โครงการ Green Campus ปี 2563 เพื่อมุ่งสู่อนาคตสีเขียว กิจกรรมย่อยที่ 6 การทำปุ๋ยชีวภาพจากเศษอาหาร

วันที่เริ่มต้น 19/08/2563 เวลา 16:30 วันที่สิ้นสุด 19/08/2563 เวลา 19:30
สถานที่จัด หอพักนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
ขยะ คือ ทองคำ เป็นคำกล่าวของ ดร.สมไทย วงษ์เจริญ (2551) ในหนังสือคู่มือคัดแยกขยะประจำบ้าน ขยะที่ทุกคนคิดว่าเหม็น หลายอย่างมีค่าและสามารถนำมาเป็นเงินเป็นทอง สร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับคนมากมาย ดังนั้น “คนทันสมัยรู้คุณค่าของขยะ” (Modern man realizes value of waste) (สมไทย วงษ์เจริญ, 2551:123) ตลาดของขยะรีไซเคิลมีขนาดของตลาดที่กว้างทั้งในประเทศและต่างประเทศ และเป็นลักษณะของตลาดที่พิเศษที่สุด เนื่องจากเป็นสินค้าทรัพยากรที่ไม่พอขาย เป็นสินค้าที่ขาดตลาดอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นทรัพยากรรีไซเคิลที่นำกลับมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ได้ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนวัตถุดิบในการผลิต ประหยัดพลังงาน ลดความหายยะของโลกจากการใช้ทรัพยากรใหม่ๆ ที่ร่อยหรอลงทุกวัน
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดการขยะแบบครบวงจรรีไซเคิลเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ จากการสำรวจที่ผ่านมาในช่วงเดือนสิงหาคม 2561 พบว่า ขยะที่มีมากที่สุดในมหาวิทยาลัย คือ ขยะทั่วไป คิดเป็นร้อยละ 62.73 รองลงมา คือ ขยะย่อยสลายได้ คิดเป็นร้อยละ 30.0 ขยะอันตราย คิดเป็นร้อยละ 4.75 และน้อยที่สุด คือ ขยะรีไซเคิล คิดเป็นร้อยละ 2.59 นอกจากนี้การสำรวจยังพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ยังทิ้งขยะแบบไม่มีการแยกขยะออกเป็นประเภท ๆ เช่น ขยะเปียก ขยะทั่วไป ขยะรีไซเคิล และขยะอันตรายอย่างถูกต้อง เป็นการทิ้งแบบรวม ๆ กัน ก่อให้เกิดปัญหาในการจัดการขยะ เนื่องจากทัศนคติและการปลูกจิตสำนึกในการมองว่าขยะคือสิ่งมีค่า ยังไม่มากพอที่จะทำให้นักศึกษาสนใจในการคัดแยกขยะเพื่อนำมาสร้างรายได้ระหว่างเรียน ดังนั้นการที่จะปลูกฝังให้นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นคุณค่าขยะ จึงควรเริ่มดำเนินการด้วยการจัดโครงการกระตุ้นจิตสำนึกในการคัดแยกขยะโดยเริ่มที่บุคคล
ในปี 2563 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มีความประสงค์จะจัดทำโครงการ "Green campus 2563" เพื่อมุ่งสู่อนาคตสีเขียว โดยมีแผนปฏิบัติการในการกำจัดขยะมูลฝอยและขยะอันตรายอย่างยั่งยืนภายในมหาวิทยาลัย (Maejo Phrae Zero Waste) (พ.ศ.2562-2565) โดยมีเป้าหมายเพื่อจัดทำระบบการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพเป็นต้นแบบการจัดการขยะในพื้นที่จังหวัดแพร่ ลดปริมาณขยะเหลือทิ้งลดลงไม่น้อยกว่า 30% ในปี 2565 (เทียบกับปี 2560) ตลอดจนสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร Zero Waste บูรณาการการทำงานทุกภาคส่วน จัดการขยะตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง อันนำไปสู่การสร้างทัศนคติและปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการคัดแยกขยะเพื่อรีไซเคิลให้กับนักศึกษา บุคลากร ในมหาวิทยาลัย ตลอดจนมุ่งสร้างบัณฑิตที่สามารถจะนำความรู้ที่ได้รับจากหลักสูตรการเรียนรู้ในห้องเรียน มาใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ อื่นๆ
ปริมาณงานทั้งหมด 3  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 200 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   ไม่ระบุ คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล