23197 : โครงการชีวนวัตกรรมปุ๋ยและวัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินสำหรับระบบเกษตรปลอดภัย/อินทรีย์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.อภิญญา ชุ่มอินถา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 3/3/2568 15:33:22
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
14/03/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  20  คน
รายละเอียด  นักศึกษา บุคลากรของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หรือประชาชนทั่วไปที่สนใจ จำนวน 20 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน ไม่มีค่าใช้จ่าย 2568 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
รองศาสตราจารย์ ดร. ณัฐพร  จันทร์ฉาย
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68 MJU 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68 MJU 1.1.6 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ 68 MJU 1.1.6.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรม รวมทั้งติดตามประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-1.การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68-1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68-1.1.6 ความสำเร็จของยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ (Organic University)
กลยุทธ์ 68-1.1.6.1 กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาสู่มหาวิทยาลัยเกษตรอินทรีย์ที่ชัดเจน และขับเคลื่อนกิจกรรม รวมทั้งติดตาม ประเมินผลอย่างเป็นระบบ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันเกษตรกรนิยมใช้สารเคมีในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตทางการเกษตรมากกว่าสารอินทรีย์ ผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมากตรวจพบสารตกค้างจากการใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดโรคในสิ่งมีชีวิตที่ได้บริโภค นอกจากนี้สารเคมีนั้นย่อมส่งผลเสียหายหลายด้านในระยะยาวได้ ยิ่งใช้เป็นเวลานานจะทำให้ดินเสื่อมโทรมแข็งกระด้าง และทำให้ดินเป็นกรด และปัจจุบันปุ๋ยเคมีมีราคาสูงขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้ต้นทุนทางการเกษตรเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย และยังมีปัญหาหมอกควัน ฝุ่น PM 2.5 ที่เกิดจากการเผาวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอีกด้วย ดังนั้น การนำชีวนวัตกรรมการผลิตปุ๋ยชีวภาพอัดแท่งจากจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจนจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำเกษตรอินทรีย์ เนื่องจากมีจุลินทรีย์ที่ช่วยตรึงไนโตรเจนมีเชื้อแบคทีเรียที่ช่วยในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช หรือ เอนโดไฟติกแบคทีเรีย 3 สายพันธุ์ ประกอบด้วย Pseudoxanthomonas spadix MJUP08, Bacillus nealsonii MJUP09 และ Novosphingobium sp. R96 ที่คัดแยกได้จากพืชอินทรีย์ เช่น ข้าว ผักหวานป่า และห้อม ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในการรักษาคุณภาพดิน ตรึงไนโตรเจนในบรรยากาศและในดินให้อยู่ในรูปของแอมโมเนียม (NH4+) และไนเตรท (NO3+) ช่วยผลิตฮอร์โมน IAA และไซโตรไคนิน โดยสารทั้งหมดที่แบคทีเรียได้สร้างขึ้นล้วนแล้วแต่เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชเป็นอย่างมาก ทั้งช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตจะมีการออกรากที่ยาวขึ้น เพิ่มความสูงของต้น ขนาดกอ เพิ่มผลผลิต ยังยั้งการเกิดโรคกาบใบแห้งของข้าว สามารถควบคุมแมลงพาหะ ลดแมลงก่อโรคในพืชได้โดยทำให้แมลงตาย 6.66-23.33% และแมลงวางไข่ได้ลดลง 30-75% ทำให้เกษตรกรสามารถผลิตข้าวแบบอินทรีย์ได้ และยังเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย โดยเอนโดไฟติกแบคทีเรีย สายพันธุ์ Pseudoxanthomonas spadix MJUP08 ซึ่งสามารถสังเคราะห์สาร IAA สูงถึง 8.15 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร โคยสามารถตรึงไนโตรเจนได้เท่ากับ 0.1120 เปอร์เซ็นต์ และตัววัสดุปรับปรุงดินซึ่งทำมาจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ฝุ่นข้าว ฝุ่นข้าวโพด ก้านตอง เป็นต้น โดยจะนำมาผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่คัดแยกได้ เพื่อผลิตเป็นชีวนวัตกรรมวัสดุปรับปรุงดิน และเป็นการลดการใช้ปุ๋ยเคมี ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นการนำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ให้เกิดมูลค่า ซึ่งสอดคล้องกับหลัก BCG Model เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตรกรรม ซึ่งรัฐบาลได้มีการนำยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio-economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยเป็นระเบียบวาระแห่งชาติและถือเป็นยุทธศาสตร์การพลิกฟื้นเศรษฐกิจโดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน เป็นการลงทุนที่ก่อให้เกิดความคุ้มค่าในระยะยาวโดยรัฐบาลส่งเสริมการนำ BCG Economy Model มาใช้ทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม สนับสนุนให้ประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการพัฒนาผลผลิตและผลิตภัณฑ์ ที่มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมควบคู่การรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน โครงการชีวนวัตกรรมปุ๋ยและวัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินสำหรับระบบเกษตรปลอดภัย/อินทรีย์ เป็นการบริการวิชาการสร้างกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย อันจะตอบสนองสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และเป็นการบูรณาการในรูปแบบของการอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อนำองค์ความรู้ต่อยอด พัฒนาหลักการของการจัดการองค์ความรู้สู่ชุมชน และเป็นแนวทางการพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยรูปแบบการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นในการพัฒนาระบบเกษตรปลอดภัยด้วยการพึ่งพาเทคโนโลยีแบบมีส่วนร่วมของชุมชน และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เพื่อสร้างฐานความรู้ การใช้ทรัพยากรทางการเกษตรอย่างคุ้มค่า เพื่อสร้างระบบเกษตรอย่างยั่งยืน มั่นคงและยั่งยืน ซึ่งมีความพร้อมในการถ่ายทอดเทคโนโลยี ในหลักสูตร “ชีวนวัตกรรมปุ๋ยและวัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินสำหรับระบบเกษตรปลอดภัย/อินทรีย์” ด้วยหลัก BCG Model ผสานชีวนวัตกรรมการผลิตและเกษตรอินทรีย์ภายใต้มาตรฐานการมีส่วนร่วมของเกษตรกร โดยโครงการนำองค์ความรู้และผลงานวิจัยเรื่อง 1) มัชฌิมา ศุภวิมลพันธ์ ณัฐพร จันทร์ฉาย พัชรณัฐ ดาวดึงษ์ ธีราพัฒน์ จักรเงิน และน้ำฝน รักประยูร. (2562). การถอดรหัสภูมิปัญญาฮ่อมในพื้นที่จังหวัดแพร่ : การศึกษาปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของฮ่อม. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2560 2) อัญศญา บุญประจวบ และณัฐพร จันทร์ฉาย. (2561). การคัดแยก และคัดเลือกแบคทีเรียที่ช่วยตรึงไนโตรเจนจากรากห้อม ข้าว และผักหวานป่า รายงานการเรียนรู้อิสระวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ. 67 หน้า. 3) Community BioBank พืชให้สีครามในพื้นที่บ้านนาตองและบ้านแม่ลัว จังหวัดแพร่ ได้รับทุนจากสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (สพภ.) ประจำปี 2562 4) ผลของเอนโดไฟติกเเบคทีเรียต่อคุณภาพการให้สีครามของห้อมในพื้นที่จังหวัดแพร่ ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ประจำปี 2563 5) การพัฒนากระบวนปลูกและการย้อมห้อมธรรมชาติด้วยชีวนวัตกรรม พื้นที่จังหวัดแพร่ ได้รับทุนจาก สวทช. ประจำปี 2563 6) โครงการการเพิ่มศักยภาพและพัฒนากระบวนการปลูกและการย้อมห้อมธรรมชาติด้วยชีวนวัตกรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในรูปแบบวิถีใหม่ (New Normal) ในชุมชนพื้นที่ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ได้รับทุนจาก อว. ประจำปี 2564 7) โครงการส่งเสริมและพัฒนาการเพิ่มผลผลิตห้อมด้วยจุลินทรีย์ตรึงไนโตรเจน ได้รับทุนจาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2564 8) ณัฐพร จันทร์ฉาย อัญศญา บุญประจวบ และฤทธิเกียรติ กรุณา. 2564. ผลของความเป็นกรด-ด่างเริ่มต้นต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพการให้สีครามของห้อม (Baphicacanthus cusia) ในพื้นที่จังหวัดแพร่. การประชุมวิชาการเครือข่ายวิจัยนิเวศวิทยาป่าไม้ประเทศไทย ครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ระหว่างวันที่ 4-5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564. 559-567. (proceeding) 9) โครงการการผลิตปุ๋ยจุลินทรีย์อัดแท่งเพื่อการปลูกกล้วยตานี และการใช้เศษใบตองในการผลิต จาน-ชาม รักษ์โลก ได้รับทุนจาก มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ประจำปี 2565 10) ณัฐพร จันทร์ฉาย. 2565. ผลของเอนโดไฟติกแบคทีเรียต่อการเจริญเติบโตของต้นห้อม. วารสารเกษตรและอาหาร มรวอ. ปีที่ 1(2): 11) สิทธิบัตร : ณัฐพร จันทร์ฉาย. 100%. เรื่อง ปุ๋ยชีวภาพและกรรมวิธีการผลิต. วันที่ขอ 22 มิถุนายน 2563. เลขที่คำขอ 2001003591. 12) อนุสิทธิบัตร : ณัฐพร จันทร์ฉาย. 100%. เรื่อง ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยจากถ่านชาโคลผสมวัสดุรองรับอินทรีย์. วันที่ขอ 4 เมษายน 2565. เลขที่คำขอ 2203000820. 13) อนุสิทธิบัตร : ณัฐพร จันทร์ฉาย. 100%. เรื่อง กระบวนการผลิตปุ๋ยก้านตอง. วันที่ขอ 4 เมษายน 2565. เลขที่คำขอ 2203000823.

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ชีวนวัตกรรมปุ๋ยและวัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินสำหรับระบบเกษตรปลอดภัย/อินทรีย์
2. เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร และลดการใช้สารเคมี
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ชีวนวัตกรรมปุ๋ยและวัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินสำหรับระบบเกษตรปลอดภัย/อินทรีย์
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
20 คน 20
KPI 2 : โครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : ร้อยละความรู้ที่เพิ่มขึ้นของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 4 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ชีวนวัตกรรมปุ๋ยและวัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินสำหรับระบบเกษตรปลอดภัย/อินทรีย์
ชื่อกิจกรรม :
การอบรมเชิงปฏิบัติการ อบรมให้ความรู้ชีวนวัตกรรมปุ๋ยและวัสดุอินทรีย์ปรับปรุงดินสำหรับระบบเกษตรปลอดภัย/อินทรีย์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 14/03/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.พัชรณัฐ  ดาวดึงษ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.วัชรี  เลขะวิพัฒน์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ธีราพัฒน์  จักรเงิน (ผู้รับผิดชอบรอง)
รองศาสตราจารย์ ดร.วีรนันท์  ไชยมณี (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
นำไปบูรณาการในการเรียนการสอนวิชา 11214373 การใช้ประโยชน์จากของเสียและการบำบัดมลพิษทางชีวภาพ จำนวน 4 คน และวิชา ผส 461 การจัดการของเสียปศุสัตว์ จำนวน 40 คน
ช่วงเวลา : 01/10/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล