AI ย่อมาจาก Artificial Intelligence หรือปัญญาประดิษฐ์ คือ เทคโนโลยีที่ทำให้คอมพิวเตอร์หรือเครื่องจักรสามารถคิดแบะทำงานเหมือนมนุษย์ได้ เช่น การตอบคำถาม การแปลภาษา หรือการแนะนำสิ่งต่างๆ ซึ่งเราสามารถเจอ AI ในชีวิตประจำวันเช่น ระบบ siri บน iphone เมื่อเราถามคำถามกับโทรศัพท์มือถือแล้วมันตอบกลับมา หรือเมื่อเราใช้โปรแกรมแปลภาษา AI สามารถสร้างประโยคยาวๆ ได้เพราะมันฝึกให้เรียนรู้จากข้อความและประโยคต่างๆ เมื่อเราป้อนคำถามหรือคำสั่งให้ AI มันจะใช้ความรู้จากสิ่งที่มันเรียนมาเพื่อสร้างคำตอบที่มีความหมาย ซึ่งมีการสอน AI ให้คิดและเรียนรู้เหมือนสมองของคน ส่วน Prompt Engineering คือการออกแบบและปรับปรุงคำถามหรือคำสั่งที่เราใช้กับ AI ให้ได้คำตอบหรือผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเหมือนกับการเลือกคำพูดให้ถูกต้องเมื่อเราคุยกับคนอื่น เพื่อให้เขาเข้าใจและตอบได้ตรงจุด ยิ่งเราออกแบบ Prompt ได้ดีเท่าไหร่ AI ก็จะตอบกลับมาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น AI ทำงานเหมือนกับผู้ช่วยอัจฉริยะที่ช่วยตอบคำถามต่างๆ แต่บางคำถามอาจจะเป็นคำถามที่อันตราย เช่นคำถามเกี่ยวกับการทำร้ายคนอื่น AI จะไม่ตอบคำถามแบบนี้เพราะมันถูกสอนให้ระวังเรื่องความปลอดภัย โดยผู้สร้างจะเป็นผู้ฝึก AI ให้รู้ว่าอะไรควรตอบอะไรไม่ควรตอบ โดยจะมีการใส่ข้อมูลที่ปลอดภัยเข้าไป และตัดข้อมูลที่ไม่ดีออก AI รู้ว่ากำลังเรียนรู้ไปถูกทางหรือไม่ด้วยการใช้กระบวนการที่เรียกว่าการให้ข้อเสนอแนะ (Feedback) และการปรับปรุงตัวเอง (Optimization) ผ่านขั้นตอนเหล่านี้
- การให้คะแนนคำตอบเช่น ถ้าถูกต้อง AI จะได้รับรางวัลหรือคะแนนสูง แต่ถ้าผิด AI จะได้คะแนนต่ำ
- การแก้ไขข้อผิดพลาด เมื่อAI ได้รับคะแนนต่ำมันจะเรียนรู้ว่าต้องปรับปรุงสิ่งที่ทำผิด จากนั้นจะพยายามหาทางแก้ไขเพื่อทำให้ดีขึ้นในครั้งต่อไป
- จากการเรียนรู้ตัวอย่างที่ถูกต้องหลายๆ ครั้ง
- การฝึกซ้ำๆ ซึ่งจะช่วยให้ AI เรียนรู้ไปในทิศทางที่ถูกต้องและแม่นยำมากขึ้น
กระบวนการเหล่านี้ สามารถพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้นและตอบคำถามได้พูดต้องมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมีคนคอยดูแลปรับปรุง AI อยู่เสมอเพื่อให้แน่ใจว่ามันทำงานได้ดีและปลอดภัย
ในงานสัมมนา AI Thailand Forums 2024 จัดโดยสมาคมปัญญาประดิษฐ์ และสัมมนาประจำปี AI for Thai: Thai AI Service Platform หัวข้อ AI สัญชาติไทยสู่อุตสาหรรมและการบริการในประเทศไทยจัดโดย สวทช ได้จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ทราบถึงสถานการณ์ AI ในประเทศไทยและแผนยุทธศาตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติ นวัตกรรม AI และขอบเขตใหม่ในการพัฒนางานวิจัยเชิงลึกเพื่อความยั่งยืน และแนวทางการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคตรวมถึงการใช้ประโยชน์บริการปัญญาประดิษฐ์เพื่อพัฒนาการให้บริการด้านต่างเช่น การนำ AI มาช่วยสนับสนุนการจัดทำรายงานการประชุมของรัฐสภาด้วยการจดบันทึกการประชุมด้วยเสียง และใช้ PANANA แพลตฟอร์มบริการช่วยในการถอดเสียงและสรุปรายงานการประชุมซึ่งสามารถช่วยลดการทำงานของเจ้าหน้าที่ได้อย่างมาก นอกจากนี้ยังมีการนำ AI มาใช้ในงานบริการด้านการศึกษาในรูปแบบ Education Bot ด้วย AI Chatbot สำหรับให้ผู้เรียนได้ถามตอบ การสร้างเนื้อหาบทเรียน การนำ AI มาช่วยงานด้านการตรวจทะเบียนการค้า และจดจำลิขสิทธิ์ และการนำ AI มาช่วยบริการคนพิการทางสายตาโดยการใช้เสียงสังเคราะห์ ปัจจุบันสนามบินและกรมควบคุมโรค ประจำประเทศไทยได้วิจัยและพัฒนานำ AI ด้านระบบพิสูจน์อัตลักษณ์บุคคลโดยใช้ม่านตาและใบหน้า (Biometric) มาสนับสนุนการให้บริการ สนามบินในขั้นตอนการขึ้นเครื่องด้วยการสแกนใบหน้าเพื่อลดขั้นตอนและลดเวลาผ่านจุดตรวจค้นสัมภาระสนามบิน โดยไม่ต้องแสดงยืนยันตัวตนด้วยบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางและบัตรขึ้นเครื่อง โดยระบบจะจดจำใบหน้าผู้โดยสาร 24 ชั่วโมงจากนนั้นจะทำลายข้อมูลเพื่อความปลอดภัย และบริการสาธารณสุขและด้านมนุษยธรรมโดยเฉพาะการเฝ้าระวังการป้องกันและการควบคุมโรคในบุคคลที่ไม่มีเอกสารประจำตัว ซึ่งระบบได้ถูกนำไปใช้เก็บข้อมูลและพิสูจน์ตัวตนในกลุ่มบุคคลที่ไม่มีเอกสารประจำตัว หรือกลุ่มผู้เร่รอน กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ไม่มีเอกสารยืนยันตัวตน หรือมีบัตรแต่บัตรหมดอายุหรือรอต่ออายุ กลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไม่มีเอกสารระบุตัวตน กลุ่มคนชาติพันธุ์ ชนกลุ่มน้อย ผู้ลี้ภัย หรือกลุ่มบุคคลที่มีสัญชาติไทย แต่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ ถึงแม้ว่า AI จะสร้างประโยชน์ต่อการปรับปรุงพัฒนาการให้บริการ แต่ก็ส่งผลกระทบในด้านการแทนที่คนหรืองาน และการเพิ่มความเลื่อมล้ำ และต้นทุนในการพัฒนา AI ค่อนข้างสูงจึงทำให้ระบบที่พัฒนาขึ้นยังไม่สามารถนำไปใช้ได้อย่างแพร่หลายในพื้นที่ห่างไกลเนื่องจากข้อจำกัดของเทคโนโลยี