โครงการสัมมนา เรื่อง “ ตีแตกกลยุทย์ ขุดแนวคิด ฝ่าวิกฤตกับคุณศิริวัฒน์ ”
-
วันที่เริ่มต้น 18/09/2562 เวลา 8:00 วันที่สิ้นสุด 18/09/2562 เวลา 12:00
สถานที่จัด ณ ห้องเอกภพวิทยา อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก คณะบริหารธุรกิจ สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
โครงการสัมมนา
ชื่อโครงการ : ตีแตกกลยุทย์ ขุดแนวคิด ฝ่าวิกฤตกับคุณศิริวัฒน์
หลักการและเหตุผล :
วิกฤตต้มยากุ้งเป็นวิกฤตการณ์ทางการเงินที่สาคัญ และส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจโลก โดยเริ่มจากการที่ประเทศไทยมีนโยบายการเปิดเสรีทางการเงินในช่วงปี ๒๕๓๕ โดยที่ในขณะนั้นดอกเบี้ย
เงินกู้ ของประเทศไทยอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง สถาบันทางการเงินของไทยจึงกู้เงินจากต่างชาติอย่างมหาศาลด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ถูกแล้วนาเงินที่ได้มาปล่อยกู้ต่อในประเทศต่อในอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่า แต่การกู้นี้
ส่วนใหญ่เป็นการกู้มาเพื่อเก็งทาให้มูลค่าของสินทรัพย์ เหล่านี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และสูงกว่ามูลค่าแท้จริงที่ควรจะเป็น โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากความผันผวนของการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยน
สาเหตุของปัญหาที่สาคัญของการเกิดวิกฤต มี ๒ สาเหตุ สาเหตุแรก คือรัฐบาลเลือกใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เพราะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจและช่วยสร้างความมั่นคงต่อการค้า แก่
การลงทุนระหว่างประเทศแต่ขาดอิสระในการดาเนินนโยบายการเงินในประเทศเนื่องจากคานึงถึงการรักษาอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลักซึ่งทาให้ George Soros ผู้จัดการกองทุนบริหารความเสี่ยง เห็นถึงความไม่
สอดคล้องของการเปิดเสรีทางการเงินและนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ จึงโจมตีค่าเงินบาทในช่วงปี ๒๕๔๐ โดยซื้อเงินดอลล่าในระบบส่วนใหญ่เก็บไว้ ทาให้ค่าสกุลเงินอื่นรวมถึงค่าเงินบาทลดลงอย่างต่อ
เนื่อง และสาเหตุที่ ๒ คือ ธนาคารแห่งประเทศไทยต้องการสร้างความมั่นใจในค่าเงินบาท จึงใช้เงินทุนสารองเงินตราต่างประเทศที่มีอยู่เพื่อรักษาค่าเงินบาทจนเกือบหมดคลั ง ทาให้ รั ฐ บาลไทยต้ องประกาศ
ลอยตัว ค่า เงินบาททันที จ ากวิ กฤตเศรษฐกิจครั้ งนี้ส่งผลถึงบริษัท และธุรกิจส่วนใหญ่เลิกจ้างพนักงาน ทาให้ลูกจ้างขาดรายได้ ครอบครัวต้องใช้จ่ายอย่างประหยัดบุตรหลานไม่สามารถเรียนต่อได้ เพราะพ่อแม่
ไม่มีเงินส่งเสีย ขณะที่บริษัทอสังหาริมทรัพย์ ที่ดิน บ้าน คอนโดอุตสาหกรรมใหญ่ๆ และสถาบันการเงินต่างๆต้องปิดกิจการลงเพราะลูกค้าส่วนใหญ่ คือพนักงานเงินเดือนที่ถูกเลิกจ้างรวมถึงนักลงทุนในตลาดหุ้นที่
ล้มละลายด้วย บริษัทหลายแห่งมีหนี้ท่วมหัว ผู้ประกอบการบางคนถึงขั้นฆ่าตัวตาย เนื่องจากรับภาระไม่ไหวแต่บางคนก็ลุกขึ้นสู้และผ่านช่วงวิกฤตนั้นมาได้คุณศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ คือหนึ่งบุคคลที่เผชิญกับปัญหา
นี้โดยตรงเขาเป็นอดีตเซียนหุ้นผู้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลายมีหนี้สินติดตัวนับพันล้านจากการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ แต่ขายไม่ได้ เมื่อเรียนจบเขาเริ่มทางานในวงการเงินทุน และหลักทรัพย์ได้ ๒ ปี จนได้เป็น
กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์เอเชีย จากัดและเป็นโบรคเกอร์ที่ใหญ่ที่สุดในตลาดหลักทรัพย์ในขณะนั้น จนได้รับฉายาว่า “อัศวินม้าขาว” จากการทากาไรหลายพันล้านให้บริษัทมากมาย เมื่อเขาเห็นถึงความ
สำเร็จของตัวเองทาให้ มีความมั่นใจในการลงทุนมากขึ้น จึงได้กู้เงินจากต่างประเทศมาลงทุนสร้างคอนโดมิเนียมที่เขาใหญ่ โดยใช้การลงทุนในตลาดหุ้นแบบมาร์จิน( เป็นการซื้อขายหลักทรัพย์ที่อนุญาตให้ลูกค้า
ใช้จำนวนเปอร์เซนที่ได้ยืมเงินจากโบรกเกอร์เพื่อทาการเปิดออเดอร์เทรดเพื่อซื้อหลักทรัพย์ ) เมื่อหุ้นตกก็ถูกบังคับให้ขาย หลังจากขายหุ้นจนหมดส่วนที่เหลือก็กลายเป็นหนี้พอเศรษฐกิจมีปัญหาคอนโดมิเนียมถูก
ลูกค้าทิ้งเงินดาวน์ คุณศิริวัฒน์จึงต้องเป็นคนรับผิดชอบเงินส่วนที่เหลือจากเงินดาวน์ทั้งหมด จากสภาวะเศรษฐกิจในตอนนั้นที่มีหนี้เพียงไม่กี่ล้านทาให้หนี้เพิ่มเป็นพันล้าน นี่เป็นจุดเริ่มต้นของตานานคนสู้ชีวิต หลัง
จากเกิดภาวะเศรษฐกิจวิกฤตต้มยากุ้งเขารู้สึกท้อกับชีวิตแต่ด้วยภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบทั้งครอบครัวและพนักงาน ๒๐ คน เขาจึงพยายามคิดหาทางออกในการแก้ไขปัญหานี้ โดยการเริ่มเป็นพ่อค้าขายแซนด์วิช
ข้างถนนซึ่งในตอนนั้นยังมีพนักงานเหลืออยู่กับเขาจำนวน ๒๐ คนเนื่องจากพนักงานจานวนนี้ไม่มีที่ไปยอมที่จะทางานอยู่กับเขาแม้ว่าจะสูญเสียเครดิตทางด้านการเงินและความร่ารวย และเขาคิดเสมอว่าจะไม่ทิ้ง
พนักงาน เพราะพนักงานเปรียบเสมือนคนในครอบครัว ทาให้เขาและภรรยาตัดสินใจลดค่าใช้จ่ายทั้งหมดเพื่อความอยู่รอด และภรรยาของเขาแนะนาให้ทาแซนด์วิชขายเพื่อหารายได้ให้กับครอบครัว โดยมีความคิดที่ว่า
“ ไม่ตื๊อ ไม่ยัดเยียด หากลูกค้าต้องการก็จะเดินมาซื้อเอง วันนี้อาจลองซื้อชิม วันหน้าถ้าติดใจเขาจะกลับมาซื้อเอง แค่ทาสินค้าให้ดีไว้ในทุก ๆ วันก็พอ ” ซึ่งในตอนนั้นไม่ได้ชื่อศิริวัฒน์แซนด์วิช แต่เป็นชื่อภรรยาของ
เขา คือบีแซนด์วิช ลูกค้าหลายคนแนะนาให้เปลี่ยนเป็นชื่อของเขา และโลโก้ของศิริ วัฒ น์แซนด์วิช ก็เป็น รูป เงิน บาทลอยตัว กับลู กบอลลูน และข้างล่างก็มีคำว่า IMF ปี ๒๕๔๐ เพื่อเตือนสติ เตือนความจาเขา
และด้วยความเป็นคนไม่หยุดคิด ไม่หยุดทำ ไม่ย่อท้อ จึงทาให้เขากลับมายืนขึ้นอีกครั้ง จากวันนั้นคุณศิริวัฒน์ได้ลุกขึ้นสู้จนสามารถปลดหนี้พันล้านบาทได้สาเร็จ ภายใน ๒ ปี ทาให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลาย
และเป็นตานานคนสู้ชีวิตที่สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้คนมากมาย ปัจจุบันเขา คือเจ้าของบริ ษัท ทีจี ไอเอฟ คอร์เ ปอร์ เรชั่น จากัด ประกอบกิจการด้านอาหาร และเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพมากมายนอกจากการขาย
แซนด์วิช และหวังว่าจะนาบริษัทของตนเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นบริษัทมหาชน
จากที่กล่าวมาข้างต้นทางคณะผู้จัดทาเห็นว่าคุณศิริวัฒน์มีความอดทน พยายามเพื่อฝ่าฟันอุปสรรคที่หากเป็นบุคคลทั่วไปอาจหมดกาลังใจในการใช้ชีวิต และจากเหตุการณ์ที่คุณศิริวัฒน์ได้พบเจอทำ
ให้อยากทราบถึงแนวคิดที่ช่วยให้เขาผ่านพ้นวิกฤตนั้นมาได้ และกลยุทธ์ที่ใช้ในการทาธุรกิจจนสามารถปลดหนี้ได้นั้นทางคณะผู้จัดทาจึงจัดทาโครงการสัมมนาเชิงบรรยายภายใต้หัวข้อ “ตีแตกกลยุทธ์ขุดแนวคิด
ฝ่าวิกฤตกับคุณศิริวัฒน์” ขึ้นมาเพื่ออธิบายถึงกลยุทธ์ที่ใช้ในการทาธุรกิจ และเสริมสร้างแนวคิดในการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจที่ผันผวน อีกทั้งเป็นแบบอย่างความสาเร็จให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนาอีกด้วย
วัตถุประสงค์ :
๑. เพื่ออธิบายถึงกลยุทธ์ที่ใช้ในการทาธุรกิจ
๒. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาสามารถนาแนวคิด และความรู้ไปปรับใช้ในชีวิต
๓. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างวิทยากรกับผู้เข้าร่วมสัมมนา
ผู้เข้าร่วมโครงการ :
นักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้จานวน ๓๐๐ คน
ตัวชี้วัด:
๑. เชิงปริมาณ
- จานวนผู้เข้าร่วมโครงการ ๓๐๐ คน
๒. เชิงคุณภาพ
- ร้อยละความพึงพอใจและประโยชน์ที่ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับ คิดเป็นร้อยละ ๘๐ (จากการทำแบบประเมิน)
สถานที่จัดกิจกรรม :
ณ ห้องเอกภพวิทยา อาคารจุฬาภรณ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
วันเวลา และสถานที่ :
วันพุธที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๒ เวลา ๐๘.๐๐ – ๑๒.๑๕ น.
วิทยากร :
คุณศิริวัฒน์ วรเวทวุฒิคุณ
พิธีกรดำเนินรายการ :
คุณวิรวัฒน์ ญาณวุติ
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 4  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 400 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   400 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล