23210 : โครงการ “แม่โจ้แป้ม่วนอ๊ก ม่วนใจ๋ สืบสานวิถีไทย ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง”
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 10/3/2568 14:26:43
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
24/03/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  60  คน
รายละเอียด  ผู้บริหาร ผู้อาวุโส อาจารย์ เจ้าหน้าที่และนักศึกษา
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน 2568 20,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ว่าที่ ร.ท. พีระสันต์  กระต่ายทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.4.1 ความสำเร็จของแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 68 MJU 2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรม นศ. การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68-2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 68-2.4.1 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 68-2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการทำนุบำรุงและส่งเสริมศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม วัฒนธรรมเกษตร และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

วันสงกรานต์ ตรงกับวันที่ 13 เมษายนของทุกปี คำว่า "สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การเคลื่อนที่ หรือการ เคลื่อนย้าย หมายถึงการเคลื่อนย้ายของพระอาทิตย์จากราศีหนึ่งสู่อีกราศีหนึ่ง คือวันขึ้นปีใหม่นั่นเองตามความหมายในภาษาสันสกฤตสงกรานต์จึงเกิดขึ้นทุกเดือน ส่วนระยะเวลาที่คนไทยเรียก "สงกรานต์” นั้น เป็นช่วงที่พระอาทิตย์เคลื่อนย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ นับว่าเป็นมหาสงกรานต์ เพราะเป็นวันและเวลาตั้งต้นปีใหม่ตามสรุยคติ ช่วงเทศกาลสงกรานต์ คือ วันที่13-14-15 เมษายน โดยเรียกวันที่ 13 เมษายน ว่าวันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เมษายน เป็นวันเนา วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก โดยปัจจุบันได้มีการเปลี่ยนแปลงให้พิธีสงกรานต์นั้นเป็นเทศกาลสงกรานต์ ในพิธีสงกรานต์จะใช้ น้ำ เป็นสัญลักษณ์ที่เป็นองค์ประกอบหลักของพิธี แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ในวันนี้จะใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ มีการรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ต่อมาในสังคมไทยสมัยใหม่เกิดเป็นประเพณีกลับบ้านในช่วงเทศกาลสงกรานต์ นับว่าวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว อีกทั้งยังมีประเพณีที่สืบทอดมาตั้งแต่ดั้งเดิม อย่างการสรงน้ำพระที่นำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข อีกทั้ง การสรงน้ำพระ การรดน้ำขอพรผู้ใหญ่ การเล่นสาดน้ำในคนรุ่นราวคราวเดียวกัน หรือเยาว์กว่า เป็นความงดงามของประเพณี การสืบทอดจรรโลงประเพณีสงกรานต์จึงน่าจะช่วยกันรักษาคุณค่าทางใจ ความมีน้ำใจ การมีสัมมาคารวะและกตัญญู การช่วยเหลือเกื้อกูลต่อธรรมชาติต่อสิ่งแวดล้อม ที่เป็นการดำเนินกิจกรรมสงกรานต์วิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เช่น เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เช่น ใบตอง ใบบัว กล่อง-จานชานอ้อย กะลามะพร้าว เพื่อมอบเป็นของขวัญ ของที่ระลึก ลดวัสดุห่อหุ้มของขวัญที่ไม่จำเป็น เท่ากับลดปริมาณขยะไปในตัว เพื่อไม่ให้เกิดขยะเกินความจำเป็น ใช้น้ำเพียงขันเดียว พรมได้ทั้งวัน เป็นการเล่นสงกรานต์แบบไทย ๆ ย้อนยุค อนุรักษ์ประเพณีแบบโบราณ ไม่เปลืองน้ำ ไม่สาดน้ำด้วยความรุนแรง ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 ธันวามคม 2566 องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม แห่งสหประชาชาติ หรือ “ยูเนสโก” (UNESCO) ประกาศขึ้นทะเบียน “ประเพณีสงกรานต์” ของไทย (Songkran in Thailand, traditional Thai New Year festival) เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ซึ่งถือว่าเป็น Soft Power ที่สำคัญ ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับโลก โดยในส่วนของจังหวัดแพร่ที่มีการส่งเสริมการแต่งกายด้วยผ้าพื้นเมือง หรือ ผ้าหม้อห้อม อันเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่น และถือเป็น Soft Power ที่น่าภาคภูมิใจของชาวแพร่ด้วยเช่นกัน ดังนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ จึงได้เล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าวฯ จึงได้จัดโครงการ “แม่โจ้แป้ม่วนอ๊ก ม่วนใจ๋ สืบสานวิถีไทย ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง” เพื่อเป็นการรักษาศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของไทย และส่งเสริมกิจกรรมที่มีการบูรณาการกับยุทธศาสตร์และอัตลักษณ์การพัฒนามหาวิทยาลัยและส่วนงานด้าน Green U., Eco. U., SDGs, และการสร้าง Soft Power ของจังหวัด

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ได้ร่วมสืบสานและอนุรักษณ์ประเพณีอันดีงามของไทยให้คงสืบไป
2 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมีการบูรณาการกับยุทธศาสตร์และอัตลักษณ์การพัฒนามหาวิทยาลัยและส่วนงานด้าน Green U.,Eco. U., SDGs, และการสร้าง Soft Power ของจังหวัดแพร่
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : สืบสานและอนุรักษณ์ประเพณีปี๋ใหม่เมือง
KPI 1 : จำนวนกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 กิจกรรม 1
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
60 คน 60
KPI 4 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : สืบสานและอนุรักษณ์ประเพณีปี๋ใหม่เมือง
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1
1.1) สรงน้ำพระพุทธรูปและสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในมหาวิทยาลัย
(ศาลเจ้าแม่นางเหลียว/ศาลพ่อขุนณงรักษ์)
1.2) รดน้ำดำหัวผู้อาวุโส
1.3) การเสวนา เรื่อง ตำนานป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง
1.4) การบรรยาย พิเศษ ชุดพื้นเมือง/หม้อห้อม
1.5) การประกวดทำอาหารพื้นเมือง (แกงขนุน) โดยใช้วัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 24/03/2568 - 10/03/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ท.พีระสันต์  กระต่ายทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ธีราพัฒน์  จักรเงิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จันทร์จิรา  นันตา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ละออทิพย์  นะโลกา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ศรีสุดา  ทาหาร (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติ  วานิชดิลกรัตน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สินีนาฏ  สองศรี (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายอภิสิทธิ์  รัตนปภานันท์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ว่าที่ รต.ญ.เจนจิรา  วงศ์โพธิ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางสุธิดา  นะภิใจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางบุษบง  เสนรังษี (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสุทิน  สามาทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายภาคภูมิ  บุญมาภิ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ธนันท์ฐิตา  สะปู (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อุทุมพร  แสงสร้อย (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายเอกลักษณ์  เสาทิ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ถิรนันท์  กิติคู้ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าของที่ระลึก จำนวน 10 ชิ้น ๆ ละ 270 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท
2. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 60 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
3. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 35 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
4. ค่าจ้างเหมาเวทีและเครื่องเสียง เป็นเงิน 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 17,300.00 บาท 0.00 บาท 17,300.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 17300.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 ดำหัวปีใหม่เมืองอธิการบดี,ผู้อาวุโส ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จ.เชียงใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 24/03/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ท.พีระสันต์  กระต่ายทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าของที่ระลึก จำนวน 10 ชิ้น ๆ ละ 270 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 2,700.00 บาท 0.00 บาท 2,700.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2700.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002โครงการปีใหม่เมือง.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
เป็นการดำเนินกิจกรรมสงกรานต์วิถีใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เช่น เลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ เช่น ใบตอง ใบบัว กล่อง-จานชานอ้อย กะลามะพร้าว เพื่อมอบเป็นของขวัญ ของที่ระลึก ลดวัสดุห่อหุ้มของขวัญที่ไม่จำเป็น เท่ากับลดปริมาณขยะไปในตัว เพื่อไม่ให้เกิดขยะเกินความจำเป็น ใช้น้ำเพียงขันเดียว พรมได้ทั้งวัน เป็นการเล่นสงกรานต์แบบไทย ๆ ย้อนยุค อนุรักษ์ประเพณีแบบโบราณ ไม่เปลืองน้ำ ไม่สาดน้ำด้วยความรุนแรง อีกทั้งยังมีการส่งเสริมการแต่งกายด้วย ผ้าพื้นเมือง หรือ ผ้าหม้อห้อม อันเป็นเอก
ช่วงเวลา : 24/03/2568 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ