โครงการเกษตรศิลป์แห่งศิลปศาสตร์

วันที่เริ่มต้น 04/08/2561 เวลา 0:00 วันที่สิ้นสุด 04/08/2561 เวลา 0:00
สถานที่จัด ศูนย์การเรียนรู้ การทำการเกษตร ตำบลหนองหาร อำเภอสันทราย และ อุทยานหลวงราชพฤกษ์ 

หน่วยงานที่จัด ผู้รับผิดชอบ ผู้เข้าร่วม
หน่วยงานที่จัด
คณะ/สำนัก สาขา/กอง หน่วยงานภายใน  
ผู้รับผิดชอบหลัก
ไม่มีข้อมูล

ผู้รับผิดชอบหลัก (นักศึกษา)
ไม่มีข้อมูล
การเกษตรมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยมนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์อย่างหลากหลายจากพืชและสัตว์ โดยใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค อีกทั้งมนุษย์รู้จักเก็บเกี่ยวผลผลิตทางเกษตร และนำไปประกอบอาหารหรือแปรรูปซึ่งมีความจำเป็นและสำคัญต่อการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก โดยประโยชน์ของการเกษตรคือ การทำการเกษตรสามารถทำเป็นอาชีพเสริมรายได้ อีกทั้งเป็นอาชีพธุรกิจและบริการทางการเกษตร เช่นการจำหน่ายไม้ดอกไม้ประดับ รับจัดสวนหย่อม และสุดท้ายเป็นอาชีพหลักเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ของครอบครัว เช่น การเลี้ยงสัตว์และการปลูกพืชผัก

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ให้ความสำคัญกับการเกษตรไทยเป็นอย่างมาก จึงได้จัดทำโครงการปลูกผักแลกค่าเทอม ซึ่งเป็นโครงการที่ให้นักศึกษาได้น้อมนำศาสตร์ของพระราชา แนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่ มาปรับใช้พร้อมทั้งสร้างรายได้ในการนำไปใช้เป็นค่าศึกษาเล่าเรียน ปัจจุบันมหาลัยแม่โจ้มีนักศึกษากว่า 18,000 คน จาก 14 คณะ ผลิตบัณฑิตปีละกว่า 4500 คน แต่มีนักศึกษาจำนวนหนึ่งที่ต้องการแบ่งเบาภาระของผู้ปกครอง ทางมหาลัยแม่โจ้จึงคิดสร้างโครงการปลูกผักแลกค่าเทอมเพื่อให้นักศึกษานำรายได้เป็นทุน และนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับผลตอบแทนจากความสามารถ ความอุตสาหะ เมื่อหักต้นทุนแล้วสามารถรับผลกำไรเพื่อเป็นค่าเทอมให้แก่นักศึกษาอีกทางหนึ่ง มหาลัยแม่โจ้จึงเปิดกาดแม่โจ้ 2477 เพื่อเป็นตลาดรองรับผลผลิตจากนักศึกษาในทุกคณะ สาขาวิชา

คณะศิลปศาสตร์ จึงขับเคลื่อนนโยบายด้านการเกษตรในรูปแบบของกิจกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่นักศึกษา พร้อมกันนี้ทางคณะฯ ได้จัดเตรียมสถานที่สำหรับการดำเนินโครงการให้นักศึกษาไว้ ณ ด้านหลังลานจอดรถ คณะศิลปศสาสตร์ เพื่อช่วยเพิ่มพูนความรอบรู้ทางการศึกษาด้านการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะนำไปประกอบอาชีพ หรือศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป อีกทั้งช่วยให้นักศึกษาได้เห็นแนวทางการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ซึ่งเป็นอาชีพที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศ ตลอดจนช่วยให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติงานด้านการเกษตร ซึ่งจะได้รับผลผลิตทางการเกษตรตามมา สามารถนำผลผลิตไปใช้บริโภคหรือจำหน่ายเป็นรายได้ระหว่างเรียนได้ และสุดท้ายช่วยให้เกิดแนวคิด การดัดแปลง แก้ไข และการค้นพบสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ ภายใต้วัฒนธรรมล้านนา
รายละเอียดเพิ่มเติม
ตอนที่ 1 รายละเอียด
ประเภท/ลักษณะงาน ไม่ระบุ
เกี่ยวข้องกับกิจกรรม ไม่ระบุ
ระดับ ในสถาบัน
ปริมาณงานทั้งหมด 6  
เป้าหมายผู้เข้าร่วม 200 คน
จำนวนผู้เข้าร่วม   200 คน
ตอนที่ 2 รายรับ-รายจ่าย
รายรับ   ไม่ระบุ บาท
มูลค่ารายรับ   ไม่ระบุ บาท
ค่าใช้จ่าย ไม่ระบุ บาท
มูลค่าค่าใช้จ่าย   ไม่ระบุ บาท
ตอนที่ 3 ผลการดำเนินงาน
ไม่ระบุ
ตอนที่ 4 สอดคล้องสมรรถนะ
ประเภทสมรรถนะ
ตอนที่ 5 เอกสารอ้างอิง
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 6 ภายใต้โครงการ
ตอนที่ 7 ภายใต้งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 8 การบูรณาการ
ไม่มีข้อมูล