22883 : โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้รับรองคุณภาพ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางกัลยารัตน์ วงศ์แก้ว (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/12/2567 10:39:38
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
02/01/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมสนับสนุนบริหารจัดการทั่วไป แผนงานบริหารมหาวิทยาลัย งานบริหารทั่วไป กองทุนทั่วไป งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 40,000 บาท
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานยุทธศาสตร์ แผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิต ผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมสนับสนุนบริหารจัดการทั่วไป แผนงานบริหารมหาวิทยาลัย งานบริหารทั่วไป กองทุนทั่วไป งบเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนทั่วไป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 40,000 บาท 2568 40,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. นงพงา  แสงเจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ดารชาต์  เทียมเมือง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ว่าที่ร้อยตรี ดร. จงกล  พรมยะ
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
นโยบายด้านการสื่อสารองค์กร
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
นโยบายด้านทรัพย์สิน การเงิน และการลงทุน
นโยบายด้านบุคลากร
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 5. มีความมั่นคงทางการเงินและเติบโตอย่างยั่งยืน (Financial Sustainability)
เป้าประสงค์ 68 MJU 5.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีความมั่นคงทางงบประมาณและทรัพยากรอย่างยั่งยืน
ตัวชี้วัด 68 MJU 5.1.2 จำนวนเงินรายได้จากการให้บริการ
กลยุทธ์ 68 MJU 5.1.2.4 เพิ่มรายได้ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยแม่โจ้ โดยการเอื้อหรือส่งเสริมให้มีการใช้องค์ความรู้ของคณาจารย์และบุคลากรหน่วยงานในการสร้างรายได้ให้กับหน่วยงานนั้น
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ FT-68-6 การพัฒนาตามอัตลักษณ์ของคณะ
เป้าประสงค์ FT-68-6.1 พัฒนาอัตลักษณ์ตามจุดเน้นของคณะ
ตัวชี้วัด FT-68-6.1.2.(2) จำนวนผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้รับรองคุณภาพ
กลยุทธ์ FT-68-6.1.2 พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการประมง เพื่อต่อยอดการเป็น product champion ในอนาคต
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันสถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของโลกกำลังเผชิญความท้าทายสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่มีราคาเข้าถึงได้ สัตว์น้ำและทรัพยากรการประมงนับเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญของมนุษยชาติมาอย่างยาวนาน โดยสัตว์น้ำและพืชน้ำไม่เพียงเป็นแหล่งโปรตีนที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง แต่ยังประกอบด้วยกรดไขมันจำเป็น โดยเฉพาะโอเมก้า-3 วิตามิน และแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย อย่างไรก็ตาม การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรประมงในปัจจุบันยังขาดการพัฒนาในด้านการแปรรูปและการเพิ่มมูลค่าอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะในระดับชุมชนและผู้ประกอบการขนาดเล็ก ซึ่งมักประสบปัญหาในด้านมาตรฐานการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการเข้าถึงตลาด นอกจากนี้ การขาดการเชื่อมโยงระหว่างภาคการศึกษา ผู้ประกอบการ และชุมชนประมง ทำให้องค์ความรู้และนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ไม่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในฐานะแหล่งองค์ความรู้และนวัตกรรม มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้มาตรฐาน โดยการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร การจัดการคุณภาพ และการพัฒนาธุรกิจ เข้ากับภูมิปัญญาท้องถิ่นและความต้องการของตลาด การพัฒนาโรงงานต้นแบบภายในสถานศึกษาที่ได้มาตรฐาน GMP และได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะเป็นกลไกสำคัญในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและยกระดับมาตรฐานการผลิตให้กับชุมชนและผู้ประกอบการ นอกจากนี้ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถานศึกษา ผู้ประกอบการ และชุมชนประมง จะช่วยสร้างระบบนิเวศทางธุรกิจที่เข้มแข็ง โดยเชื่อมโยงตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบคุณภาพ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพการผลิต ไปจนถึงการตลาดและการจัดจำหน่าย ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางอาชีพและรายได้ให้กับชุมชนประมง ตลอดจนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปสัตว์น้ำที่ยั่งยืนในระยะยาว อาคารนวัตกรรมการแปรรูปผลิตภัณฑ์ประมง คณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตสินค้าและผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทางการประมงเชิงพาณิชย์ เป็นต้นแบบการเรียนรู้การสร้างคุณค่าทรัพยากรประมงด้วยการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสมให้กับนักศึกษา ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และผู้สนใจ ตลอดจนสร้างผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถนำไปต่อยอดการผลิตเชิงพาณิชย์ตามความต้องการของตลาด และเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจในภูมิภาคด้วยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการและแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกระบวนการพัฒนา Nexfish ควรมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวอย่างที่มีคุณภาพและได้รับการรับรองมาตรฐาน โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะทำหน้าที่เป็นต้นแบบที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในเชิงธุรกิจและนวัตกรรม รวมถึงช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ประกอบการราย ตลอดจนเป็นสินค้าที่สะท้อนถึงความเชี่ยวชาญของ Nexfish ในฐานะโรงงานต้นแบบและศูนย์นวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ประมง ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างต่อเนื่องจึงได้จัดทำโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้รับรองคุณภาพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างอัตลักษณ์ที่เป็นจุดเด่นของคณะเทคโนโลยีการประมงและทรัพยากรทางน้ำ เพื่อพัฒนาสู่การหารายได้ โดยมีการร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกที่สนับสนุนการสร้างผู้ประกอบการ/ธุรกิจใหม่ และเป็นต้นแบบการเรียนรู้การวิจัยและพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ประมง รวมทั้งการขอรับรองมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับอาหาร โครงการฯ มีรายละเอียดดังนี้ 1) การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากสัตว์น้ำและทรัพยากรทางการประมง 2) การตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี กายภาพ และจุลชีววิทยา และองค์ประกอบทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์โดยหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง 3) การดำเนินการด้านกฎหมายอาหาร เช่น การขออนุญาตผลิตอาหาร และการขอจดเลขสารบบอาหาร 4) การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ชื่อสินค้า และโลโก้

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการประมงที่ได้รับรองคุณภาพโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานอาหาร
เพื่อให้คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาได้รับความรู้ในด้านการวิจัยและพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์ประมง และการต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์
เพื่อเป็นต้นแบบผลิตภัณฑ์ให้แก่ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชน และบุคคลทั่วไป ที่เป็นลูกค้าของ Nexfish
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : จำนวนผลิตภัณฑ์ประมงที่ได้รับรองคุณภาพ
KPI 1 : ระดับความพึงพอใจโดยรวมของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร ต่อการเข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 คะแนน 3.51
KPI 2 : ร้อยละของโครงการเสร็จสิ้นตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 3 : ร้อยละของนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการ (จากจำนวน 48 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : ร้อยละของคณาจารย์และบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการ (จากจำนวน 2 คน)
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 5 : จำนวนผลิตภัณฑ์ประมงที่ได้รับรองคุณภาพ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ผลิตภัณฑ์ 1
KPI 6 : รายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหาร
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 รายงาน 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : จำนวนผลิตภัณฑ์ประมงที่ได้รับรองคุณภาพ
ชื่อกิจกรรม :
1. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่
2. การตรวจวิเคราะห์คุณภาพและองค์ประกอบทางโภชนาการ
3. การดำเนินการด้านกฎหมายอาหาร
4. การออกแบบบรรจุภัณฑ์ ชื่อสินค้า และโลโก้

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 02/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.นงพงา  แสงเจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารชาต์  เทียมเมือง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าตรวจวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี กายภาพ และจุลชีววิทยา และองค์ประกอบทางโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหาร จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ เป็นเงิน 10,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าพิจารณาคำขออนุญาตผลิตอาหารและคำขอจดเลขสารบบอาหาร จำนวน 1 ผลิตภัณฑ์ เป็นเงิน 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 คนๆ ละ 20 วันๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท 8,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว (ค่าเนื้อปลา ส่วนผสม เครื่องปรุง ภาชนะบรรจุ ถุงมือ กระดาษอเนกประสงค์ ฯลฯ) เป็นเงิน 12,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท 0.00 บาท 12,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน (ค่ากระดาษ สี ปากกา ป้ายพลาสติกฯลฯ) เป็นเงิน 4,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท 0.00 บาท 4,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 40000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่มีความล่าช้า ซึ่งอาจเกิดจากผลิตภัณฑ์ที่ได้ยังไม่เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภค หรือขาดบุคลากรในการทำงาน รวมทั้งกระบวนการจดเลขสารบบอาหาร หรือเลข อย. มีความล่าช้า
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ติดตามความก้าวหน้าของการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล