึ่งใช้ใส่งาสำหรับล่อให้ปลาเข้าไป เยื่อที่ใช้ได้แก่ เคงหรือรังปลวกเผาไฟหรือรังมดจอด เผาพอหอม ๆ ใส่เหยื่อลงในเครื่องมือนี้แล้วปิดปากให้สนิทนำไปวางให้โผล่เฉพาะปาก เมื่อวางได้ที่ก็โรยเหยื่อลงหน้างาและเหนือผิวน้ำเล็กน้อยเพื่อหล่อให้ปลามากิน ส่วน นอนได้ มีลักษณะผิดกับนั่งได้ ตรงที่มีลักษณะยาวตามแนวนอน ใช้ดักปลากดุกเช่นเดียวกันกับนั่งได้ ผิดกันแต่รูปร่างและวิธีการดัก คือนอนได้จะใช้วางดักโดยจมลงไปในน้ำทั้งหมด
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานประเพณีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส ถวายเทียนพรรษา ไหว้ครูและทำบุญคณะ ให้คงอยู่ต่อไป นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ เป็นส่วนหนึ่งในการสืบสานประเพณีรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส ถวายเทียนพรรษา ไหว้ครูและทำบุญคณะ ให้คงอยู่ต่อไป
2 เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ ได้มีความตระหนักการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี นักศึกษาและบุคลากรของคณะฯ ได้มีความตระหนักการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
3 เพื่อพัฒนาฐานเรียนรู้ด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน ให้สามารถความรู้ทางด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน สำหรับเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป ได้มีการพัฒนาฐานเรียนรู้ด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน ให้สามารถความรู้ทางด้านวิถีชีวิตประมงพื้นบ้าน สำหรับเกษตรกร นักเรียน นักศึกษา บุคคลทั่วไป
4 เพื่อส่งเสริมการบูรณาการเรียนการสอนการเข้ากับการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผู้สอนในรายวิชา จป 111 การประมงทั่วไป ได้จัดการเรียนการสอน โดยบูรณาการกับงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม โดยเน้นการใช้เครื่องมือประมงพื้นบ้านตามท้องถิ่นนั้น ๆ
5 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้รับความรู้ด้านประกันคุณภาพการศึกษาและความรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนานักศึกษา นักศึกษาได้รับความรู้ด้านประกันคุณภาพการศึกษาและความรู้ด้านการส่งเสริมพัฒนานักศึกษา
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมดำหัวผู้อาวุโส
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 25 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 380 100
2. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.84 100
3. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.64 100
4. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 2 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมการถวายเทียนพรรษา
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 25 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 520 100
2. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.26 100
3. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.15 100
4. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 3 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมไหว้ครูและทำบุญคณะและอุทิศส่วนกุศลให้สัตว์ทดลอง
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 100 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 427 100
2. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
3. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.32 100
4. ระดับความรู้ที่ได้รับหลังเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 3.93 100
5. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.29 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 4 : ผู้เข้าร่วมโครงการได้ตระหนัก และมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม : กิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการพัฒนาจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนรายวิชาที่มีการบูรณางานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมไทยและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เชิงปริมาณ วิชา 2 1 50.00
2. ร้อยละของกิจกรรมที่แล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
3. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.26 100
4. ระดับความรู้ที่ได้รับหลังเข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการเรียนการสอนกับทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.58 100
5. ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.43 100
6. ระดับความรู้ที่ได้รับหลังเข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.22 100
7. จำนวนองค์ความรู้ด้านวิถีประมงพื้นบ้าน
เชิงปริมาณ องค์ความรู้ 5 13 100
8. จำนวนผู้เข้าชมจุดแสดงวิถีประมงพื้นบ้าน (จากผู้เข้าชม 120 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 96.66 100
9. ระดับความตระหนักถึงการมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.29 100
10. ร้อยละของผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากผู้เข้าร่วม 80 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 182.5 100
รวม      95.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 98.75
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
12/12/2559  - 29/09/2560 12/12/2559  - 29/09/2560
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ