สรุปเนื้อหาและประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมอบรมร่วม: โครงการเสริมประสิทธิภาพการเรียน การสอนแบบ Active Learning
วันที่เขียน 1/10/2567 13:05:39     แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:39:10
เปิดอ่าน: 133 ครั้ง

ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ระดับอุดมศึกษาคุณภาพอาจารย์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ความรู้ (Knowledge)/สมรรถนะ (Competencies และค่านิยม (Values) โดยเฉพาะในด้านสมรรถณะด้านเสริมสร้างบรรยายกาศการเรียนรู้และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน พร้อมทั้งสามารถให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ ในการพัฒยาอาจารย์ให้เป็นอาจารย์แบบมืออาชีพตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ในระดับประเทศ (Thailand Professional Standard Framework: Thailand PSF) และสากล ซึ่งผู้สอนต้องมีวิธีการหรือทักษะในการ "Engagement" ผู้เรียน และทักษะในการในการสอน 3 ประการ Interpersonal skill Teaching skill & Assessment skill และ Digital skill เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งเป็นการสร้างบรรยายการในห้องเรียนให้มีความสุขสนุกกับเนื้อหาที่เรียน (Fun theory)

           ตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2566 เรื่อง แนวทางการการพัฒนาคุณภาพอาจารย์เพื่อส่งเสริมการบรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ได้กระตุ้นและส่งเสริมให้อาจารย์มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ระดับอุดมศึกษา ดังนี้

คุณภาพอาจารย์ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้

  • ความรู้ (Knowledge) มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ

1.1) ความรู้ในศาสตร์สาขาวิชาของตน

1.2) ความรู้ในศาสตร์การสอนและการเรียนรู้

  • สมรรถนะ (Competencies) มี 4 องค์ประกอบย่อย คือ

2.1) ออกแบบและวางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

2.2) ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผล

2.3) เสริมสร้างบรรยายกาศการเรียนรู้และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน

2.4) วัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน พร้อมทั้งสามารถให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์

          3) ค่านิยม (Values) มี 2 องค์ประกอบย่อย คือ

3.1) คุณค่าในการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์ และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

3.2) ธำรงไว้ซึ่งจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพอาจารย์

โดยเฉพาะข้อ 2.3 และ 2.4 เพื่อส่งเสริมพัฒนาอาจารย์ให้เป็นอาจารย์มืออาชีพตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ในระดับประเทศ (Thailand Professional Standard Framework: Thailand PSF) และสากล

          ในปัจจุบันหลายๆ มหาวิทยาลัย ทั้งในและต่างประเทศ การเป็นอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาต้องผ่านการอบรมและสอบเพื่อรับรองคุณภาพตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ (Professional Standard Framework :PSF) เพื่อเป็นการรับรองวิชาชีพการเป็นอาจารย์ที่มีคุณภาพ เพื่อให้การเรียนการสอนสามารถพัฒนาผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

          ในการอบรมครั้งนี้เป็นการอบรมเพื่อส่งเสริมสมรรถนะอาจารย์ตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพอาจารย์ Thailand PSF ในข้อที่ 2.3 เสริมสร้างบรรยายกาศการเรียนรู้และสนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน และ 2.4 สามารถให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน Active Learning โดยมีวิทยากร 2 ท่าน คือ รองศาสตราจารย์ ดร.ธนิตา เลิศพรกุลรัตน์ และอาจารย์ ดร.รณยุทธ เอื้อไตรรัตน์ จากสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ได้ถ่ายทอดให้ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนแบบ Active Learning หรือ แบบเชิงรุก ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนให้มีส่วนร่วมเป็นสำคัญ โดยเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ คิด ค้นคว้า วิเคราะห์ และลงมือปฏิบัติ ซึ่งการเรียนการสอนแบบ Active Learning มีรูปแบบการสอนหลายรูปแบบที่สามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้ เช่น การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) การเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด (Thinking Based Learning) เรียนรู้จากการทำงานร่วมกัน (Cooperative Learning) เป็นต้น เพื่อให้เนื้อหาที่เรียนมีความน่าสนใจกระตุ้นผู้เรียนให้มีความกระตือรือร้นในการเรียนมากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนจากวิธีการที่ต่างกัน อีกทั้งยังมีความสนุกสนานและดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้มากขึ้นด้วย

ในการอบรบครั้งนี้วิทยากรได้จำลองรูปแบบการอบรมคล้ายกับการเรียนการสอนในห้องเรียน โดยเริ่มจากการ “Engagement” คือ การดึงดูดผู้เรียนด้วยวิธีการง่ายๆ เช่น เริ่มต้นการเรียนการสอนโดยการเล่นเกมสั้นๆ 1-2 นาที การใช้เกมเพราะท้าทาย สนุก สามารถดึงสมาธิ และ Motivation ผู้เรียนก่อนเข้าสู่เนื้อหาที่สอนได้ดี ซึ่งส่วนนี้เป็นส่วนแรกที่สำคัญที่จะทำให้การสอนมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนอีกด้วย ทำให้เกิดบรรยายกาศเชิงบวกในห้องเรียน (Positive Class climate) และความสนุกสนานในการเรียน

ในการสอนต้องมีทักษะที่สำคัญ 3 ประการ คือ

  1. Interpersonal skill
  2. Teaching skill & Assessment skill
  3. Digital skill

ซึ่ง 3 ทักษะ นี้ จะช่วยในการ Engagement ผู้เรียนและทำให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ในปัจจุบันมีการใช้AI หรือ Digital Tools หรือ Digital Application ต่างๆ เช่น Mentimeter/ EdPuzzle/ Padllet/ Blooket หรือ Quizizz เป็นต้น เป็นเครื่องมือในการเรียนการสอนที่ทรงประสิทธิภาพและทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมได้ง่ายและรวดเร็ว ผู้เรียนกล้าคิด กล้าแสดงความคิดเห็น ในพื้นที่ที่ผู้สอนจัดไว้ให้ในรูปแบบไม่เปิดเผยตัวตน โดยใช้การเรียนการสอนรูปแบบ Avatar technique เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนผู้สอน ซึ่งเป็นการสร้างบรรยายการในห้องเรียนให้มีความสุขสนุกกับเนื้อหาที่เรียน (Fun theory)การสอนในปัจจุบันจำเป็นต้องสร้างบรรยายกาศเชิงบวกในห้องเรียน (Positive Class climate) ความสนุกสนานในการเรียน (Fun theory) เนื่องจากพบว่าผู้เรียนในยุคปัจจุบันเกิดภาวะซึมเศร้าเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น Interpersonal skill เช่น บุคลิกภาพ ระดับน้ำเสียง สายตา ภาษาที่พูด รวมทั้งภาษากายที่ใช้ ของผู้สอน ส่งผลต่อบรรยายกาศ และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ได้ทั้งเชิงบวกและลบ ดังนั้นผู้สอนต้องมี Growth mindset ที่ดี มีความยืดหยุ่นปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์สามารถให้ข้อมูลป้อนกลับอย่างสร้างสรรค์ เพื่อกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความเชื่อมั่น กล้าคิด กล้าแสดงออก ลองทำ ลงมือปฏิบัติ และไม่ติดกับดักพื้นที่ปลอดภัย (Comfort zone) เพราะการเป็นผู้สอนแบบ Fix mindset ไม่ส่งผลดีต่อการพัฒนาผู้เรียนทำให้ผู้เรียนเกิดความไม่มั่นใจ กลัว และเขินอายไม่กล้าแสดงออก หรือความคิดเห็น ดังนั้นผู้สอนต้องมี Growth mindset ที่ดีเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มี Growth mindset ที่ดี จึงจะทำให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จในการเรียนรู้และเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ตาราง แสดงความแตกต่างระหว่าง Fix mindset กับ Growth mindset

เหตุการณ์

Fix mindset

Growth mindset

เจอความท้าทาย

พยายามหลีกเลี่ยงเพราะกลัวล้มเหลว มีความคิดว่าคนที่เก่งจะต้องไม่ล้มเหลว

ไม่เป็นไร อันนี้เรายังไม่รู้ แต่พร้อมที่จะเรียนรู้เพิ่ม

อุปสรรค

ล้มเลิกง่าย

เป็นเรื่องธรรมดาและสู้ต่อไป

ความพยายาม

ความพยายามที่ทุ่มเทไปคงไม่ช่วยเปลี่ยนอะไร

เชื่อว่าความพยายามจะเป็นเครื่องมือที่นำพาไปสู่ความสำเร็จ

เจอคำวิจารณ์

ไม่ชอบ/ไม่สนใจฟีดแบคที่เป็นคำติ

ยอมรับคำติ นำมาวิเคราะห์และพัฒนาปรับปรุงตัวเอง

เห็นคนอื่นสำเร็จ

รู้สึกไม่ดี/รู้สึกถูกคุมคามเมื่อเห็นความสำเร็จของผู้อื่น

มีเรื่องอะไรที่เราสามารถเรียนรู้ได้จากคนที่ประสบความสำเร็จเหล่านั้นได้บ้าง

 

          Iceberg Theory หรือ ทฤษฎีภูเขาน้ำแข็ง เป็นอีกทฤษฎีหนึ่งที่เปรียบเทียบองค์ประกอบของภูเขากับสมรรถนะ Iceberg Theory จะมีสมรรถนะ 2 ส่วน

  • ส่วนที่มองเห็น (ส่วนที่อยู่เหนือน้ำ) เป็นส่วนที่มองเห็นและพัฒนาได้ง่าย ได้แก่ ทักษะ(Skill) และ ความรู้(Knowledge)
  • ส่วนที่มองไม่เห็น (ส่วนที่อยู่ใต้น้ำ) เป็นส่วนที่มองไม่เห็น เปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาได้ยาก และส่งผลต่อพฤติกรรม ได้แก่ บทบาททางสังคม (Social Role คือ สิ่งที่บุคคลต้องการสื่อให้บุคคลอื่นในสังคมเห็นว่าตัวเขามีบทบาทอย่างไรต่อสังคม) ภาพพจน์ที่รับรู้ตัวเอง (ภาพพจน์ที่บุคคลมองตัวเองว่าเป็นอย่างไร)   อุปนิสัย (Trait คือ ลักษณะนิสัยใจคอของบุคคลที่เป็นพฤติกรรมถาวร)  แรงจูงใจ (Motive คือ พลังขับเคลื่อนที่เกิดจากภายในจิตใจของบุคคล ที่จะส่งผลกระทบต่อการกระทำ) 

 ซึ่งทฤษฎีนี้สามารถดึงศักยภาพ หรือ สมรรถนะของบุคคลออกมาได้ โดยการใช้ Interpersonal skill ในรูปแบบ Growth mindset เพื่อพัฒนาและช่วยให้ผู้เรียนสามารถดึงเอาความรู้ความสามารถตลอดจนพฤติกรรมออกมา เพื่อที่จะได้บัณฑิตตามอัตลักษณ์อันพึงประสงค์ คือ

  1. มีความรู้ คือ สิ่งที่ผู้สอนต้องการให้ รู้”
  2. มีทักษะ คือ สิ่งที่ผู้สอนต้องการให้ “ทำ”
  3. พฤติกรรมที่พึงประสงค์ คือ สิ่งที่ผู้สอนต้องการให้ “เป็น” เป็นสิ่งที่อยู่ลึกลงไปในจิตใจ ซึ่งยากกว่าการสร้างความรู้และทักษะ

 ดังนั้นบทบาทหน้าที่ของผู้สอน หรืออาจารย์ จึงมีความสำคัญมากในการสร้างคน หรือผู้เรียนให้มีอัตลักษณ์อันพึงประสงค์ งานสอนจึงเป็นทั้งวิทยาศาสตร์ ศิลปะ และงานประดิษฐ์ ที่สำคัญในการสร้างคนเพื่อพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรือง

ประโยชน์ที่ได้จากเข้าน่วมอบมรมฯ

  1. ประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่

สามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาปรับใช้ในการเรียนการสอนทั้งรูปแบบการสอนที่เป็น Digital Tools หรือ Digital Application มาใช้ เหนือสิ่งอื่นใดในการสอนต้องมี Interpersonal skill ในรูปแบบ Growth mindset เพื่อพัฒนาและช่วยให้ผู้เรียนเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสอบถามอารมณ์ หรือให้พื้นที่สำหรับผู้เรียนในการระบายความรู้สึกภายในออกมา จะช่วยให้ผู้สอนสามารถช่วยเหลือให้คำแนะนำได้

  1. ประโยชน์ต่อหน่วยงาน (ระดับงาน/หลักสูตร/คณะ)

สามารถพัฒนาการเรียนการสอนให้ได้ผู้เรียนที่มีลักษณ์อันพึงประสงค์ตาม PLOs ของหลักสูตรฯ และคณะได้

คำสำคัญ :
กลุ่มบทความ :
หมวดหมู่ :
แชร์ :
https://erp.mju.ac.th/acticleDetail.aspx?qid=1517
ความคิดเห็นทั้งหมด (0)
ไม่มีข้อมูลตามเงื่อนไขที่ท่านกำหนด
รายการบทความการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หมวดหมู่ : กลุ่มงานสายวิชาการ
การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ » การเบิกค่าใช้จ่ายโครงการอย่างไร ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
การบริหารจัดการงบประมาณคณะวิทยาศาสตร์ ภายใต้ระเบียบใหม่ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปีงบประมาณ 2567 ได้มีการปรับเปลี่ยนรายละเอียดเพื่อเอื้อต่อการทำงาน และเพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องได้รับทราบแนวปฏิ...
  กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน นลิน วงศ์ขัตติยะ  วันที่เขียน 28/9/2567 16:33:52  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 13:36:43   เปิดอ่าน 106  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง
เข้าร่วมโครงการ » สรุปเนื้อหาจากการเข้าร่วมอบรมแบบออนไลน์ หลักสูตร Data Science
Data Science เป็นสาขาที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วและมีความสำคัญในโลกธุรกิจและการวิจัย การเข้าใจแนวคิดและเทคนิคพื้นฐาน เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล การเรียนรู้ของเครื่อง และการสื่อสารผลลัพธ์ จะช่วยให้สามาร...
Big Data  Data Analysis  Data Visualization  Machine Learning  Statistics     กลุ่มงานตามสมรรถนะบุคลากร   กลุ่มงานสายวิชาการ
ผู้เขียน จีรวรรณ พัชรประกิติ  วันที่เขียน 7/9/2567 5:45:38  แก้ไขล่าสุดเมื่อ 21/11/2567 8:44:17   เปิดอ่าน 160  ครั้ง | แสดงความคิดเห็น 0  ครั้ง