โครงการกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันภัยไข้เลือดออก

วันที่เริ่มต้น 03/07/2566 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 29/09/2566 เวลา 0:00
สถานที่จัด ไม่ระบุ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นหน่วยงานสังกัดสถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่ในการดำเนินกิจกรรมด้านการเรียนการสอน การให้บริการวิชาการและวิจัย เพื่อรองรับการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านการประมงนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนตามขั้นตอนของหลักสูตร มุ่งเน้นความต้องการที่สอดรับกับการพัฒนาสังคมอย่างรู้เท่าทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้เป็นนักปฏิบัติมืออาชีพในสาขาวิชาและทันต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 และสร้างความเป็นผู้ประกอบการ ตามบริบทของแต่ละหน่วยงาน ว่าด้วยการสร้างและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการเกษตรและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เพื่อการเรียนรู้และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่สังคม พัฒนามหาวิทยาลัยให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านการเกษตรเพื่อเป็นที่พึ่งของตนเองและสังคม ตามแผนพัฒนามหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2555 – 2569)
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาด้านสุขภาพ คณะฯ จึงให้ความสำคัญกับปัญหา โรคไข้เลือดออก ซึ่งเป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค โดยใช้การกำจัดวงจรชีวิตของยุงที่อาศัยระบบนิเวศในแหล่งน้ำที่มีน้ำขังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนในระหว่างเดือนพฤษภาคม - ตุลาคม มาตรการกำจัดลูกน้ำยุงลายโดยวิธี "ชีววิธี" (Biocontrol) จึงถูกนำมาใช้ในการกำจัดไข่ยุง โดยการเลือกใช้ปลากินยุงที่เพาะและขยายพันธุ์ได้ง่าย ในระยะเวลาสั้นๆ จึงเป็นทางเลือกทางหนึ่งที่สำคัญและยั่งยืน ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก อีกทั้งยังสามารถลดการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดลูกน้ำยุงลายอันจะส่งผลอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ในแหล่งน้ำ ซึ่งเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมแบบประหยัดต้นทุนได้
กลุ่มปลากินยุง เป็นชนิดปลาที่มีขนาดเล็ก แพร่ขยายพันธุ์ได้ง่าย มีอัตรารอดสูง เจริญเติบโตได้ในแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำปานกลาง - ดีมาก สามารถมีชีวิตอยู่ได้ทั้งใน น้ำสะอาด และ น้ำสกปรก ในธรรมชาติจะพบได้ทั่วไปตาม ลำห้วย หนองน้ำ สระน้ำ และ อ่าง เก็บน้ำ ชนิดที่นิยมได้แก่ ปลาแกมบูเซีย Gambusia affinis ปลาหางนกยูง Poecilia reticulata ปลาสอด Poecilia latipinna โดยปกติลักาณะสำคัญของกลุ่มปลากินยุง คือ เป็นชนิดที่ออกลูกเป็นตัว ลูกปลามีขนาดยาวประมาณ และสามารถกินลูกน้ำ(ลูกยุง)ได้ทันที โดยสามารถกินได้หลายร้อยตัวต่อวัน ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ประมาณ 1.5 – 2 เท่า วงจรชีวิตอยู่ระหว่าง 12 – 15 เดือน นอกจากกำจัดลูกน้ำยุงแล้ว ชนิดปลาเหล่านี้ยังกินแพลงก์ตอนพืชหรือสัตว์ ตะไคร่น้ำ ไดอะตอม ตัวอ่อนแมลงต่าง ๆ ได้ด้วย
ดังนั้นคณะฯ และสโมสรนักศึกษาคณะเทคโนโลยีการประมงฯ จึงเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการนำองค์ความรู้ทางด้านการประมง เช่น รายวิชาหลักการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ รายวิชาการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามเบื้องต้น มาบูรณาการกับกิจกรรมพัฒนานักศึกษาที่สอดคล้องกับคุณสมบัติของบัณฑิตที่พึ่งประสงค์ บูรณาการร่วมกับการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนและสังคมเพื่อเป็นห้องเรียนที่มีชีวิตให้แก่นักศึกษา ในรูปแบบการฝึกปฏิบัติการนอกห้องเรียน ปีงบประมาณ 2566 คณะเทคโนโลยีการประมงฯ จึงได้จัดทำ “โครงการกำจัดลูกน้ำยุงลายป้องกันภัยไข้เลือดออก” โดยมุ่งหวังให้เกิดการบริการวิชาการแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างผู้สอน (คณาจารย์ และบุคลากรของคณะฯ) ผู้เรียน (นักศึกษาสังกัดคณะฯ นิสิตและนักเรียนจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ) และผู้รับบริการจากหน่วยงานภายนอก (เกษตรกร สมาชิกกลุ่มงานเครือข่ายชุมชน และผู้สนใจทั่วไป) ได้รับความรู้ด้านการประมง เรียนรู้ฝึกปฏิบัติกิจกรรมทางการประมง เกิดทักษะการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนต่อไป
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด 3  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 80 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   ไม่ระบุ คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
1. ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 - 7 สิงหาคม 2566 บูรณาการร่วมกับรายวิชาปฏิบัติงานฟาร์ม 3 ของนักศึกษาคณะเทคโฯโลยีการประมงฯ ในการจัดเตรียมสถานที่เพื่อการเพาะพันธุ์ปลากินยุง
2. ระหว่างวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 - 20 สิงหาคม 2566 มอบหมายหน้าที่มห้สโมสรนักศึกษา คณะเทคโนโลยีการประมงฯ นำโดย นายจิณวัตน์ ม่วงมี รองนายกสโมสรนักศึกษาฯ ทำหน้าที่ในการรวบรวมพ่อแม่พันธุ์ปลากินยุง และปลาหางนกยูง จากแหล่งน้ำต่าง ๆ ตลอดจนการขอความอนุเคราะห์จากหน่วยงานภายนอกในการเข้าร่วมโครงการ
3. ประชาสัมพันธ์และให้ความรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากวิชาการด้านการประมงสู่การป้องกันไข้เลือดออก โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความรู้สู่ชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย และโรงเรียนภายใต้แผนงานบริการวิชาการของคณะฯ
4. วันที่ 25 สิงหาคม 2566 เริ่มรวบรวมลูกพันธุ์ปลากินยุงที่ได้จากการเพาะพันธุ์เพื่อนำสู่การอนุบาลและจัดทำแบบสำรวจความต้องการของผู้รับบริการที่มีความประสงค์ในการขอรับลูกพันธุ์ปลากินยุงไปเลี้ยงในพื้นที่อาศัยเพื่อใช้ปรธโยชน์ในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล