23206 : โครงการสืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีสืบชะตาหลวงแบบล้านนา
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/3/2568 16:02:32
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
19/03/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  ผู้บริหาร บุคลากร ผู้อาวุโส และนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน 2568 2,500.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ว่าที่ ร.ท. พีระสันต์  กระต่ายทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.4.1 ความสำเร็จของแผนทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
กลยุทธ์ 68 MJU 2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนให้งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมหรือวัฒนธรรมการเกษตร มีการบูรณาการกับกิจกรรม นศ. การเรียนการสอน และการวิจัย
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68-2.4 เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเกษตรและสิ่งแวดล้อม และสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านทุนทางวัฒนธรรม
ตัวชี้วัด 68-2.4.1 จำนวนโครงการ/กิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
กลยุทธ์ 68-2.4.1.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการทำนุบำรุงและส่งเสริมศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม วัฒนธรรมเกษตร และภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเพณีสืบชะตา หรือสืบชาตา เป็นพิธีกรรมที่ชาวล้านนานิยมทำในโอกาสต่างๆ เพื่อต่อดวงชะตาหรือต่ออายุให้ยืนยาว มุ่งหวังมีชีวิตอยู่สุขสบาย ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ มีความเจริญรุ่งเรือง และเพื่อความเป็นศิริมงคล พิธีสิบชะตาเป็นพิธีใหญ่ที่ต้องอาศัยคนและเครื่องประกอบพิธีจำนวนมากพิธีหนึ่ง ชาวบ้านอาจทำพิธีนี้โดยเฉพาะการจัดร่วมกับพิธีอื่นๆ ก็ได้ และอาจจัดขึ้นเพื่อสืบชะตาให้แก่คนทั้งฆราวาสหรือภิกษุ หมู่บ้าน เมือง แม้กระทั่งยุ้งข้าวหรือเหมืองฝายก็ได้ แต่ต้องจัดขึ้นเพื่อสืบชะตาสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพียงอย่างเดียว การสืบชะตาแต่ละสิ่งอาจมีพิธีกรรมที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ซึ่งประเพณีสืบชะตาแสดงให้เห็นถึงการผสมผสานกันระหว่างความเชื่อในศาสนาพุทธ ฮินดู พราหมณ์ ผีสาง เทวดา ประเพณีสืบชะตาไม่เพียงปรากฎแพร่หลายในภาคเหนือของไทยเท่านั้น แต่ยังพบในสังคมของคนไทยใหญ่ ยอง และเขิน บริเวณรัฐฉานของพม่า รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ละว้าในตอนเหนือของไทยด้วย การสืบชะตาไม่ได้ทำเฉพาะกับคนเพียงอย่างเดียว เชื่อว่าเมื่อคนเข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งนั้นจะต้องมีการสืบชะตาต่อเนื่องกันไปด้วย โดยการสืบชะตาอาจแบ่งได้ 3 ประเภท ได้แก่ 1) การสืบชะตาเมือง มีหลักฐานปรากฎมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าสามฝั่งแกน กษัตริย์ล้านนาในราชวงศ์มังราย เชื่อกันว่าการสร้างบ้านแปงเมืองจะต้องมีดวงชะตาเมือง มีจุดศูนย์กลางของเมือง จะต้องหาฤกษ์หายาม ดังนั้นเมื่อบ้านเมืองเจริญรุ่งเรือง ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุขก็มักจะทำพิธีสืบชะตาเมืองเพราะบ้านเมืองนั้นจะต้องมีเทพเจ้าที่ปกปักรักษาคุ้มครอง เช่น พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหลักเมือง การสืบชะตาเมืองจึงเป็นพิธีที่แสดงออกซึ่งความเคารพกตัญญูต่อผู้พิทักษ์รักษาบ้านเมืองให้อยู่รอดปลอดภัย ในทางกลับกันหากมีเหตุการณ์ผิดปกติในบ้านเมืองเป็นเหตุให้ได้รับความเดือดร้อนด้วยประการต่างๆ ก็มักจัดให้มีการสืบชะตาเมืองด้วยเช่นกัน 2) การสืบชะตาบ้าน มีจุดมุ่งหมายเพื่อขับไล่สิ่งที่เป็นเสนียดจัญไรในหมู่บ้าน เพื่อให้เกิดมงคลแก่หมู่บ้านนั้นๆ ในปีหนึ่งมักจะจัดการสืบชะตาบ้านหนึ่งครั้ง และมักทำก่อนเข้าพรรษา บางแห่งก็ทำในวันปากปี และทำกันที่ "หอเสื้อบ้าน" โดยชาวบ้านจะมาช่วยกันเตรียมสถานที่ มีการประดับฉัตร ธง ต้นกล้วย ต้นอ้อย ด้ายสายสิญจน์ ปักธงทิวต่างๆ และบูชาสังเวยท้าวทั้งสี่และเทพยดาอารักษ์ พระเสื้อบ้าน พระเสื้อเมือง 3) การสืบชะตาคน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้อยู่เย็นเป็นสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บมักจะทำพิธีกันที่บ้าน บางแห่งนิยมจัดที่วัด ส่วนพระภิกษูจะทำพิธีในวิหารโดยจัดพิธีเหมือนสืบชะตาคนธรรมดา ดังนั้น ฝ่ายทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ จึงได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม จึงได้ร่วมมือกับทางชาวบ้านและคณะศรัทธาวัดแม่ทราย เพื่อจัดโครงการสืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณ๊สืบชะตาหลวงแบบล้านนาขึ้น เพื่อเป็นศิริมงคลให้แก่ส่วนงาน ผู้บริหาร บุคลากรและนักศึกษา ตามความเชื่อความศรัทธา ตลอดจนได้ตระหนักถึงความสำคัญของประเพณ๊และวัฒนธรรมอันดีของชาวล้านนา และอนรักษ์ให้คงอยู่สืบไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อเสริมสร้างความเป็นศิริมงคลให้แก่ส่วนงาน ผู้บริหาร บุคลากร และนักศึกษา ตามความเชื่อและความศรัทธาของชาวล้านนา
2. เพื่ออนุรักษ์ สืบสานประเพณีอันดีงามของไทยให้คงสืบต่อไป
3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมมีการบูรณาการกับยุทธศาสตร์และอัตลักษณ์การพัฒนามหาวิทยาลัยและส่วนงานด้านการสร้าง Soft Power ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : สืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีสืบชะตาหลวงแบบล้านนา
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 คน 100
KPI 4 : จำนวนกิจกรรมด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมที่สอดคล้องหรือตอบโจทย์ยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 กิจกรรม 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : สืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีสืบชะตาหลวงแบบล้านนา
ชื่อกิจกรรม :
1) พิธีกรรมสวดถอน
2) พิธีสืบชะตาหลวงแบบล้านนา
3) การบรรยายพิเศษ เรื่อง "พิธีกรรม ความเชื่อการสืบชะตาหลวงแบบล้านนา"

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 19/03/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ว่าที่ ร.ท.พีระสันต์  กระต่ายทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ธีราพัฒน์  จักรเงิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จันทร์จิรา  นันตา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สินีนาฏ  สองศรี (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ละออทิพย์  นะโลกา (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธิติ  วานิชดิลกรัตน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ศรีสุดา  ทาหาร (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายอภิสิทธิ์  รัตนปภานันท์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ว่าที่ รต.ญ.เจนจิรา  วงศ์โพธิ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางสุธิดา  นะภิใจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นางบุษบง  เสนรังษี (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายสุทิน  สามาทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายภาคภูมิ  บุญมาภิ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ธนันท์ฐิตา  สะปู (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อุทุมพร  แสงสร้อย (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายเอกลักษณ์  เสาทิ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ถิรนันท์  กิติคู้ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 2,500.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 2500.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
รายการเอกสารประกอบ
ย.002โครงการสิบชะตาหลวง.pdf
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
เป็นการดำเนินกิจกรรมสืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีสืบชะตาหลวงแบบล้านนา ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เช่น การเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในพิธีกรรมที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ต้นอ้อ กาบกล้วย ต้นไผ่ เพื่อเป็นองค์ประกอบในพิธีกรรม ลดวัสดุที่เป็นพลาสติกและกระดาษ เท่ากับลดปริมาณขยะไปในตัวเพื่อไม่ให้เกิดขยะเกินความจำเป็น
ช่วงเวลา : 19/03/2568 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ