โครงการพัฒนานักศึกษาและเครือข่ายศิษย์เก่า
ส่วนที่ 1 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้ » คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี
ส่วนที่ 2 สรุปผลการดำเนินการ
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมการแข่งขันทักษะวิชาชีพในกีฬา 4 จอบแห่งชาติ ครั้งที่ 34 จัดขึ้นในวันที่ 22 – 27 ธันวาคม 2559 ณ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี โดยมีคณะผลิตกรรมการเกษตร, คณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้เข้าร่วมการแข่งขัน โดยคณะสัตวศาสตร์และเทคโนโลยีได้ส่งอาจารย์ จำนวน 4 คน, เจ้าหน้าที่ จำนวน 5 คน และนักศึกษาจำนวน 25 คน เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ และได้รับรางวัลจากการแข่งขัน ดังนี้
1. ทักษะการรีดเต้านมเทียม โดยนายณรงค์ศักดิ์ บุญส่ง ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับที่ 2
2. ทักษะการตอนสุกร โดยนายพงษ์สยาม และนางสาวสุกัญญา เขี่ยนแก้ว ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับที่ 1
3. ทักษะการตัดแต่งซากสัตว์ปีก โดยนาย สมเกียรติ เลาลี และนางสาวดาวเรือง นิลบุญ ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับที่ 2
4. ทักษะการคล้องโคและล้มโค โดยนายวรนาถ จารี, นายณรงค์ฤทธิ์ เกษมสุขไพศาล, นาย กฤษดา แสวงวงค์ และนางสาว อภิญญา เวโสวา ได้รับรางวัลเหรียญทองอันดับที่ 1
กิจกรรมที่ 2 เข้าร่วมงานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจำปี 2560 จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 29 - 31 มกราคม 2560 ในงานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจำปี 2560 ณ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี โดยมีนายอภิชาติ หมั่นวิชา นักวิชาการสัตวบาล ได้นำนายพงศกร กิติ นักศึกษาสาขาวิชาสัตวศาสตร์ (โคนมและโคเนื้อ), นายธีรพงษ์ สีหะวงศ์ และนางสาวมุจรินทร์ สุขรี่ ศิษย์เก่าสาขาวิชาสัตวศาสตร์(โคนามและโคเนื้อ) เข้าร่วมพิธีการรับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร
กิจกรรมที่ 3 ประชุมร่วมกับศิษย์เก่าฯ ได้จัดขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2560 ณ ห้องประชุมใหญ่คณะสัตวศษสตร์และเทคโนโลยี เพื่อหารือและชี้แจงการเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรมศิษย์เก่าฯ และดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้แก่ศิษย์เก่าได้ทราบ ก่อนการเริ่มฝึกซ้อมพิธีพระทานปริญญาบัตร
กิจกรรมที่ 4 อบรมภาวะผู้นำ ได้ดำเนินการในระหว่างวันที่ 16-17 กันยายน 2560 ณ ค่ายลูกเสือชุ่มจิตต์ ต.แม่แฝก อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประภากร ธาราฉาย เป็นประธานในพิธีเปิด ซึ่งได้รับเกียรติจากทีมงานวิทยากรจากบริษัทเครือเบทาโกร ประกอบด้วย 1.ดร.ธนัชพร พรหมทันต์ ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายบริหารกำลังคน, 2.นายณัฐวัยวัฒน์ ลาลูนพงศ์เดชชัย, 3.นายนววิธ พบสุข, 4.น.ส.อารีรัตน์ ภาคะ, 5.นายกฤษฎา สุขพาณิชยิ่งยง, 6.นายฉัตรชัย เกียรติวีระสกุล ดูแลกิจกรรมโดย 1.สพ.ญ.ดร.กฤดา ชูเกียรติศิริ, 2.อาจารย์ ดร.จุฬากร ปานะถึก, 3.อาจารย์ ดร.อานนท์ ปะเสระกัง, 4.อาจารย์ ดร.มงคล ยะไชย, 5.อาจารย์ยุทธนา สุนันตา, 6.อาจารย์สุรีรัตน์ ถือแก้ว 7.นางสาวศิวริน จักรอิสราพงศ์ และ 8.นางสาวพัชรกิต วัชรปรีชา
ส่วนที่ 3 ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์โครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ความสำเร็จ
1 เพื่อสนับสนุนให้มีการเรียนการสอน แบบการมีส่วนร่วมจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกองค์กร และชุมชน นักศึกษาได้พัฒนาตนเองด้านต่าง ๆ โดยการร่วมทำกิจกรรม DISC การเรียนรู้ตนเองโดยเปรียบเทียบกับลักษณะของสัตว์ต่างๆ และกิจกรรมการเรียนรู้คุณลักษณะของตนเอง 3 habit and Growth mindset โดยทีมงานวิทยากรบริษัทเครือเบทาโกร
2 เพื่อพัฒนาเครือข่ายศิษย์เก่าให้มีส่วนร่วมกับคณะฯ ศิษย์เก่าได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับคณะฯ
3 เพื่อพัฒนาทักษะทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ ได้พัฒนาทักษะทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ โดยนักศึกษาสามารถประยุกต์ทักษะด้านวิชาการและวิชาชีพเพื่อใช้ในการแข่งทักษะต่างๆ ที่เข้าร่วม
4 เพื่อตอบสนองผลการเรียนรู้ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 1.นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมได้แสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจนกระทั้งได้รับรางวัลพระราชทานฯ
2.นักศึกษาที่เข้าร่วมได้ทำกิจกรรมต่างๆที่ทางมหาวิทยาลัยเจ้าภาพได้จัดเตรียมไว้ให้ ซึ่งในการทำกิจกรรมต่างๆนั้นก็จะทำร่วมกันกับมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมทั้ง 12 มหาวิทยาลัย อาทิเช่น กิจกรรมอาสาพัฒนา, การแข่งขันกีฬาสากล, การประกวดกองเชียร์ เป็นต้น ซึ่งเป็นการตอบสนองผลการเรียนรู้ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา และด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
ส่วนที่ 4 รายงานผลความสำเร็จตามเป้าหมายตัวชี้วัด
ผลผลิตที่ 1 : บัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. ร้อยละของความรู้และทักษะที่เพิ่มขึ้นของนักศึกษา
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 83.6 100
2. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงปริมาณ คน 30 25 83.33
3. จำนวนนักศึกษาที่ได้รับรางวัล
เชิงปริมาณ รางวัล 3 4 100
รวม      94.44
ผลผลิตที่ 2 : ทักษะทางวิชาชีพด้านสัตวศาสตร์
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. การดำเนินงานแล้วเสร็จตามกำหนดเวลา
เชิงเวลา ร้อยละ 90 100 100
2. จำนวนนักศึกษาที่ได้รับรางวัล
เชิงปริมาณ คน 3 3 100
3. นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้/ทักษะวิชาชีพด้านสัตวศาสตร์เพิ่มมากขึ้น
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 72.61 100
4. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงปริมาณ คน 50 3 6.00
รวม      76.50
ผลผลิตที่ 3 : ศิษย์เก่าสัมพันธ์
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. จำนวนศิษย์เก่าที่เข้าร่วมกิจกรรม
เชิงปริมาณ คน 120 125 100
2. ร้อยละของความพึงพอใจของศิษย์เก่าที่เข้าร่วมโครงการ
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 80 75.31 94.14
รวม      97.07
ผลผลิตที่ 4 : อบรมภาวะผู้นำ
ตัวชี้วัดประเภทหน่วยนับเป้าหมายผลลัพธ์ความสำเร็จ
1. โครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
เชิงเวลา ร้อยละ 80 100 100
2. จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
เชิงปริมาณ คน 150 173 100
3. นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความเป็นผู้นำเพิ่มขึ้น
เชิงคุณภาพ ร้อยละ 70 89.8 100
4. ระดับความสำเร็จในการใช้จ่ายงบประมาณเปรียบเทียบกับผลผลิตที่ได้รับ
เชิงต้นทุน ระดับ 4 4 100
รวม      100.00
ร้อยละความสำเร็จของการดำเนินโครงการตามตัวชี้วัดมีค่าเท่ากับ 92.00
ส่วนที่ 5 ช่วงวันที่ดำเนินงาน
ช่วงเวลาตามแผน ช่วงเวลาดำเนินงานตามจริง
28/11/2559  - 30/09/2560 22/12/2559  - 17/09/2560
ส่วนที่ 6 ภาพประกอบการทำโครงการ