เมนู
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
มหาวิทยาลัยแม่โจ้
Maejo University
ติดต่อ
บุคลากร (เข้าสู่ระบบ)
หน้าหลัก
บุคลากร
พัฒนาบุคลากรและกิจกรรม
ถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2566
วันที่เริ่มต้น
26/07/2566
เวลา
8:30
วันที่สิ้นสุด
26/07/2566
เวลา
12:00
ทั้งวัน
สถานที่จัด
วัดแม่โจ้ ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย
ภายในสถาบัน
ในประเทศ
ต่างประเทศ
หน่วยงานที่จัด
ผู้รับผิดชอบ
ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก
คณะบริหารธุรกิจ
สาขา/กอง
หน่วยงานภายใน
ชื่อหน่วยงาน
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล
ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม, ประเพณีที่ดีงามของท้องถิ่นและอนุรักษ์ไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ ถือเป็นพันธกิจสำคัญประการหนึ่งของคณะบริหารธุรกิจ ดังนั้น คณะฯ จึงต้องมีระบบและกลไกควบคุมการดำเนินงานด้านนี้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และคุณภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนามาตรฐานการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5 ด้าน ได้แก่ มาตรฐานด้านนโยบาย ด้านการส่งเสริม ด้านการสนับสนุนด้านการสร้างมาตรฐาน และด้านการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม และเชื่อมโยงความรู้ท้องถิ่นสู่สากล อันจะเป็นกลไกในการฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม รวมทั้งสร้างสรรค์ส่งเสริมภูมิปัญญาไทยให้เป็นรากฐานการพัฒนาองค์ความรู้ที่ดีขึ้น
วันเข้าพรรษา ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี หรือราวเดือนกรกฎาคม วันเข้าพรรษาเป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝน มีกำหนด 3 เดือนตามพระวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมในที่อื่น เรียกกันโดยทั่วไปว่า “จำพรรษา” ซึ่งเป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย ตลอดจนเตรียมการสั่งสอนประชาชน ประโยชน์ของการเข้าพรรษาของพระภิกษุที่มีต่อพุทธศาสนิกชน คือ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนเข้าพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา ในวันเข้าพรรษานั้น จะมีการจัดพิธีการต่าง ๆ เช่น พิธีหล่อและแห่เทียนเข้าพรรษา พิธีถวายผ้าอาบน้ำฝน เป็นต้น พิธีหล่อเทียนเข้าพรรษา มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ครั้งโบราณ เพราะเมื่อสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าใช้อย่างในปัจจุบัน เวลาพระภิกษุสามเณรจะสวดมนต์ท่องจำตำรับตำรา ต้องอาศัยแสงสว่างจากคบ ตะเกียง และเทียนไข ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนถวาย โดยการเรี่ยไรขี้ผึ้งจากผู้มีจิตศรัทธา เมื่อมีมากพอแล้วจึงทำการหล่อที่วัดหรือสถานที่จัดงาน ทำการตกแต่งประดับประดาและแกะสลักลวดลายสวยงาม มีการประกวดประชันความสวยงามกันเป็นที่ครื้นเครง ก่อนถึงวันเข้าพรรษา 1 วัน จะจัดให้มีการฉลองต้นเทียน กลางคืนมีมหรสพสมโภช นิมนต์พระมาสวดเจริญพระพุทธมนต์ ซึ่งพิธีการเหล่านี้สุดแล้วแต่จะเห็นสมควร พอรุ่งเช้าเป็นวันเข้าพรรษา จึงทำการแห่ต้นเทียนไปถวายพระตามวัดต่าง ๆ แม้ในปัจจุบันบ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรืองมีไฟฟ้าใช้กันเป็นส่วนใหญ่แล้ว แต่ชาวบ้านก็ยังนิยมประกอบพิธีหล่อเทียนและ แห่เทียนเข้าพรรษากันอยู่ บางจังหวัดจัดเป็นงานประเพณียิ่งใหญ่ระดับประเทศ เช่น ที่จังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น อานิสงส์ของการหล่อเทียนหรือถวายเทียนพรรษาแก่พระภิกษุสงฆ์ ถือว่าจะทำให้เป็นผู้มีปัญญาดีเจริญก้าวหน้า เหมือนดังแสงเทียนที่ส่องสว่างในยามค่ำคืน ซึ่งพระภิกษุสงฆ์ในสมัยก่อนใช้เป็นแสงสว่างในการอ่านหนังสือธรรมะและประกอบกิจวัตรของสงฆ์ คณะบริหารธุรกิจ ได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงามนี้ ดังนั้น คณะบริหารธุรกิจ จึงได้จัดทำโครงการถวายเทียนพรรษา ประจำปี 256๖ ขึ้น เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษาได้ร่วมกันทำบุญไหว้พระตลอดจนได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเพณีการแห่เทียนเข้าพรรษา รวมทั้งเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกการทำงานร่วมกันซึ่งจะก่อให้เกิดความสามัคคีภายในคณะฯ อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ประเพณีอันดีงามนี้ให้คงอยู่ต่อไป
ภาวิณี จีปูคำ
(ผู้บันทึกข้อมูล)
ข้อมูลวันที่ :
25/07/2566 9:25
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่
1
รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน
ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
ไม่ระบุ
ระดับ
ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด
3
ชั่วโมง
วัน
เป้าหมายผู้เข้าร่วม
130
คน
จำนวนผู้เข้าร่วม
ไม่ระบุ
คน
ตอนที่
2
รายรับ-รายจ่าย
รายรับ
ไม่ระบุ
บาท
มูลค่ารายรับ
ไม่ระบุ
บาท
ค่าใช้จ่าย
ไม่ระบุ
บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย
ไม่ระบุ
บาท
ตอนที่
3
ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่
4
สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
สมรรถนะหลักของมหาวิทยาลัย
สมรรถนะประจำกลุ่มงาน
สมรรถนะของผู้บริหาร
ตอนที่
5
เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่
6
ภายใต้โครงการ
ถวายเทียนพรรษา ประจำปี 2566
ตอนที่
7
ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่
8
การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล