ประเภท/ลักษณะงาน
ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม
ไม่ระบุ
เป้าหมายผู้เข้าร่วม
161
คน
จำนวนผู้เข้าร่วม
169
คน
รายรับ
80000
บาท
มูลค่ารายรับ
ไม่ระบุ
บาท
ค่าใช้จ่าย
80000
บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย
ไม่ระบุ
บาท
แนวคิดที่ว่า วัฒนธรรมของไทย เป็นวิถีชีวิตของคนไทยในสังคมไทย เป็นแบบแผนของการประพฤติปฏิบัติที่ดีงาม และการแสดงออกถึงความรู้สึกคิดในสถานการณ์ต่างๆ
ที่สมาชิกในสังคมไทย สามารถ รู้ เข้าใจ ซาบซึ้ง ยอมรับ และใช้ปฏิบัติร่วมกันในสังคมไทย ..หนึ่งในวัฒนธรรมไทย คือ ประเพณีและพิธีทางศาสนาต่างๆ อันได้แก่ กิจกรรมที่ปฏิบัติในวันสำคัญต่างๆ โดยคณะผลิตกรรมการเกษตร ได้ตระหนักถึงความสำคัญและคุณค่าของวัฒนธรรม จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น เพื่อให้นักศึกษาและบุคลากร ในหน่วยงานได้ร่วมอนุรักษ์ศิลปและวัฒนธรรมล้านนาไทย โดยกำหนดกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมไทย จำนวน 3 กิจกรรม ดังนี้
1. กิจกรรมดำหัวผู้อาวุโส อนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีปี๋ใหม่เมือง
2. กิจกรรมส่งเสริมนักศึกษาประกวดเทพี-เทพบุตรสงกรานต์
3. กิจกรรมถวายเทียนพรรษาและผ้าอาบน้ำฝน
สรุปผลประเมิน โครงการสืบสานศิลปวัฒนธรรมล้านนาไทย ประจำปีงบประมาณ 2561
ผลผลิต : นักศึกษาและบุคลากร ได้ร่วมจัดกิจกรรมส่งเสริมอนุรักษ์สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการบูรณาการงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมกับกิจกรรมนักศึกษา และยังได้มีโอกาสสร้างผลงานเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถเผยแพร่สู่สังคมได้ ตลอดจนได้สร้างความสามัคคี เสริมสัมพันธไมตรีระหว่างนักศึกษาและบุคลากร ของคณะผลิตกรรมการเกษตร
1) กิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส "อนุรักษ์และส่งเสริมประเวณีปี๋ใหม่เมือง"
จัดวันที่ 20 เมษายน 2561 เงินรายได้คณะผลิตฯ 40,000 บาท
นักศึกษาและบุคลากร ได้สืบทอดและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีตามแบบล้านนาไทยที่ผู้เยาว์ควรแสดงออกมีต่อผู้อาวุโสที่เคารพนับถือ และได้ทำขนมพื้นบ้าน กรวยดอกไม้ แต่งกายพื้นเมือง รวมแข่งขันส้มตำลีลา มีผลการประเมินความสำเร็จของโครงการ คิดเป็นร้อยละ 83.6
การปรับปรุงจากการประเมินโครงการปีที่แล้ว
จัดการประชาสัมพันธ์ให้มีนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมรดน้ำดำหัวผู้อาวุโสประจำคณะผลิตกรรมการเกษตร จำนวนมากขึ้น โดยที่นักศึกษาจะได้หัดห่อข้าวหนมจ๊อก และรับประทานอาหารล้านนาท้องถิ่น ภาคเหนือร่วมกับบุคลากร เป็นการสานสัมพันธไมตรี สร้างความสามัคคีระหว่างบุคลากรและนักศึกษา ซึ่งถือว่าได้ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรได้สืบสานประเพณีและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
สิ่งที่ยังไม่ได้ปรับปรุง
1. การเพิ่มระยะทางในการเดินขบวนรดน้ำดำหัวอธิการบดี และเลือกเส้นทางที่จะมีผู้เห็นความงดงามของริ้วขบวนเป็นจำนวนมาก เพื่อให้คุ้มค่ากับการประดับตกแต่งและความตั้งใจของผู้มีส่วนร่วมในการจัดริ้วขบวนเนื่องจากปีนี้มีบุคลากรให้ความสนใจร่วมเดินขบวนจำนวนน้อย และไม่ได้มีการจัดขบวนอย่างเป็นทางการ หากปีหน้ามีการวางแผนจัดขบวนอย่างเป็นทางการ จะทำการเพิ่มระยะทางการเดินขบวน
2. การจัดประดับตกแต่งสถานที่จัดงาน บริเวณสนามหญ้าหน้าอาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตฯ ให้เป็นแบบล้านนา และมีมุมถ่ายภาพ เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดความประทับใจและสามารถบันทึกภาพประทับใจได้เนื่องจากปีนี้มีงบประมาณจำกัด จึงไม่ได้มีการประดับตกแต่งมุมถ่ายภาพเพิ่มเติม แต่จัดงานบริเวณสนามหญ้าหน้าอาคารรัตนโกสินทร์ ที่มีต้นไม้ดอกไม้ประดับสวยงาม จึงยังมีมุมเพื่อถ่ายภาพให้แขกผู้มีเกียรติที่มาร่วมงาน
ข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป
1. เพิ่มกิจกรรมการแข่งขันต่างๆ ให้บุคลากรและนักศึกษาได้สร้างผลงาน เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นให้สามารถเผยแพร่สู่สังคมได้ อาทิ การแข่งขันทำลาบดิบ ลาบสุก แกงแค และการเล่นยิงก๋งเป็นต้น
2. ควรเพิ่มกิจกรรมแข่งขันยิงก๋ง เพื่อให้บุคลากรและนักศึกษารู้สึกผ่อนคลาย เฮฮา มีความสุข สนุกร่วมกัน ทุกคนจะได้มีกิจกรรมส่วนร่วม
2) กิจกรรมส่งเสริมนักศึกษาประกวดเทพี-เทพบุตรสงกรานต์ วันที่ 12-14 เมษายน 2561 เงินรายได้คณะผลิตฯ 5,000 บาท
นักศึกษาได้เข้าประกวดเทพบุตรสงกรานต์ โดยจังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรมงานประเพณีสงกรานต์ (ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมืองเจียงใหม่) ประจำปี 2561”
ระหว่างวันที่ 12 - 15 เมษายน 2561 ประเพณีปี๋ใหม่เมือง หรือ ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง วันสงกรานต์ล้านนาในภาคเหนือ คณะผลิตกรรมการเกษตร ส่งนักศึกษาจำนวน 1 คน นายไกรวิท อภิวัน เข้าร่วมการประกวดทำให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ร่วมกับผู้เข้าประกวดคนอื่นๆ ได้ฝึกทักษะการพูด ฝึกปฏิภาณไหวพริบในการตอบคำถาม การรับรู้รายละเอียดของกิจกรรมประเพณีปีใหม่ล้านนา ซึ่งถือเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาได้ร่วมงานประเพณีระดับจังหวัดที่จัดขึ้น และแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ทางศิลปวัฒนธรรม พัฒนาบุคลิกภาพและความกล้าหาญ เอื้อต่อการพัฒนานักศึกษาให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ ด้านการพัฒนานักศึกษานอกห้องเรียนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ อีกทางหนึ่งด้วย มีผลการประเมินความสำเร็จของโครงการ คิดเป็นร้อยละ 82.2
ข้อเสนอแนะ : ควรเตรียมคัดเลือกนักศึกษาเพื่อพัฒนาบุคลิกภาพและทักษะที่จำเป็น ส่งเข้าประกวด ในงานทางวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกความกล้าแสดงออกและได้เรียนรู้ ซึมซับเอาความรู้และคุณค่าทางวัฒนธรรมล้านนาไทยที่ควรอนุรักษ์ไว้ เพื่อสืบต่อประเพณีสำคัญ
- งานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง - งานป๋าเวณียี่เป็งล้านนา
3) กิจกรรมถวายเทียนพรรษาผ้าอาบน้ำฝนสำหรับให้พระภิกษุ
วันที่ 26 กรกฎาคม 2561 ณ ชั้น 1 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี และวัดเจ็ดลิน ในเมืองเชียงใหม่
เวลา 09.09 น. – 11.09 น. ได้จัดกิจกรรม“ตกแต่งดาคัว” โดยเชิญบุคลากรและนักศึกษา คณะผลิตฯ ร่วมฮอมของถวายทานพระสงฆ์ , จัดชุดเทียนพรรษา เครื่องไทยทาน พร้อมรวบรวมปัจจัย เพื่อนำไปถวายพระสงฆ์ตามวัฒนธรรมก่อนถึงวันเข้าพรรษาณ ชั้น 1 อาคารรัตนโกสินทร์ฯ
เวลา 11.15 น. รับประทานอาหารพื้นเมืองร่วมกัน สานสัมพันธ์ชาวคณะผลิตฯ ณ ชั้น 1 อาคารรัตนโกสินทร์ 200 ปี คณะผลิตกรรมการเกษตร
ช่วงบ่าย เดินทางไปยังวัดเจ็ดลิน ในเมืองเชียงใหม่ ทำพิธีถวายเทียนพรรษา เครื่องไทยทาน ปัจจัย และกล้ากล้วยไม้ไทยจากโครงการคืนชีวิตกล้วยไม้ไทยสู่ไพรพฤกษ์ บุคลากรและนักศึกษารับศีลรับพรเสริมศิริมงคลและพลังบารมีให้แก่ชีวิต รับฟังประวัติวัดเจ็ดลินจากท่านเจ้าอาวาสวัดเจ็ดลิน “พระมหาวิษณุ จารุธัมโม” บุคลากรและนักศึกษาทำจิตใจให้ผ่องใส ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน 30 นาที เวลา 14.15 น. กิจกรรมปล่อยกล้วยไม้ไทย เยี่ยมชมความสวยงามรอบบริเวณวัดเจ็ดลิน มีผลการประเมินความสำเร็จของโครงการ คิดเป็นร้อยละ 84.6
การปรับปรุงจากการประเมินโครงการปีที่แล้ว
1.มีการเพิ่มระยะเวลาการฝึกนั่งสมาธิกรรมฐาน จาก 10 นาที เป็น 30 นาที
2.ประสานงาน อาจารย์ที่มีชั่วโมงเรียนภาคฤดูร้อน เพื่อประชาสัมพันธ์เชิญนักศึกษา บุคลากร และคณาจารย์ เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสานสัมพันธ์ชาวคณะผลิตกรรมการเกษตร
ข้อเสนอแนะการจัดโครงการครั้งต่อไป
เพิ่มกิจกรรมให้บุคลากรและนักศึกษามีส่วนร่วม เช่น การแข่งยิงลูกก้ง การแข่งทำอาหาร การแข่งการประดับตกแต่งเทียนพรรษา