23203 : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.อภิญญา ชุ่มอินถา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 6/3/2568 10:34:03
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
14/03/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  นักศึกษา บุคลากร และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน ไม่มีค่าใช้จ่าย 2568 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
นาง สุรัลชนา  มะโนเนือง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 4. การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68 MJU 4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68 MJU 4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-4.การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68-4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68-4.1.3 ระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเร่งพัฒนาผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68-4.1.3.1 สร้างและพัฒนาสิ่งสนับสนุนด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเร่งการพัฒนาผู้ประกอบการของหน่วยงานและมหาวิทยาลัย
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในยุคปัจจุบันที่ผู้บริโภคมีความใส่ใจในสุขภาพเพิ่มมากขึ้น ความต้องการอาหารเพื่อสุขภาพที่ตอบโจทย์ด้านโภชนาการ ความปลอดภัย และไลฟ์สไตล์ที่เร่งรีบกำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่ จึงมีความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมอาหารที่มีคุณค่าและส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของตลาดและสอดคล้องกับแนวโน้มการบริโภคในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนและส่งเสริมคุณภาพชีวิตในทุกมิติ ได้วางยุทธศาสตร์การพัฒนาในฐานะ “มหาวิทยาลัยสีเขียว” (Green University) โดยเน้นการพัฒนานวัตกรรมและทรัพยากรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของนักศึกษา ชุมชน และสังคมโดยรวม โครงการนี้จึงมีบทบาทในการสนับสนุนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ผ่านการพัฒนาองค์ความรู้และผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ นอกจากนี้ โครงการยังส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา คณาจารย์ และชุมชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา การประเมินคุณภาพผลิตภัณฑ์ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ไปจนถึงการจัดการด้านการตลาด ทำให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีโอกาสเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพในกระบวนการสร้างสรรค์นวัตกรรมอาหาร อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาทักษะที่สามารถต่อยอดไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่ โดยใช้วัตถุดิบจากชุมชนและเทคโนโลยีที่ทันสมัย สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยแม่โจ้ที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน
2 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของนักศึกษา คณาจารย์ และชุมชน ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร ตั้งแต่การวิจัย การผลิต ไปจนถึงการจัดการด้านการตลาด เพื่อสร้างองค์ความรู้และทักษะที่สามารถต่อยอดในการพัฒนาชุมชนและอาชีพ
3 เพื่อสนับสนุนมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในการเป็น “มหาวิทยาลัยสีเขียว” (Green University) ผ่านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เน้นการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งสร้างคุณค่าให้กับชุมชนและสังคมโดยรวม
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : จำนวนผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพที่พัฒนา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลิตภัณฑ์ 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้บริโภคยุคใหม่

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 14/03/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
นางสุรัลชนา  มะโนเนือง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศรา  วัฒนนภาเกษม (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ขวัญจรัส  เชิงปัญญา (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.สุภารัตน์  อำนาจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วันวสา  วิโรจนารมย์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.อังคณา  ชมภูมิ่ง (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.บังอร  ปินนะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
นายธนากร  แนวพิชิต (ผู้รับผิดชอบรอง)
น.ส.ธนันท์ฐิตา  สะปู (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
จัดให้นักศึกษาเรียนรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพในผ่านกิจกรรมภาคปฏิบัติ ในรายวิชา 11203363 การแปรรูปธัญพืชในระบบเกษตรป่าไม้และการนำไปใช้ และในรายวิชา 11203362 เทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ผักและผลไม้ในระบบเกษตรป่าไม้ โดยจัดให้นักศึกษาได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมภาคปฏิบัติจริง ซึ่งประกอบด้วยการศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ ตั้งแต่การคัดเลือกวัตถุดิบ การพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ การแปรรูป การประเมินคุณภาพ ไปจนถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ การดำเนินโครงการยังสนับสนุนการวิจัยในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
ช่วงเวลา : 01/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล