22908 : โครงการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของผลงานวิจัยที่ได้รับงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐานมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางณฤทัย จินวงค์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 6/2/2568 10:52:25
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/01/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 2568 400,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุบรรณ  ฝอยกลาง
นาย สมยศ  มีสุข
นาง จิรนันท์  เสนานาญ
ดร. อนุพันธุ์  สมบูรณ์วงศ์
นาง ณฤทัย  จินวงค์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
สำนักวิจัยและส่งเสริมวิชาการการเกษตร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.2 สร้างผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีการบูรณาการศาสตร์ โดยใช้เกษตรเป็นรากฐาน และได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.2.3 จำนวนครั้งในการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์
กลยุทธ์ 68 MJU 2.2.3.2 พัฒนาระบบและกลไกในการติดตาม ผลักดัน การจัดทำฐานข้อมูลการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ วส68-ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ วส68-2.1 เป็นหน่วยงานที่สนับสนุนมหาวิทยาลัยให้มีขีดความสามารถและศักยภาพในด้านการวิจัยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติและนำไปสู่การพัฒนาผลงานวิจัยให้ได้มาตรฐานระดับสากล
ตัวชี้วัด วส68-6. จำนวนครั้งในการนำผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยชน์
กลยุทธ์ วส68-2.1.4 สนับสนุนการนำผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
กลยุทธ์ วส68-2.1.5 รักษาคุณภาพวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตรในฐานข้อมูล TCI และพัฒนาระบบเพื่อรองรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยภาษาอังกฤษ
ตัวชี้วัด วส68-7. ร้อยละของผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์การเผยแพร่ผลงาน
กลยุทธ์ วส68-2.1.4 สนับสนุนการนำผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
กลยุทธ์ วส68-2.1.5 รักษาคุณภาพวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตรในฐานข้อมูล TCI และพัฒนาระบบเพื่อรองรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยภาษาอังกฤษ
ตัวชี้วัด วส68-8. ร้อยละของบทความวิจัยที่ได้รับการอ้างอิง(Citation) ต่อจำนวนอาจารย์ประจำ
กลยุทธ์ วส68-2.1.4 สนับสนุนการนำผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
กลยุทธ์ วส68-2.1.5 รักษาคุณภาพวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตรในฐานข้อมูล TCI และพัฒนาระบบเพื่อรองรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยภาษาอังกฤษ
ตัวชี้วัด วส68-9. ผลการประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อชุมชนจากผลงานวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนงานวิจัยมูลฐาน
กลยุทธ์ วส68-2.1.4 สนับสนุนการนำผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ในทุกมิติ
กลยุทธ์ วส68-2.1.5 รักษาคุณภาพวารสารวิจัยและส่งเสริมวิชาการเกษตรในฐานข้อมูล TCI และพัฒนาระบบเพื่อรองรับการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยภาษาอังกฤษ
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม (Technology Development and Innovation) ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มุ่งสู่การจัดการการศึกษาเพื่อเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบโจทย์ของประเทศในการพัฒนาเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบริการ โดยมีเป้าหมายในการ (1) สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้สามารถนำองค์ความรู้ไปประยุกต์เพื่อสร้างผลงานและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (2) สร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรืสาธารณประโยชน์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตลอดห่วงโซ่มูลค่าในภาคการผลิตและบริการ (3) ส่งเสริมบทบาทความร่วมมือกับภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อสนับสนุนและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ (4) เน้นการเรียนการสอนควบคู่กับการปฏิบัติการจริงเพื่อพัฒนาสมรรถนะและทักษะในการทำงาน โดยแผนขับเคลื่อนยุทธศาสตรการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570) มีเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ มุ่งสร้างผลผลิตนวัตกรรมด้านเกษตร อาหาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม (บุคลากร องค์ความรู้ เทคโนโลยี ย่านนวัตกรรม) ประกอบด้วย เป้าประสงค์เชิงประสิทธิภาพ (Key Performance Goal) 4 เป้าประสงค์ และตัวชี้วัดเชิงประสิทธิภาพ (Key Performance Index) 9 ตัวชี้วัด ที่ขับเคลื่อนด้วยพันธกิจเพื่อมุ่งเป้า (Golden GOAL) ดังนี้ (1) บริหารจัดการแผนงานวิจัยและนวัตกรรมแนวใหม่แบบมืออาชีพ ภายใต้ธรรมาภิบาลมหาวิทยาลัย (2) สนับสนุนการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมด้านเกษตร อาหาร สุขภาพและสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาที่ยั่งยืน (3) ขับเคลื่อนการต่อยอดผลผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ภายใต้ MJU Product Champion และ (4) ขับเคลื่อนกระบวนการส่งเสริมนักวิจัย ด้วยแรงจูงใจที่เป็นรูปธรรม ด้วยกลยุทธ์การดำเนินงานตั้งแต่ระดับต้นทาง ระหว่างทางและปลายทาง มากกว่า 23 กลยุทธ์เพื่อ “มุ่งสู่ความเป็นเลิศงานวิจัย ด้านเกษตร อาหาร และสิ่งแวดล้อม” มหาวิทยาลัยแม่โจ้ได้รับจัดสรรงบประมาณด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ในกรอบงบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) และงบประมาณสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ (Strategic Fund) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เป็นต้นมา โดยสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการติดตามและประเมินผลหน่วยรับงบประมาณจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม โดยติดตามการดําเนินงานของหน่วยรับงบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (FF) ในด้าน (ก) การใช้งบประมาณตามแผน มีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล (ตั้งแต่คํารับรอง-การประกาศโจทย์ ทุก 6 เดือน) และ (ข) การส่งมอบผลผลิตระหว่างทาง-สิ้นสุด มีประสิทธิภาพ มีธรรมาภิบาล (ทุก 6 เดือน) รวมถึงการติดตามผลงานวิจัยและนวัตกรรม ในการส่งมอบผลผลิตของหน่วยรับงประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน (ตามที่ระบุในคํารับรอง) และผลลัพธ์ การใช้ประโยชน์ และมีศักยภาพในการสร้างผลกระทบ Self-report ในระดับโครงการต่อเนื่อง 5 ปี ในระบบ NRIIS โดยได้กำหนดเกณฑ์การประเมินผลการดําเนินงานที่ผ่านมา (Past Performance) ซึ่งพิจารณาจาก 1) ประสิทธิภาพการบริหารการวิจัย 2) ประสิทธิผลในการนําส่งผลผลิตและผลลัพธ์จากการวิจัย และ 3) การพัฒนาตนเอง (Improvement of Past Performance) และเกณฑ์การประเมินผลงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นการประเมิน Outcome & Impact 2 ด้าน ได้แก่ ด้านวิชาการ (Academic impact) และด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Societal impact) เช่น SROI หรือ BCR (ใน impact evaluation) รวมถึง SIA ตามที่คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 มีมติเห็นชอบต่อแนวทางการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบสำหรับแผนงานที่มีงบประมาณน้อยกวา 100 ล้านบาท ซึ่งดำเนินการโดยหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMUs) และหน่วยรับงบประมาณ Fundamental Fund (FF) สำนักงานคณะกรรมการสงเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการฯ จึงได้จัดทำหลักเกณฑ์การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบสำหรับแผนงานที่มีงบประมาณนเอยกวา 100 ล้านบาท โดยกำหนดให้หน่วยรับงบประมาณที่สนับสนุนงานมูลฐานตามพันธกิจ ดำเนินการประเมินด้วยตนเอง โดยอาศัยผู้ประเมินจากภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของงานวิจัย และหน่วยรับงบประมาณต้องส่งสรุปผลการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบไปยัง สกสว. เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของผลการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของงานวิจัยและนวัตกรรมตามหลักวิชาการ มหาวิทยาลัยแม่โจ้เป็นหน่วยรับงบประมาณที่ต้องดำเนินการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบสำหรับแผนงานขนาดเล็ก (งบประมาณน้อยกว่า 100 ล้านบาท) ที่ได้รับการจัดสรรผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม โดยอาศัยผู้ประเมินจากภายนอก (3rd party) ที่มีความเชี่ยวชาญในการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของงานวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้องและนำส่งผลการประเมินให้กับ สกสว. เพื่อดำเนินการต่อไป ทุก 2 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป ดังนั้น มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จึงจะดำเนินการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของผลงานวิจัยที่ได้รับงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยคัดเลือกแผนงานหรือโครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน จากกองทุนส่งเสริม ววน. ที่ดำเนินการสิ้นสุด และเกิดการใช้ประโยชน์ จำนวน 3-5 แผนงานหรือโครงการ เพื่อให้ทราบผลการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการลงทุนด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่ได้รับงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) ของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ทั้งในด้านวิชาการ (Academic impact) และด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Societal impact) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานตามพันธกิจของหน่วยงาน และจะเป็นข้อมูลที่สำคัญต่อการพัฒนาของระบบ ววน. และประเทศชาติในภาพรวมต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1. เพื่อประเมิน วิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลการดำเนินงานและการวิเคราะห์การใช้ประโยชน์จากการวิจัยของแผนงานและโครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้
2. เพื่อประเมินผลลัพธ์และผลกระทบที่ได้รับจากการดำเนินแผนงานและโครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐานของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
3. เพื่อให้ได้ประเด็นการพัฒนาด้านการติดตามและประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของการดำเนินแผนงานและโครงการวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนงานมูลฐาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เพื่อประโยชน์ต่อการบริหารจัดการงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแม่โจ้
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ผลการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของผลงานวิจัยที่ได้รับงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) มหาวิทยาลัยแม่โจ้
KPI 1 : ร้อยละความสำเร็จในการดำเนินโครงการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบภายในระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ผลการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคมจากผลงานวิจัยที่ได้รับงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 คะแนน 4
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ผลการประเมินผลลัพธ์และผลกระทบของผลงานวิจัยที่ได้รับงบประมาณเพื่อสนับสนุนงานมูลฐาน (Fundamental Fund) มหาวิทยาลัยแม่โจ้
ชื่อกิจกรรม :
ค่าจ้างเหมาประเมินโครงการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาประเมินโครงการ จำนวน 1 โครงการ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 160,000.00 บาท 240,000.00 บาท 400,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 400000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล