ภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดเป็นมรดกทางความคิดของชุมชนทางสังคม ที่คงอยู่ในสังคมไทยเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบันและวิถีการดำเนินชีวิตที่เชื่อมโยงกับประวัติศาสตร์สืบต่อกันมาโดยภูมิปัญญาเหล่านี้ นอกจากแสดงความเป็นไทย ความเป็นเอกลักษณ์ไทยอย่างหนึ่งแล้ว ยังเป็นเครื่องชี้วัดความเจริญและพัฒนาการของคนในชาติไทย นอกจากนี้ภูมิปัญญาท้องถิ่นยังสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์คนกับคน คนกับธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมและคนกับสิ่งที่เหนือธรรม รวมไปถึงกิจกรรมทุกอย่างในการดำรงชีพของคนในชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นจัดเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาชีวิตของคนในชุมชนและสังคม ในด้านเศรษฐกิจและด้านสังคมที่เคียงคู่กันมาตลอด จัดได้ว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นปัจจัยพื้นฐานแห่งการดำรงชีพในการพัฒนาสังคมไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ภูมิปัญญาท้องถิ่นยังมีลักษณะเป็นพลวัตที่เปลี่ยนแปลงได้ตาม สภาวะแวดล้อม กาลเวลา และกระแสวัฒนธรรมใหม่ ดังนั้น จึงต้องมีแนวทางในการจัดการภูมิปัญญา เพื่อให้ภูมิปัญญาที่นั้นคงอยู่ หรือปรับปรุงให้เหมาะสมกับยุคสมัย การจัดการความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นนวัตกรรมหนึ่งในการนำมาเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ เชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยโครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดการนำทุนทางสังคมวัฒนธรรม ทุนทางปัญญา นำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาจัดการความรู้เพื่อสร้างคุณค่าทางสังคม เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจนำไปสู่ทักษะอาชีพการพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถสนับสนุนยุทศาสตร์ด้านการทำนุบำรุงและส่งเสริมศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม วัฒนธรรมเกษตร และภูมิปัญญาท้องถิ่นตามยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ดังนั้นรูปแบบการจัดการความรู้ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นจัดเป็นเครื่องมือที่เหมาะสมที่จะสามารถอนุรักษ์และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่คู่กับชุมชนทางสังคมต่อไป