รัฐบาลตระหนักและให้ความสำคัญของการได้รับสารอาหารที่มีคุณค่าตามหลักโภชนาการ ตลอดจนมุ่งที่จะแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของเด็ก และส่งเสริมให้เด็กทุกคนได้รับอาหารอย่างครบถ้วน ตามหลักโภชนาการ อีกทั้ง ภาวะทุพโภชนาการของนักเรียนก็ยังมีแนวโน้มที่สูงขึ้น จากระบบรายงาน Health Data Center (HDC) ของกระทรวงสาธารณสุข ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา (2557 – 2562) พบว่า เด็กวัยเรียนอายุ 6 - 14 ปี มีภาวะโภชนาการอยู่ในเกณฑ์สูงดีสมส่วน ร้อยละ 64.3, 64.2, 63.2, 65.2, 65.5 และ 61.5 ตามลำดับ แสดงให้ เห็นแนวโน้มลดลงและไม่บรรลุค่าเป้าหมาย (ร้อยละ 66) ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน พบร้อยละ 9.7, 10.2, 11.1, 11.1, 11.1 และ 11.7 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นและสูงกว่าค่าเป้าหมาย (ไม่เกินร้อยละ 10) ส่วนภาวะ ผอม พบร้อยละ 5.6, 5.6, 5.6, 5.0, 4.7 และ 5.1 ตามลำดับ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้นและสูงกว่าค่าเป้าหมาย (ไม่เกินร้อยละ 5) ภาวะเตี้ย พบร้อยละ 6.6, 6.1, 5.9, 5.1, 5.5 และ 8.9 ตามลำดับ มีแนวโน้มสูงขึ้นและ สูงกว่าค่าเป้าหมาย (ไม่เกินร้อยละ 5) เช่นกัน กล่าวโดยสรุปได้ว่าสถานการณ์ภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียน เกณฑ์สูงดีสมส่วนมีแนวโน้มลดลง แต่ภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ภาวะเตี้ย ภาวะผอม มีแนวโน้มสูงขึ้น ในการสำรวจ พฤติกรรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ของกรมอนามัย
ดังนั้น การจัดโครงการประเมินภาวะโภชนาการและความเสี่ยงด้านสุขภาพนักศึกษาใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2568 ในครั้งนี้ เพื่อทราบบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคุณภาพด้านอาหารและโภชนาการในมหาวิทยาลัย รวมทั้ง ปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะ แนวทางแก้ไขในการดำเนินงาน เพื่อพัฒนากรอบแนวทางการพัฒนาการบริหาร จัดการด้านอาหารและโภชนาการในโรงเรียน สำหรับนำไปขับเคลื่อนเชิงนโยบายให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน ให้การดำเนินงานอาหารในมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพมากขึ้น นักศึกษามีภาวะโภชนาการดีขึ้น และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี
|