โครงการการพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านวิศวกรรมพลังงานสำหรับรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย (ไทยแลนด์ 4.0)

วันที่เริ่มต้น 23/06/2561 เวลา 8:30 วันที่สิ้นสุด 24/06/2561 เวลา 16:30
สถานที่จัด ห้องประชุมอารีน่า วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก วิทยาลัยพลังงานทดแทน สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
ปัจจุบันทั่วโลกกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับวิกฤติทางด้านพลังงานที่เกิดขึ้นเนื่องจากพลังงานที่มีอยู่ในปัจจุบันมีแนวโน้มกำลังจะหมดลงในขณะเดียวกันราคาของพลังงานกลับมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จึงส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าภายในประเทศเป็นอย่างมาก ทำให้ไม่สามารถแข่งขันในการผลิตสินค้ากับต่างประเทศและส่งผลเสียต่อภาพรวมทางด้านเศรษฐกิจของประเทศไทย อย่างไรก็ตามที่ผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางด้านพลังงานให้กับโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับทางพลังงานค่อนข้างจะดำเนินการด้วยความลำบากไม่ว่าจะเนื่องด้วยของ ภาวะการเงินของนายทุน ระยะเวลาการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการรับเทคโนโลยี องค์ความรู้พื้นฐานของบุคลากรและเจ้าหน้าที่ที่มีอยู่ เป็นต้น ซึ่งผลจากปัญหาเหล่านี้จะส่งผลให้กระบวนการผลิตสินค้าของทางบริษัทยังคงเป็นรูปแบบเดิมๆ มีต้นทุนที่แพง ขาดนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ส่งผลให้รายได้สุทธิของบริษัทต่ำลง ซึ่งสุดท้ายจะส่งผลกระทบกับค่าจ้างแรงงานของบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ให้ต่ำลงโดยตรง จากปัญหาด้านพลังงานที่เกิดขึ้นกับทางโรงงานหรือสถานประการ ซึ่งถ้าทางหน่วยงานภาครัฐสามารถเข้ามาจัดการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมฝีมือทางด้านวิชาชีพวิศวกรรมพลังงานโดยตรง มีการจัดทำหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของโรงงานและรวมไปถึงการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับเวลาของผู้เรียนให้เหมาะสมได้ จะส่งผลให้งานภาคอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการเกิดความก้าวหน้าและได้รับผลประโยชน์โดยตรง ขณะเดียวกันบุคลากรหรือเจ้าหน้าที่ที่อยู่ในโรงงานหรือสถานประกอบการก็จะได้มีองค์ความรู้ ทักษะ ฝีมือและความชำนาญที่สูงขึ้นซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมของแรงงานไทยและสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคตได้
แนวความคิดในการเพิ่มศักยภาพ องค์ความรู้ ทักษะ ฝีมือและความชำนาญของแรงงงานไทยในการตอบสนองยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย (ไทยแลนด์ 4.0) แสดงในตารางที่ 1 เริ่มจากการนำเอาบุคลากร เจ้าหน้าที่จากภาคอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการเข้ามาปรับองค์ความรู้ ทักษะ ฝีมือและความชำนาญ โดยสามารถปรับได้ 2 ลักษณะคือการปรับโดยใช้หลักสูตรระยะสั้นหรือหลักสูตรภาคสมทบ/ทวิภาคี การศึกษาโดยใช้ระบบสมทบ/ทวิภาคีจะเป็นหลักสูตรแบบต่อเนื่อง 2 ปี เมื่อจบการศึกษาแล้วจะได้รับวุฒิการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งสามารถเข้าทำงานเทียบเท่าหลักสูตรวิศวกรรมอื่นๆ อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่จะเข้าศึกษาในหลักสูตรนี้จะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการจบการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในสาขาวิชาช่างอุตสาหกรรมในเบื้องต้นก่อนจึงจะเข้าเรียนในหลักสูตรนี้ได้ ส่วนการเข้ารับการศึกษาในหลักสูตรทางวิชาชีพในระยะสั้นนั้นจะรับสมัครจากผู้ที่สนใจโดยมีความรู้พื้นฐานทางด้านพลังงาน ประกอบกิจกรรมทางด้านพลังงานของโรงงานโดยมีวุฒิการศึกษาเริ่มต้นตั้งแต่มัธยมปลาย ปวช. ปวส หรือปริญญาตรี ที่มีความเกี่ยวข้องทางด้านพลังงาน หลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นจะมีทั้งหมดประมาณ 4 หลักสูตร ในเบื้องต้น ผลผลิตของการเพิ่มศักยภาพ องค์ความรู้ ทักษะ ฝีมือและความชำนาญในโครงการนี้จะมีทั้งหมด 1,500 คน ภายในระยะเวลา 5 ปี (งบประมาณ พ.ศ.2561-2565) แบ่งเป็นการศึกษาระดับปริญญาตรีต่อเนื่อง 300 คน และหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้น 1,200 คน ได้หลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดอย่างน้อย 5 หลักสูตรและได้แนวทางการพัฒนาและกระบวนการปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนทางวิชาชีพหรือหลักสูตรปฏิบัติการในระดับมหาวิทยาลัย
จุดเด่นของการการนำเอาบุคลากรทางด้านสายวิชาชีพ ที่มีคุณวุฒิทางการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่มีอยู่ในโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการมาเพิ่มศักยภาพ องค์ความรู้ ทักษะ ฝีมือและความชำนาญมีข้อดีเนื่องจากบุคลากรทางสายนี้ส่วนใหญ่มีพื้นฐานทางด้านปฏิบัติงานอยู่แล้วและถ้าได้โอกาสที่ดี บุคลากร เจ้าหน้าที่เหล่านี้จะสามารถเข้าไปช่วยงานภาคอุตสาหกรรมได้สูงและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันก็เป็นที่น่าเสียใจเนื่องจากบุคลากรและเจ้าหน้าที่ทีจบสายวิชาชีพกลับมีแนวโน้มลดลงทุกปีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี พ.ศ. 2558 มีนักศึกษาที่จบสายนี้เพียง 120,000 คนเท่านั้น (สำนักงานคณะกรรมการอาชีวะศึกษา 2558) จากการส่วนหนึ่งมีสาเหตุเกิดจากการเข้าใจว่าการเรียนสายวิชาชีพนี้ ไม่สามารถเรียนต่อปรับวุฒิการศึกษาให้เพิ่มขึ้นในระดับปริญญาตรีได้ โอกาสในการปรับตำแหน่งและค่าจ้างในอนาคตมีความไม่แน่นอน คนที่จะเข้ามาเรียนสายนี้จึงขาดแรงจูงใจ สุดท้ายจึงเป็นสาเหตุทำให้ประเทศไทยขาดช่างเทคนิคที่จะเข้าไปพัฒนางานด้านอุตสาหกรรมให้กับประเทศได้ ดังนั้นข้อดีอีกประการของการจัดการพัฒนาหลักสูตรประเภทนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากรทางสายนี้ได้มีแนวทางการพัฒนาตนเองในสายงานประเภทนี้ให้สูงขึ้นไป อีกทั้งยังจะเป็นการเพิ่มช่องทางในการเป็นแรงจูงใจให้บุคลากรที่มีอยู่ในปัจจุบันหันมาสนใจและเรียนต่อในสายวิชาชีพให้เพิ่มขึ้นได้ เป็นการช่วยลดการขาดแคลนแรงงานในระดับเทคนิคของประเทศได้ ซึ่งผลสุดท้ายจะช่วยให้งานภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่างๆ สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้และลดการนำเข้าพลังงานและการสูญเสียเงินตราออกต่างประเทศได้
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 12  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 300 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   ไม่ระบุ คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล