23117 : โครงการการผลิตพลังงานทดแทนและการบริหารจัดการน้ำสำหรับห้องน้ำ ห้องสุขา เพื่อนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.อภิญญา ชุ่มอินถา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 14/2/2568 15:12:48
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
24/02/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักศึกษาสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้ บุคลากรมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ ฯ และผู้สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน ไม่มีค่าใช้จ่าย 2568 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. ธรรมศักดิ์  พันธุ์แสนศรี
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 5. มีความมั่นคงทางการเงินและเติบโตอย่างยั่งยืน (Financial Sustainability)
เป้าประสงค์ 68 MJU 5.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความมั่นคงทางงบประมาณและทรัพยากรอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด 68 MJU 5.1.4 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
กลยุทธ์ 68 MJU 5.1.4.1 กำหนดนโยบาย รณรงค์ กำกับติดตาม และสร้างจิตสำนึกการประหยัดพลังงานแก่ทุกส่วนงาน
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-5. มีความมั่นคงทางการเงินและเติบโตอย่างยั่งยืน (Financial Sustainability)
เป้าประสงค์ 68-5.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความมั่นคงทางงบประมาณและทรัพยากรอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด 68-5.1.4 ปริมาณการใช้ไฟฟ้าเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา
กลยุทธ์ 68-5.1.4.1 กำหนดนโยบาย รณรงค์ กำกับติดตาม และสร้างจิตสานึกการประหยัดพลังงานแก่ทุกฝ่ายงาน
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วทางภาคเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม รวมทั้งการเพิ่มจำนวนประชากรอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความต้องการพลังงานภายในประเทศสูงขึ้นโดยตลอดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาอัตราการใช้พลังงานในประเทศไทยเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 13 ต่อปี และมีแนวโน้มว่าจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปในอัตราสูง ด้วยเหตุที่ความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับแหล่งพลังงานภายในประเทศมีจำกัด จึงจำต้องอาศัยการนำเข้าเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพลังงานด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งถือเป็นพลังงานสิ้นเปลือง ทำให้สัดส่วนการพึ่งพาจากต่างประเทศสูงกว่าร้อยละ 60 เมื่อเทียบกับการใช้พลังงานทั่วทั้งประเทศคิดเป็นเงินตราต่างประเทศที่สูญเสียไปกว่าปีละ 155,000 ล้านบาท (ข้อมูลจาก กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ) นอกจากนี้ในด้านสิ่งแวดล้อมยังพบว่า การผลิตพลังงานไฟฟ้าได้สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจำนวนมาก เช่น การปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศ อันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นด้านสังคม พบว่า การผลิตพลังงานไฟฟ้ามีส่วนกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนที่อยู่โดยรอบโครงการ เช่น การสร้างผลกระทบต่อสุขภาพในกรณีของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เป็นต้น ดังนั้นความไม่ยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมที่แต่ละชุมชนต้องประสบจากโครงการพัฒนาด้านพลังงานไฟฟ้า จึงกลายเป็นความไม่มั่นคงทางสังคม และกลายเป็นข้อขัดแย้งที่ยืดเยื้อยาวนานในสังคมไทย จนทำให้เราต้องกลับมามองหาพลังงานทดแทนหรือพลังงานทางเลือกที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาทิเช่น พลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ ในปัจจุบันมีหลายหน่วยงานให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทดแทน โดยพลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานทดแทนที่ได้รับความสนใจมากที่สุด เนื่องจากสามารถใช้ได้อย่างไม่สิ้นสุด เหมาะสมสำหรับประเทศไทยและเป็นพลังงานที่สะอาดปราศจากมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม หากนำมาผลิตเป็นไฟฟ้าจะช่วยลดการใช้พลังงานสิ้นเปลืองประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและลดการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศ เป็นการสนับสนุนและตอบสนองมาตรการประหยัดพลังงานของรัฐบาล ทั้งนี้ ขนาดและที่ตั้งของประเทศไทย ซึ่งมีขนาด 513,115 ตารางกิโลเมตรตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 5 องศาเหนือ ถึง 22 องศาเหนือ และเส้นแวนที่ 96 องศาตะวันออก ถึง 106 องศาตะวันออก ทำให้นอกจากจะได้รับพลังงานแสงอาทติย์ต่อปีสูงถึง 9.47 x 1014 kWh แล้วแต่ละเดือนยังได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ค่อนข้างสม่ำเสมอเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงประมาณ ± 20 % ของค่าเฉลี่ย นอกจานี้ค่าความเข้มพลังงานแสงอาทิตย์ของจังหวัดต่างๆ อยู่ในช่วง 4.45 – 5.59 kW h/m2 /day และด้วยมหาวิทยาลัยแม่โจ้–แพร่ เฉลิมพระเกียรติ มีพันธกิจหลักในด้านการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ อดทน สู้งาน ดังนั้น นอกจากภาระงานด้านการเรียนการสอนแล้ว ยังมีภาระงานด้านการวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม อีกด้วย โดยการนำความรู้ที่ได้จากงานวิจัยมาบริการวิชาการ หรือนำมาถ่ายทอดสู่ชุมชน ท้องถิ่น จังหวัด ฯลฯ เพื่อการพัฒนาและการแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้–แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ถือเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมทั้งทางด้านพื้นที่ บุคลากร และมีความต้องการพลิกโฉมมหาวิทยาลัยในด้านระบบนิเวศด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม ประกอบกับทางโรงเรียนบ้านหนองแค ได้ดำเนินกิจกรรมการขับเคลื่อนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการศึกษา และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ทาโรงเรียนได้ให้ความสำคัญในด้านการใช้พลังงาน ส่งเสริมและปลูกฝังให้นักเรียนรู้จักและเห็นคุณค่าของการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ได้ขอความอนุเคราะห์ให้ ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธรรมศักดิ์ พันธุ์แสนศรี สังกัดมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ เป็นที่ปรึกษาและออกแบบพร้อมติดตั้งระบบพลังงานผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ดังนั้น เพื่อประโยชน์ที่จะเกิดกับโรงเรียนบ้านหนองแค นักเรียน และนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้–แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงได้จัดโครงการ “การผลิตพลังงานทดแทนและการบริหารจัดการน้ำสำหรับห้องน้ำ ห้องสุขา เพื่อนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้” บูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนในรายวิชา มพ 201 เทคโนโลยีพลังงานทดแทนสำหรับการเกษตรและชีวิต ซึ่งนักศึกษาลงทะเบียนเรียน จำนวน 30 คน และรายวิชา มพ 202 การจัดการพลังงานสำหรับการเกษตรและชีวิต ซึ่งนักศึกษาลงทะเบียนเรียน จำนวน 24 คน ปีการศึกษา 2/2567 ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนักถึงปัญหา การใช้ประโยชน์และสร้างแรงจูงใจให้กับนักศึกษาและประชาชน ซึ่งโครงการนี้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 5 คือ ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เป้าประสงค์ที่ 5.3 พัฒนาและใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในทุกภาคเศรษฐกิจ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของจังหวัดชัยนาท ในประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 คือ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน แนวทางการพัฒนาที่ 8 อนุรักษ พลังงาน และสนับสนุนการใช้พลังงานทดแทนสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการมหาวิทยาลัยแม่โจ้ในมิติที่ 1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก (SPO) เป้าประสงค์ที่ 1.2 ความสำเร็จของการเป็นมหาวิทยาลัยแห่งชีวิต (GO. Eco U.) ตัวชี้วัดที่ 1.2.2 คะแนนการจัดอันดับ Green University Ranking (Green University) และตัวชี้วัดที่ 1.2.3 ผลการจัดอันดับ SDG Impact Ranking (Eco. University) และยังสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อ 7. สร้างหลักประกันว่าทุกคนเข้าถึงพลังงานสมัยใหม่ในราคาที่สามารถซื้อหาได้ เชื่อถือได้และยั่งยืน และข้อ 13. ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อบูรณาการงานบริการวิชาการร่วมกับการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
2 เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการผลิตพลังงานทดแทนและการบริหารจัดการน้ำให้แก่นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : การผลิตพลังงานทดแทนและการบริหารจัดการน้ำสำหรับห้องน้ำ ห้องสุขา เพื่อนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้
KPI 1 : ร้อยละความรู้ความเข้าใจในเรื่องการผลิตพลังงานทดแทนและการบริหารจัดการน้ำ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : การผลิตพลังงานทดแทนและการบริหารจัดการน้ำสำหรับห้องน้ำ ห้องสุขา เพื่อนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมป่าไม้
ชื่อกิจกรรม :
1 ภาคทฤษฎี การผลิตพลังงานทดแทนและการบริหารจัดการน้ำ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 24/02/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธรรมศักดิ์  พันธุ์แสนศรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประดุง  สวนพุฒ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อิสรีย์  ฮาวปินใจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ศิริลักษณ์  สุขเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
2 ภาคปฏิบัติ การผลิตพลังงานทดแทนและการบริหารจัดการน้ำ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 24/02/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธรรมศักดิ์  พันธุ์แสนศรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประดุง  สวนพุฒ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อิสรีย์  ฮาวปินใจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ศิริลักษณ์  สุขเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
ชื่อกิจกรรม :
3 ติดตามและประเมินผล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 24/02/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธรรมศักดิ์  พันธุ์แสนศรี (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประดุง  สวนพุฒ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อิสรีย์  ฮาวปินใจ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.จิรพงศ์  ศรศักดานุภาพ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ศิริลักษณ์  สุขเจริญ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
หมวดรายจ่าย » รายจ่ายดำเนินงาน
ไม่มีค่าใช้จ่าย
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
สถานการณ์ โรคระบาด Covid-19
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ใช้มาตรการป้องกันโรคระบาด Covid-19
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล