โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสู่ความเป็นเลิศ
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย 2 กิจกรรม ดังนี้
1. กิจกรรมเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอกมาบรรยายพิเศษ
ผลการดำเนินงาน : คณะฯ ได้มีการจัดกิจกรรมเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอกมาบรรยายพิเศษ จำนวน 6 ครั้ง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
o ครั้งที่ 1 : คณะฯ ได้เชิญ อาจารย์ ดร.ธนัสพงษ์ โภควนิช บุคลากรจากภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษให้แก่นักศึกษาในรายวิชา จป 112 สมุทรศาสตร์เบื้องต้นทางการประมง เพื่อให้นักศึกษาได้ทราบและเข้าใจถึงเนื้อหาในรายวิชา โดยวิทยากรได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษา ดังนี้
- กลไกการเกิดน้ำขึ้น-น้ำลง (Tidal generation mechanism)
- หลักการพยากรณ์น้ำขึ้น-น้ำลงจากวิธีฮาโมนิกส์ (Tidal prediction by harmonic analysis)
- หลักการอุทุกพลศาสตร์ของน้ำในทะเลและชายฝั่งทะเล (Principle of hydrodynamics of coastal and marine water)
o ครั้งที่ 2 : คณะฯ ได้จัดการบรรยายพิเศษเรื่อง Possible Effects of Global Warming on Freshwater Aquaculture โดย Professor Emeritus Claude E. Boyd จาก School of Fisheries, Aquaculture and Aquatic Sciences, Aubum University, Alabama, USA ใน วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2560 เวลา 10.00-12.00 น. ณ ห้อง FT 1101 คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังการบรรยายทั้งหมด จำนวน 85 คน
o ครั้งที่ 3 : คณะฯ ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ตลอดจนเกษตรกรผู้เลี้ยงปลานิล จำนวน 5 คน มาร่วมเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และให้ความรู้แก่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากรของคณะฯ และเกษตรกรที่เข้าร่วมกิจกรรม โดยทราบถึงประวัติความเป็นมาของปลานิลใน
ประเทศไทย การเพาะเลี้ยง ทิศทางการตลาด การแปรรูปผลิตภัณฑ์จากปลานิล โดยสรุปได้ดังนี้
1. การสร้างพ่อค้าในชุมชนเพื่อให้สามารถกำหนดราคาผลผลิตที่เป็นธรรมต่อผู้เลี้ยงได้เอง
2. การสร้างเครือข่ายผู้เลี้ยงปลาในชุมชนเพื่อสร้างความยั่งยืนและมีส่วนแบ่งการตลาดของชนิดปลาที่เลี้ยงอย่างสมดุล ยกตัวอย่าง กลุ่มสันทรายแบ่งส่วน
การตลาดโดยการรับซื้อผลผลิตปลานิลร่วมกับปลาดุก
3. การสนับสนุนสถานศึกษาให้กำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนที่มีแนวทางด้านการตลาดและนวัตกรรม เพื่อรองรับการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการด้านการประมงในอนาคต
4. การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการประมงควรมีแผนประเมินความต้องการของผู้บริโภคก่อนให้การสนับสนุนหรือขับเคลื่อนนโยบาย เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนการผลิตปลาอินทรีย์กับมูลค่าผลผลิตที่ได้
5. การดำเนินงานภาคเอกชนใช้ระบบกลไกทางการตลาดในการปรับแผนในการผลิตปลานิลเป็นสำคัญ เนื่องด้วยระบบบริหารจัดการไม่สามารถหยุดหรือเลิกกิจการระหว่างรอบการผลิตได้ เพราะในตลาดปลานิลยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและเมื่อสร้างธุรกิจให้อยู่ในระดับของความยั่งยืนก็จะเป็นความมั่นคงของครอบครัวต่อไป
o ครั้งที่ 4 : คณะฯ ได้เชิญ ดร.พินิจ กังวานกิจ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) มาเป็นวิทยากรแนะแนวการฝึกงานในบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ ณ ประเทศฟิลิปปินส์ โดยได้พบปะผู้บริหารของคณะและร่วมหารือแนวทางการส่งนักศึกษาฝึกงานในอนาคต และวิทยากรได้แนะนำประวัติและลักษณะการประกอบธุรกิจของบริษัท และสภาพภูมิประเทศของประเทศฟิลิปปินส์ ให้แก่นักศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการฝึกงานสหกิจศึกษาต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นผู้สัมภาษณ์นักศึกษาเพื่อเข้ารับการฝึกงานโดยให้นักศึกษาแนะนำตนเองและตอบคำถามที่เกี่ยวข้องทางการประมงเป็นภาษาอังกฤษ โดยในปีการศึกษา 2560 มีนักศึกษาได้รับการคัดเลือกให้เข้ารับการฝึกงาน ณ Charoen Pokphand Foods Philippines Corporation ประเทศฟิลิปปินส์ จำนวน 2 คน เนื่องจากทางสถานประกอบการมีข้อจำกัดด้านที่พักอีกทั้งยังต้องรับนักศึกษาจากสถาบันอื่นเข้ารับการฝึกงานด้วย
o ครั้งที่ 5 : คณะฯ ได้เชิญรองศาสตราจารย์ ดร.วราห์ เทพาหุดี บุคลากรในสังกัดภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “แนวทางการพัฒนาการเลี้ยงกุ้งและสัตว์น้ำสู่ระบบการเลี้ยงแบบ 4.0” โดยวิทยากรได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษา เรื่อง สถานการณ์ สภาพปัญหา และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทางการเพาะเลี้ยงกุ้ง และการทำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในการเพาะเลี้ยงกุ้งเพื่อการเพาะเลี้ยงกุ้งอย่างเป็นระบบตอบสนองนโยบายของประเทศในการเข้าสู่การเกษตรแบบ 4.0
o ครั้งที่ 6 : คณะฯ ได้เชิญ อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง บุคลากรจากภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การกัดเซาะชายฝั่งและสถานการณ์ทรัพยากรทางทะเลไทย” โดยวิทยากรได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักศึกษา ดังนี้
- สถานการณ์ระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเกิดการกัดเซาะชายฝั่งส่งผลให้ภูมิประเทศเปลี่ยนแปลงไป
- ความสำคัญของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ ทางการค้า การขนส่ง การท่องเที่ยว การทำประมงที่ผิดกฎหมายของบริษัทใหญ่และชาวประมงพื้นบ้านซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งเป็นอย่างมากในปัจจุบัน
- ปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นทางทะเลและชายฝั่งทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้นตลอดจนทัศนคติของมนุษย์ที่มุ่งแสวงหาผลประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแต่ไม่ได้ฟื้นฟูและไม่คำนึงถึงผลกระทบในระยะยาว

2. กิจกรรมเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ทางการประมงและทรัพยากรทางน้ำระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษา
ผลการดำเนินงาน : กิจกรรรมเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ทางการประมงและทรัพยากรทางน้ำระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาสู่ความเป็นเลิศเป็นกิจกรรมที่นำนักศึกษาไปศึกษาดูงานนอกสถานที่ โดยมีการจัดกิจกรรมจำนวน 2 ครั้ง ซึ่งกลุ่มเป้าหมายคือนักศึกษาในระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา โดยมีรายละเอียด ดังนี้
o ครั้งที่ 1 : กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี
ผลการดำเนินงาน : คณะฯ ได้นำนักศึกษาระดับปริญญาตรีเข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดตาก จ.ตาก เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 โดยนำนักศึกษาในรายวิชา พล 421 การเพาะเลี้ยงกุ้ง ไปศึกษาดูงานเรื่องการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม และสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงนอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็น 2 กลุ่ม เพื่อศึกษาดูงานและรับความรู้จากวิทยากร ดังนี้
1. การเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม โดยมี คุณจีรศักดิ์ สมทรง นักวิชาการประมงชำนาญการ เป็นวิทยากรได้บรรยายถึงชีววิทยาของกุ้งก้ามกราม การเพาะและอนุบาล คุณภาพในบ่อเลี้ยง โรค และการตลาด
2. การเพาะเลี้ยงปลานิล โดยมี คุณพรณิชา ปิตตาทะโน นักวิชาการประมงชำนาญการ เป็นวิทยากรได้บรรยายถึงการเพาะและอนุบาล คุณภาพน้ำ และการจัดการโรงเพาะฟัก
โดยกิจกรรมในครั้งนี้ คณะได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณเอกพจน์ เจริญศิริวงศ์ธนา ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดตาก ซึ่งเป็นศิษย์เก่าของคณะ (ศิษย์เก่าแม่โจ้ รุ่น 49, ศิษย์เก่าประมง รุ่นที่ 1) นอกจากนี้ นักศึกษายังได้พบกับศิษย์เก่าของคณะที่เป็นบุคลากรในศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดตากได้แก่ นางสาววราลักษณ์ พลูเลิศ พนักงานผู้ช่วยประมง ซึ่งเกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนะนำอาชีพให้แก่รุ่นน้องอีกด้วย
นอกจากนี้เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมผู้รับผิดชอบโครงการได้ให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการสรุปความรู้และประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ พบว่า นักศึกษาทุกคนมีความรู้เพิ่มขึ้นและเกิดความเข้าใจมากขึ้นในด้านการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ นอกเหนือจากการเรียนในชั้นเรียน และได้เห็นตัวอย่างและได้เห็นของจริงประกอบกับการบรรยายและสอบถามจากวิทยากรทำให้ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการทำกิจกรรมร่วมกันในหมู่คณะก่อให้เกิดความสามัคคี และเกิดแรงบันดาลใจในการประกอบอาชีพในอนาคต
o ครั้งที่ 2 : กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ผลการดำเนินงาน : กิจกรรมเสริมความรู้ สร้างทักษะและประสบการณ์ทางการประมงและทรัพยากรทางน้ำให้นักศึกษา เป็นกิจกรรมที่เพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ทางด้านการประมง อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน และการประกอบอาชีพในอนาคตให้แก่นักศึกษา โดยกิจกรรมดังกล่าวได้นำนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เข้าศึกษาดูงานในจังหวัดเพชรบูรณ์ ระหว่างวันที่ 13-15 พฤษภาคม 2560 ซึ่งรายละเอียดของกิจกรรม ประกอบด้วยการฟังบรรยายพิเศษ การศึกษาดูงานทางด้านการเพาะเลี้ยงปลาในบ่อดินและในกระชัง การดำเนินธุรกิจ และการตลาด รวมไปถึงอุปสรรค ปัญหาและวิธีแก้ไขในการเพาะเลี้ยงปลาทับทิมในบ่อดินและกระชัง โดยมีรายละเอียดการทัศนศึกษาดูงาน ณ สถานที่ต่างๆดังนี้
1. การจัดการแหล่งน้ำและการจัดการฟาร์ม การเลี้ยงปลาทับทิมในบ่อดินและในกระชังของ มิตรชัยฟาร์ม ที่ตั้ง 142 ม.4 ต.นาแซง อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์
2. เข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดจังหวัดเพชรบูรณ์ อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ. เพชรบูรณ์
3. เดินทางเข้าศึกษาดูงานเกี่ยวกับการจัดการธุรกิจประมงฟาร์มเลี้ยงปลาเนื้อ ณ ไร่กำนันจุล ต.วังชมภู อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ. เพชรบูรณ์
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และทักษะอื่นๆ ให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีทั้งในระดับชาติและนานาชาติ นักศึกษาในระดับปริญญาตรีของคณะฯ ได้รับความรู้และประสบการณ์ด้านการเพาะเลี้ยงปลานิล กุ้งก้ามกราม จากการถ่ายทอดของวิทยากรและได้รับประสบการณ์ตรงจากการศึกษาดูงานทำให้มีความเข้าใจในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำโดยเฉพาะกุ้งก้ามกรามมากยิ่งขึ้น นักศึกษาได้รับความรู้ถึงการเพาะเลี้ยง คุณภาพน้ำ อาหาร โรค และการตลาดที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการศึกษาวิชาการเพาะเลี้ยงกุ้ง ตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพในอนาคต
2 เพื่อเป็นการเสริมสร้างและพัฒนาทักษะทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และทักษะอื่นๆ ให้แก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ตรงจากการเข้าไปศึกษาดูงานจากสถานประกอบการจริง ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อมมาใช้ประโยชน์ในการเรียนและเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพในอนาคต
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : นักศึกษาได้พัฒนาศักยภาพเพื่อความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และทักษะอื่นๆ : กิจกรรมเชิญผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภายนอกมาบรรยายพิเศษ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ระดับการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.3 100
2. ระดับความพึงพอใจโดยรวมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.28 100
3. ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากจำนวน 300 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 164.33 100
4. ร้อยละของกิจกรรมเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 2 : นักศึกษาได้พัฒนาศักยภาพเพื่อความเป็นเลิศทางด้านวิชาการ วิชาชีพ และทักษะอื่นๆ : กิจกรรมเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ทางการประมงและทรัพยากรทางน้ำระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม (จากจำนวน 100 คน)
เชิงปริมาณ ร้อยละ 80 100 100
2. ร้อยละของกิจกรรมเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 100 100 100
3. ระดับการนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.53 100
4. ระดับความพึงพอใจโดยรวมของผู้เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงคุณภาพ คะแนน 3.51 4.43 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 100.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
28/11/2559  - 29/09/2560 01/05/2560  - 31/08/2560
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ