โครงการแข่งขันทักษะสัตวศาสตร์ กีฬาสัมพันธ์ และนันทนาการ
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมกีฬาสัตวศาสตร์สัมพันธ์ ได้ดำเนินการแข่งขันรอบคัดเลือกระหว่างวันที่ 18-20 มกราคม 2560 และรอบชิงชนะเลิศในวันที่ 22 มกราคม 2560 ณ คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 351 คน และมีการแข่งขันกีฬาต่างๆ ดังนี้ 1.ฟุตซอล 2.เปตอง 3. เซปรักตะกร้อ 4.เทเบิลเทนนิส และ 5.วอลเล่ย์บอล
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมกีฬาแม่โจ้สัมพันธ์ ครั้งที่ 43 ดำเนินการแข่งขันในรหว่างวันที่ 26 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ 2560 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีคณะฯ และวิทยาลัยต่างๆ เข้าร่วมจำนวน 13 คณะ และ 2 วิทยาลัย มีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมด 2,500 คน เป็นนักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 220 คน และมีการจัดแข่งขันกีฬาทั้งหมด 8 ประเภท ได้แก่ 1.ฟุตบอล 2.บาสเกตบอล 3.หมากล้อม 4.เทเบิลเทนนิส 5.วอลเล่ย์บอล 6.กรีฑา 7.เปตอง และ 8.ว่ายน้ำ
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมแข่งขันทักษะเกษตรแม่โจ้ (สัตวศาสตร์) ได้จัดกิจกรรมวันที่ 19 พฤศจิกายน 2559 ณ อาคารแผ่พืชน์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยมีสโมสรนักศึกษาคณะผลิตกรรมการเกษตร สโมสรนักศึกษาคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมและได้ส่งตัวแทนนักศึกษาที่มีความสามารถทางทักษะทางการเกษตรเข้าร่วมขัน เพื่อคัดเป็นตัวแทนเข้าร่วมแข่งขันในงานประเพณี 4 จอบ แห่งชาติ ครัง้ที่ 34 ประจำปี 2559
กิจกรรมที่ 4 ได้จัดกิจกรรมในวันที่ 12 มีนาคม 2560 ณ อาคารสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นการเเสดงความยินดีต้อนรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ได้เข้ามาศึกษาในคณะสัตวศาสตร์ และร่วมแสดงความยินดีกับนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่สำเร็จการศึกษา โดยมี อ.ดร.วินัย โยธินศิริกุล เป็นประธานในพิธีเปิด
กิจกรรมที่ 5 ยกเลิกการจัดกิจกรรม
กิจกรรมที่ 6 ประกวดดาว-เดือน ประจำปี 2560 ได้จัดขึ้นในวันที่ 21 มิถุนายน 2560 ณ ห้องประชุมใหญ่คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อคัดเลือกตัวแทนนักศึกษาเข้าร่วมการประกวดในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป โดยผลการประกวดมี ดังนี้ 1.นายปฐมพงศ์ แสงโสดา สาขาโคนมและโคเนื้อ 2.นางสาวพิมลนาฎ ศรีพนามน้อย สาขาสัตว์ปีก และ 3.นายมอนหลาว ลุงสุ สาขาสัตวศาสตร์ ได้เป็นตัวแทนเข้าร่วมประกวดในระดับมหาวิทยาลัย
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษารู้รักสามัคคี รู้แพ้ รู้ชนะ รุ้อภัย และสามารถดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข นักศึกษาที่เข้าร่วมแข่งขันรู้จักการรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย โดยนักศึกษาได้เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาต่างๆ
2 เพื่อเป็นการบูรณาการเรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ รวมถึงการเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษา นักศึกษาที่ง 3 คณะฯ ได้ร่วมมือกันวางแผนการทำงาน ทำให้เกิดความสามัคคีเพิ่มมากยิ่งขึ้น
3 เพื่อเป็นการคัดตัวแทนนักศึกษาที่มีความสามารถทางทักษาะเกษตรเข้าร่วมแข่งขันกีฬางานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ได้คัดเลือกตัวแทนนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันในงานประเพณี 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 34 จำนวน 5 ทักษะ ดังนี้ 1.ทักษะการตอนสุกร 2.ทักษะรีดเต้านมเทียม 3.ทักษะการตัดแต่งซากสัตว์ปีก 4.ทักษะการวิเคราะห์อาหารสัตว์ และ 5.ทักษะการคล้องโคและล้มโค
4 เพื่อเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาในสังกัดสโมสรนักศึกษาทำงานซึ่งเป็นบ่อเกิดของความสามัคคี นักศึกษาทุสาขา ทุกชั้นปีมีความสามัคคีเพิ่มมากขึ้น จากการร่วมกันแข่งขันกีฬาในประเภทต่างๆ
5 เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกฝนจากประสบการณ์จริง ซึ่งสามารถพัฒนาศักยภาพในการการทำงานที่จะออกไปรับใช้ช่วยเหลือสังคมในอนาคตต่อไป นักศึกษาได้ประสบการณ์จากการทำงาน และได้เรียนรู้วิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี
6 เพื่อเป็นการแสดงความยินดีให้กับนักศึกษารุ่นน้องชั้นปีที่1 ที่จะเข้ามาศึกษาใน คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี และนักศึกษารุ่นพี่ชั้นปีที่ 4 ที่จะสำเร็จการศึกษา ประจำปี 2559 นักศึกษาทุกชั้นปี ได้ร่วมแสดงความยินดีกับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่ได้เข้ามาศึกษาในคณะสัตวศาสตร์ฯ และพี่ๆ ชั้นปีที่ 4 ก่อนสำเร็จการศึกษา
7 เพื่อค้นหาตัวแทนนักศึกษาที่จะไปเป็นตัวแทนการประกวดระดับมหาวิทยาลัย ได้ตัวแทนเข้าร่วมการประกวดระดับมหาวิทยาลัย ดังนี้ 1.นายปฐมพงศ์ แสงโสดา สาขาโคนมและโคเนื้อ 2.นางสาวพิมลนาฎ ศรีพนามน้อย สาขาสัตว์ปีก และ 3.นายมอนหลาว ลุงสุ สาขาสัตวศาสตร์
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : สัตวศาสตร์สัมพันธ์ ครั้งที่ 4
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. นักศึกษาที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้เป็นตัวแทนเข้าร่วมการแข่งขันในระดับ มาหาวิทยาลัย
เชิงคุณภาพ คน 20 51 100
2. การดำเนินงานสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 90 100 100
3. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 240 351 100
4. ระดับความสำเร็จในการใช้จ่ายงบประมาณเปรียบเทียบกับผลผลิตที่ได้รับ
เชิงต้นทุน ระดับ 4 4 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 2 : กีฬาแม่โจ้สัมพันธ์ ครั้งที่ 43
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 240 220 91.67
2. นักศึกษาได้รับรางวัลจากการชนะการแข่งขัน
เชิงคุณภาพ คน 10 15 100
3. ระดับความสำเร็จในการใช้จ่ายงบประมาณเปรียบเทียบกับผลผลิตที่ได้รับ
เชิงต้นทุน ระดับ 4 4 100
4. การดำเนินงานสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 90 100 100
รวม      97.92
ผลผลิตที่ 3 : ทักษะเกษตรแม่โจ้
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. คัดเลือกตัวแทนนักศึกษาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬา 4 จอบแห่งชาติ
เชิงคุณภาพ คน 10 10 100
2. การดำเนินงานสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 90 100 100
3. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 240 244 100
รวม      100.00
ผลผลิตที่ 4 : กิจกรรมเฟรชชี่และบายเนียร์
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ความพึงใจของผู้เข้าร่วม
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 64.2 80.25
2. การดำเนินงานสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 90 100 100
3. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 500 325 65.00
4. การดำเนินงานสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 90 100 100
รวม      86.31
ผลผลิตที่ 5 : เข้าร่วมโครงการงานวันเด็กแห่งชาติ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การดำเนินงานสำเร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 90 0.00
2. จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 100 0.00
3. ความพึงใจของผู้เข้าร่วม
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 0.00
รวม      0.00
ผลผลิตที่ 6 : ประกวดดาว-เดือน
-- ยังไม่มีข้อมูลตัวชี้วัด --
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 64.04
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
21/11/2559  - 30/09/2560 18/01/2560  - 21/06/2560
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ