23022 : โครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษาระหว่างประเทศเพื่อขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 23/1/2568 11:02:25
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
29/01/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  10  คน
รายละเอียด  อาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ (งบพัฒนานักศึกษา) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 2568 100,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิรดี  เสียงสืบชาติ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 3. การขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติ (International)
เป้าประสงค์ 68 MJU 3.1 ความสำเร็จในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 68 MJU 3.1.3 จำนวนอาจารย์/นักวิจัยแลกเปลี่ยน หรือบุคลากรชาวต่างชาติ (Inbound/Outbound)
กลยุทธ์ 68 MJU 3.1.3.1 เพิ่มจำนวนคณาจารย์และนักวิจัยแลกเปลี่ยนกับต่างชาติ (Visiting Professor) ทั้ง Inbound และ Outbound
ตัวชี้วัด 68 MJU 3.1.4 จำนวนนักศึกษาแลกเปลี่ยนทุกระดับ ทุกหลักสูตร หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมชาวต่างชาติ (Inbound/ Outbound)
กลยุทธ์ 68 MJU 3.1.4.1 เพิ่มจำนวนนักศึกษาต่างชาติ และนักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้ง Inbound และ Outbound
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-3 การขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติ (International)
เป้าประสงค์ 68-3.1 ความสำเร็จในการขับเคลื่อนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในระดับนานาชาติ
ตัวชี้วัด 68-3.1.1 จำนวนอาจารย์/นักวิจัย/นักศึกษาแลกเปลี่ยนทุกระดับทุกหลักสูตร หรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมชาวต่างชาติ (Inbound/ Outbound)
กลยุทธ์ 68-3.1.1.1 เพิ่มจำนวนคณาจารย์และนักวิจัย/นักศึกษาแลกเปลี่ยนกับต่างชาติ (Visiting Professor) ทั้ง Inbound และ Outbound
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปลายปี พ.ศ. 2558 ประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้มีการรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งในการรวมกันของกลุ่มประเทศนั้น เป็นการนำมาทั้งโอกาสและภัยคุกคามต่างๆ โดยเฉพาะมีการแข่งขันในทุกๆ ด้านที่เสรีมากขึ้น ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องมีการเตรียมความพร้อมให้ทรัพยากรมนุษย์มีความสามารถแข่งขันและมีศักยภาพเท่าเทียมกับนานาประเทศที่อยู่ในอาเซียนได้นั้น เพื่อไม่ให้ประเทศไทยเสียเปรียบประเทศอื่นๆ และยังเป็นการสร้างโอกาสให้กับคนไทยในการแข่งขัน นอกจากนั้นยังเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านด้วย มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จึงควรมีการจัดโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษาระหว่างประเทศ เพื่อดำเนินการแลกเปลี่ยนอาจารย์/นักวิจัย ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ และอาจารย์/นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ และแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างประเทศ ในลักษณะของการศึกษาดูงานด้านการเรียนการสอน การบรรยายแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ การทำวิจัยร่วมกัน ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้บุคลากร/นักศึกษาได้เรียนรู้ และมีประสบการณ์การใช้ชีวิตต่างแดน ที่ไม่เพียงแต่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาการ แต่ยังเป็นโอกาสในการเรียนรู้ สังคม วัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป สร้างเสริมประสบการณ์ให้บุคลากร/นักศึกษาได้พัฒนาตัวเอง นอกจากนั้นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับองค์กรต่างๆ ระหว่างประเทศของสถาบันอุดมศึกษา มีส่วนสำคัญยิ่งในการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีกับต่างประเทศ เพื่อตอบสนองนโยบายการพัฒนา ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในการสร้างและขยายพันธมิตรในต่างประเทศ โดยอาศัยการผสมผสานความชำนาญการของกันและกัน ซึ่งก่อให้เกิดความร่วมมืออันดีเพื่อสนับสนุนการศึกษา ภาษา ศิลปวัฒนธรรม การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และการศึกษาในปัจจุบันควรมีการดำเนินกิจกรรมของสาขาที่เน้นการมีส่วนร่วมของนักศึกษา การฝึกปฏิบัติ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ตามกระบวนการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้หลักการ Active Learning ในกระบวนการเรียนการสอน อีกทั้งการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบันทั้งในด้านการพัฒนาการใช้ชีวิต การพัฒนาทางด้านนวัตกรรม หรือเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสอดคล้องตามนโยบายการบริหารของรัฐบาลสนับสนุนการต่อยอดพัฒนาและเสริมสร้างทรัพยากรมนุษย์ การปฏิรูปการเรียนรู้แบบพลิกโฉม เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) ดังนั้นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศจะส่งเสริมให้มหาวิทยาลัยได้มีโอกาสนำความรู้ใหม่ๆ ที่ได้รับมาประยุกต์ใช้ประกอบการสอน และเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมต่อไป ซึ่งในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมานั้นในปี 2563-2565 ด้วยสถานการณ์การระบาดของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยนส่วนใหญ่ ดำเนินกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งไม่ส่งผลต่อการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์อย่างเป็นรูปธรรม และเมื่อสถานการณ์การระบาดคลี่คลาย ในปี 2566 เป็นต้นมา เริ่มมีกิจกรรมการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนขึ้น ทั้งในลักษณะการศึกษาดูงานในระดับสาขาวิชา การรับงบประมาณสนับสนุนจากส่วนงานอื่นๆ รวมถึงงบประมาณส่วนบุคคล เพื่อให้เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จึงมีความประสงค์ในการยื่นขอจัดสรรงบประมาณสำหรับผลักดันยุทธศาสตร์ ข้อที่ 3.1 การขับเคลื่อนความเป็นนานาชาติ (International)

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อให้บุคลากร/นักศึกษาในมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ ได้รับประสบการณ์ทั้งทางด้านวิชาการ และประสบการณ์ชีวิตในสังคมต่างประเทศจากการเรียนรู้โดยตรง และนำความรู้ที่ได้รับมาช่วยพัฒนาทักษะในการเรียนให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้น
2 เพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมความร่วมมือ ทางวิชาการ วิจัย แลกเปลี่ยน นักศึกษา/อาจารย์/บุคลากร ระหว่างประเทศ
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : อาจารย์/นักวิจัย และนักศึกษาแลกเปลี่ยน
KPI 1 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : จำนวนอาจารย์/นักวิจัย และนักศึกษาแลกเปลี่ยน Inbound และ Outbound
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
10 คน 10
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : อาจารย์/นักวิจัย และนักศึกษาแลกเปลี่ยน
ชื่อกิจกรรม :
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาด้านงานวิชาการ วิจัย และความร่วมมือในระดับนานาชาติ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 29/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภิรดี  เสียงสืบชาติ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
1.1 ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางต่างประเทศ จำนวน 10 คนๆ ละ 5 วันๆ ละ 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท 0.00 บาท 100,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 100000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล