23095 : โครงการพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น (Local Entrepreneurs) บนฐานทรัพยากรชีวภาพ (BCG Economy) ให้กับนักศึกษาสาขารัฐศาสตร์
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 11/2/2568 11:46:01
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
26/02/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  32  คน
รายละเอียด  นักศึกษาสาขารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้- แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 27 คน และคณาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้- แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 5 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ที่จัดสรรให้สาขาวิชารัฐศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ 2568 19,250.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ธนวัฒน์  ปินตา
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 4. การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68 MJU 4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68 MJU 4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-4.การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68-4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68-4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68-4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

กระแสการพัฒนารวมถึงความเปลี่ยนแปลงของกระแสธารในระดับโลกได้เคลื่อนย้ายอย่างรวดเร็ว มาตรการจากการจัดระเบียบโลกใหม่ (New World Order Era) ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญในการตัดสินใจในทางนโยบายของรัฐมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อประเด็นความเปลี่ยนแปลงของสังคม การเมืองรวมถึงระบบเศรษฐกิจ สถานการณ์และแนวโน้มทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจโลก ตลาดการเงินโลกเข้าสู่สถานการณ์ไร้พรมแดน ความเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดส่งผลให้ความสัมพันธ์ของผู้คนแยกห่างออกจากันผ่านโครงสร้างเศรษฐกิจ การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นแนวคิดที่เกิดจากผลกระทบที่ส่งผลให้ฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงฐานทรัพยากรทางชีวภาพ ลดหาย เสื่อมถอย จนทำให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อันมีสาเหตุสำคัญที่เกิดจากการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทางในระบบทุนนิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อโลกก้าวเข้าสู่ความเป็นโลกาภิวัตน์ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การดำเนินการของกลไกตลาดที่ผูกขาดการจัดการและความมั่งคั่ง ก่อให้เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เน้นการใช้ประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจนเกินศักยภาพของทรัพยากร รวมไปถึงกระแสการบริโภคเพิ่มขึ้นในโลกหลายเท่าทวีคูณ อันส่งผลเสียคือสิ่งแวดล้อมชีวิตมนุษย์ สัตว์ และพืชต่างๆ แนวความคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable Development) เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องจากรายงานการศึกษาการพัฒนาและสภาวะแวดล้อมของโลกในปี ค.ศ.1987 ที่รู้จักกันในชื่อ Brundtland Report ซึ่งมีชื่อเรียกเป็นทางการว่า “Our Common Future” รายงานฉบับนี้นิยามคำว่า การพัฒนาแบบยั่งยืน ว่าหมายถึง “การพัฒนาที่สามารถสนองตอบความต้องการของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบันโดยไม่กระทบกระเทือนต่อศักยภาพต่อการตอบสนองความต้องการของคนในอนาคต” กลยุทธ์การพัฒนาในแนวทางนี้คือ การใช้ทรัพยากรอย่างระมัดระวัง การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนระดับรากหญ้าในกระบวนการพัฒนา การใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและประหยัดพลังงาน ถึงแม้รายงานฉบับนี้จะยอมรับว่าคนในประเทศที่พัฒนาแล้วใช้พลังงานและทรัพยากรมากกว่าคนในประเทศด้อยพัฒนา แต่ก็ยังมีความเห็นว่าความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในประเทศกำลังพัฒนาเป็นปัจจัยสำคัญในการที่จะทำให้คนจนในประเทศด้อยพัฒนาเคลื่อนย้ายจากภาคการผลิตแบบยังชีพซึ่งมีนัยของการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำกินเมื่อมีโอกาสทางเศรษฐกิจในภาคการผลิตอื่นที่ดีกว่า (จามะรี เชียงทอง, 2549) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนในเชิงสำนึกร่วมของพลเมืองโลก ที่ต้องการเห็นอนาคตของแนวทางในการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนความยั่งยืน (Sustainable) ความเป็นธรรม (Justice) ความเท่าเทียม (Equity) โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติ (Dimensions) ของเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความเชื่อมโยงกันโดยจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนา ประเทศไทยดำเนินงานตามแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างจริงจังนับตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) โดยมุ่งเน้นการพัฒนาคนเป็นศูนย์กลาง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการกระจายทรัพยากรธรรมชาติอย่างเป็นธรรม ต่อมาได้อัญเชิญหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นหลักของการพัฒนาประเทศไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549) มาจนถึงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2565-2569) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาอย่างสมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม ศาสนา ความรู้และเทคโนโลยี โดยคำนึงถึงความพอประมาณหรือความพอดี ความมีเหตุผลหรือการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและรอบคอบ และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวหรือการเตรียมพร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ตลอดจนมีการใช้ความรู้ หรือการพิจารณาใช้ความรู้เชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ เพื่อประกอบการวางแผนและการปฏิบัติ และมีคุณธรรม หรือความซื่อสัตย์สุจริต ขยัน อดทน สามัคคี แบ่งปัน ในการประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, มปป.) บนฐานการทำงานในมิติการพัฒนาที่ยั่งยืน จำเป็นต้องยึดโยงความสัมพันธ์กับผู้คน ประชาชนในระดับต่าง ๆ โดยเฉพาะในระดับท้องถิ่น โดยการพัฒนาดังกล่าวต้องนำไปสู่การพัฒนาระบบการผลิต รวมถึงเศรษฐกิจของชุมชนในเติบโตควบคู่ไปกับอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ดังนั้นเอง การยกระดับเศรษฐกิจท้องถิ่นจึงต้องตั้งอยู่บนฐานทรัพยากรทางชีวภาพ ที่ต้องการการเชื่อมโยงพลังที่สำคัญประการหนึ่งคือการดึงเอาพลังของระบบตลาดเข้ามาเป็นจุดเชื่อมโยงการยกระดับจากกลุ่มเกษตรกร กลุ่มอาชีพ กลุ่มประชาชนในระดับท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ ผ่านการพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น โดยมีกรอบคิดที่น่าสนใจไม่ว่า 1) การคิดริเริ่มสร้างสรรค์ความคิดใหม่ 2) การรวบรวมทรัพยากรทางเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้เกิดธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ต้องการ 3) การยอมรับความเสี่ยงหรือความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งสัมพันธ์กับงานของ Timmons (1990: 5) ที่มองว่า ความเป็นผู้ประกอบการ หมายถึง กระบวนการในการสร้างหรือ แสวงหาโอกาสและดำเนินการให้เกิดขึ้น แม้อาจไม่สามารถควบคุมทรัพยากรที่ใช้ได้ทั้งหมด ความเป็น ผู้ประกอบการเกี่ยวข้องกับการให้ความหมายหรือแนวคิด การสร้างธุรกิจใหม่ และการกระจาย ผลประโยชน์และคุณค่าแก่บุคคล องค์กร และสังคม ทว่าความสำคัญของการเป็นผู้ประกอบการต้องการสะท้อนให้เห็นจินตภาพของระบบที่เรียกว่า “Marketplace” ที่เป็นระบบพื้นที่กลางเพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบปะแลกเปลี่ยนสินค้า การบริการ รวมถึงการถ่ายโอนความรู้ ผ่องถ่ายการพัฒนาระบบธุรกิจ ทั้งในรูปแบบ Offline Marketplace เช่น ตลาดนัด ศูนย์การค้าต่าง ๆ รวมไปถึง Online Marketplace เช่น เว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ แต่เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปการตลาดออนไลน์เริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้ Online Marketplace เป็นที่นิยมมากขึ้นด้วย แนวทางดังกล่าวอาจปรากฏให้เห็นในลักษณะการทำการตลาดแบบ B2B Marketing การทำการตลาดระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ เช่น บริษัทขายอุปกรณ์สำนักงานต่าง ๆ ธุรกิจประเภทนี้เป็นแบบ B2B หรืออีกนัยหนึ่ง B2B marketing คือกิจกรรมการตลาดที่ก่อให้เกิดยอดขายที่มีผลต่อห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) นำไปสู่การผลิตออกมาเป็นสินค้าปลายทาง (Finished Product) ขายสู่ผู้บริโภคปลายทาง หากทว่าความท้าทายที่ต้องการไปมากกว่า B2B คือระบบ B2C หรือ ระบบธุรกิจตลาดกับชุมชน ซึ่งจะทำให้เกิดความสัมพันธ์ในมิติทางสังคมได้อย่างชัดเจนและสามารถพัฒนาไปสู่ความยั่งยืนของชุมชนบนฐานการผลิตและเศรษฐกิจบนตลาดที่เน้นความเป็นธรรมของการค้า หรือที่เรียกว่า ธรรมาภิบาลการค้า หากทว่าการขับเคลื่อนในช่วงที่ผ่านมาเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) ที่จะต้องอาศัยพลังของภาคีทางสถาบันวิชาการ สถาบันทางเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการที่มีทักษะเข้ามายกระดับกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะที่เป็น Learning Curve Platform ดังนั้นเองพลังความร่วมมือแบบใหม่ (Collaborative Approach) ว่าด้วยขับเคลื่อนของกลุ่มภาคประชาชนไปสู่พัฒนาพลังของการเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น (Local Entrepreneur) ที่เชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานรากและเศรษฐกิจหมุนเวียน จะต้องมีกลไกและสร้างกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะที่เป็น Learning Curve Platform เพื่อให้คนรุ่นใหม่ ผู้ประกอบการในท้องถิ่นสามารถพัฒนาเศรษฐกิจของท้องถิ่นที่จะเชื่อมกลไกตลาดชุดใหม่อย่างมีพลังและเป็นระบบ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อพัฒนาพัฒนาทักษะและองค์ความรู้การเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น (Local Entrepreneurs) บนฐานทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืนให้กับนักศึกษาและบุคลากรใน สาขาวิชารัฐศาสตร์
2 เพื่อยกระดับความรู้และแนวคิดในเชิงปฎิบัติการในมิติการพัฒนาเศรษฐกิจฐานชีวภาพ (BCG Economy) อย่างยั่งยืนให้กับนักศึกษาและบุคลากรในสาขาวิชารัฐศาสตร์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ทักษะและองค์ความรู้การเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น (Local Entrepreneurs) บนฐานทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน
KPI 1 : สื่อเผยแพร่/ Social Network
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชุด 1
KPI 2 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
32 คน 32
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : รายงานจากการศึกษาของนักศึกษา
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
2 ผลงาน 2
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ทักษะและองค์ความรู้การเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น (Local Entrepreneurs) บนฐานทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเชิงปฏิบัติการ "การพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการท้องถิ่น (Local Entrepreneurs) บนฐานทรัพยากรชีวภาพ (BCG Economy) "

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/02/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ธนวัฒน์  ปินตา (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โอฬาร  อ่องฬะ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัญจพร  คำโย (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เกศินี  วีรศิลป์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.อุบลวรรณ  สุภาแสน (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 2 วัน ๆ ละ 2 คัน ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท
2. ค่าที่พัก จำนวน 1 คืน ๆ ละ 15 ห้อง ๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
3. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 32 คน ๆ ละ 1 มื้อ ๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 19,100.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 19,100.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 150 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 150.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 150.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 19250.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล