22879 : โครงการมีรักอย่างปลอดภัยห่างไกล HIV
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.กรรณิการ์ เลิศพฤกษ์พนา (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 16/1/2568 15:10:42
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (เบิกจ่ายจากงบพัฒนากิจกรรมนักศึกษา)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/07/2568  ถึง  16/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  115  คน
รายละเอียด  กิจกรรม Save Love, Save Life : บุคคลภายนอก บุคลากรและนักศึกษาแกนนำรากดิน จำนวน 50 คน กิจกรรม PrEP & PEP talk : บุคคลภายนอก บุคลากรและนักศึกษา จำนวน 65 คน
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ กองพัฒนานักศึกษา หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เงินพัฒนากิจกรรมนักศึกษา (ชมรมอิสระ) 2568 10,050.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ขนิษฐา  วิศิษฏ์เจริญ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
กองพัฒนานักศึกษา
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการทักษะในศตวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วยกิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 SO 2.1 ผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่ก้าวทันต่อโลกสมัยใหม่และเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญ
ตัวชี้วัด 1 68 MJU 2.1.9 ร้อยละของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายที่ผ่านกระบวนการพัฒนาให้เป็นพลเมืองโลก ด้วยกระบวนการพัฒนาทักษะในศตรวรรษที่ 21
กลยุทธ์ 68 MJU 2.1.9.1 ส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษา ที่มุ่งเน้นทักษะวิชาการ และ ทักษะชีวิตอย่างแท้จริง สร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึง ประสงค์และส่งเสริมอัตลักษณ์ของบัณฑิตมหาวิทยาลัยแม่โจ้ด้วย กิจกรรมที่ทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

เอชไอวี HIV (Human Immunodeficiency Virus) เป็นเชื้อไวรัสที่ทำลายระบบภูมิคุ้มกันของคน คือ เซลล์เม็ดเลือดขาวซีดีโฟร์ (CD4 cells) หรือ ทีเซลล์ (T cells) ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อ เมื่อเชื้อไวรัส HIV ทำลายเม็ดเลือดขาว CD4 จนมีปริมาณไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุให้เกิดอาการภูมิคุ้มกันบกพร่อง (กรมควบคุมโรค, 2562) สถานการณ์การติดเชื้อ HIV ในปี พ.ศ. 2565 จากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 9,230 คน/ ปี พบการติดเชื้อในเพศชายคิดเป็นร้อยละ 81 โดยเป็นกลุ่มเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี มากถึง 4,379 คน ซึ่งการติดเชื้อรายใหม่ (ร้อยละ 96) เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ป้องกัน ซึ่งการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ปลอดภัย จากสถิติของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ.2565 พบว่า ส่วนใหญ่ มีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายกับชาย คิดเป็นร้อยละ 68 รองลงมาเป็นคู่ประจำ ร้อยละ 19 และคู่นอนชั่วคราว คิดเป็นร้อยละ 8 ซึ่งนำไปสู่โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โดยเฉพาะการติดเชื้อ HIV ประเทศไทยได้ดำเนินงานด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์มาอย่างต่อเนื่อง โดยมียุทธศาสตร์ป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์แห่งชาติ พ.ศ. 2557- 2559 และมีแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติว่าด้วยการยุติปัญหาเอดส์ พ.ศ. 2560-2573 มุ่งสู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ หรือ Getting to Zero ด้วยเป้าหมาย 3 ประการ คือ (1) เพื่อ มุ่งสู่เป้าหมายไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ (2) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่ไม่มีการตายเนื่องจากเอดส์ให้เหลือปีละไม่เกิน 4,000 ราย (3) เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายที่ไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติอันเกี่ยวเนื่องจากเอชไอวีและเพศภาวะ (ณัฐพิพัฒน์ เที่ยงธรรม, ยุวนุช สัตยสมบูรณ์, สุคนธา คงศีลและจุฑาธิป ศีลบุตร, 2566) การป้องกันการติดเชื้อรายใหม่เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งวิธีการที่นำมาใช้ได้ผลดี เช่น การสร้างความตระหนักในกลุ่มผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง โปรแกรมการปรับเปลี่ยนหรือลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การใช้ถุงยางอนามัยและสารหล่อลื่นเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ไม่ใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในผู้ติดยาเสพติด และการกินยาป้องกันฉุกเฉินหลังสัมผัสเชื้อเอชไอวี (PEP) และยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัสเชื้อเอชไอวี (PrEP) ยาเพร็พ (PrEP) ย่อมาจาก Pre-Exposure Prophylaxis คือ ยาที่ใช้ในการป้องกันเชื้อเอชไอวี (HIV) ก่อนการสัมผัสโรค สถิติในปี 2565 พบว่า มีผู้เข้ารับยาป้องกันก่อนการสัมผัสเชื้อ HIV 19,362 คน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 16 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2569 สำหรับยา PEP ย่อมาจาก Post-Exposure Prophylaxis เป็นยาป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (HIV) ในกรณีฉุกเฉิน เช่น ถุงยางแตก โดนเข็มตำ ถูกข่มขื่น เป็นต้น ซึ่งต้องรับประทานให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี โดยจะต้องเริ่มรับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยง และรับประทานติดต่อกันนาน 28 วัน โดยยา PEP จะเข้าไปช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของสารพันธุกรรมของเชื้อ หรือไปยับยั้งการกลายเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ ดังนั้นถ้าสามารถกินให้ “เร็วที่สุด” หลังการสัมผัสเชื้อ ก็จะมีโอกาสมากที่สุดประมาณร้อยละ 80% ที่จะป้องกันไม่ให้มีเชื้อเพิ่มจำนวนใหม่ แต่อย่างไรก็ตามการรับประทานยา PEP และ PrEP มีผลข้างเคียงมาก ไม่สามารถซื้อเพื่อรับประทานเองได้ จำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ จากความสำคัญดังกล่าว “ชมรมรากดิน” จึงมีความประสงค์จัดโครงการ “รักอย่างปลอดภัย ห่างไกล HIV เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักให้แก่กลุ่มเยาวชน ถึงการป้องกันการติดเชื้อ HIV การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์จากพฤติกรรมเสี่ยง รวมถึงการตั้งครรภ์ที่ไม่ปลอดภัยก่อนวัยอันควร โดยจัดกิจกรรมแบ่งตามกลุ่มเป้าหมาย คือ กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรม Safe Love, Save Life สำหรับนักศึกษาแกนนำ ซึ่งเป็นกลุ่มนักศึกษาที่จะปฏิบัติหน้าที่เผยแพร่ความรู้หรือดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม PrEP & PEP talk สำหรับนักศึกษาที่มีความเสี่ยงและนักศึกษาทั่วไปที่มีความสนใจเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันเชื้อ HIV การใช้ยา PrEP และ PEP รวมถึงการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจการป้องกันที่ครอบคลุมทั้งโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ HIV
เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ยา PrEP และ PEP
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : นักศึกษาแกนนำได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ รู้วิธีรับมือหากตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยง รวมถึงรู้แหล่งข้อมูลที่เข้าถึงยา PrEP และ PEP ตลอดจนวิธีการใช้ยาให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
KPI 1 : ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังผ่านการอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ตัวชี้วัดที่ 3 ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการต่อผลการดำเนินงานโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับ 3.51
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ HIV รวมถึงการใช้ยา PrEP และ PEP
KPI 1 : ตัวชี้วัดที่ 2 ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการที่มีความรู้เพิ่มขึ้นหลังผ่านการอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ตัวชี้วัดที่ 1 ร้อยละของผู้เข้าร่วมโครงการจากกลุ่มเป้าหมาย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ตัวชี้วัดที่ 3 ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการต่อผลการดำเนินงานโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
3.51 ระดับ 3.51
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : นักศึกษาแกนนำได้รับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ รู้วิธีรับมือหากตกอยู่ในสถานการณ์ที่เสี่ยง รวมถึงรู้แหล่งข้อมูลที่เข้าถึงยา PrEP และ PEP ตลอดจนวิธีการใช้ยาให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ Save Love, Save Life
-โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
-การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์
-การติดเชื้อ HIV
-การใช้ยา PrEP และ PEP
-เกมสันทนาการ

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/07/2568 - 31/07/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ขนิษฐา  วิศิษฏ์เจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. อาหารว่างและเครื่องดื่มบุคคลภายนอก บุคลากรและนักศึกษาแกนนำ จำนวน 50 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 1,500.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 3,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,500.00 บาท 3,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5000.00
ผลผลิต : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันการติดเชื้อ HIV รวมถึงการใช้ยา PrEP และ PEP
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ PrEP & PEP talk
- ให้ความรู้เรื่องการป้อง HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
- ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน HIV โดยการใช้ยา PeEP และ PEP
- แลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางในการป้องกันการติดเชื้อ HIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่น ๆ
-เกมสันทนาการให้ความรู้เรื่องยา PrEP & PEP

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/08/2568 - 31/08/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ขนิษฐา  วิศิษฏ์เจริญ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าอาหารบุคคลภายนอก บุคลากรและนักศึกษา จำนวน 65 คน คนละ 1 มื้อ มื้อละ 50 บาท เป็นเงิน 3,250 บาท

ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,250.00 บาท 3,250.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 1 คน คนละ 1 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 300 บาท เป็นเงิน 300 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 300.00 บาท 300.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เป็นเงิน 1,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,500.00 บาท 1,500.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5050.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
การพูดคุยเรื่องเพศศึกษายังเป็นเรื่องที่ผู้เข้าร่วมอาจรู้สึกเขินอายและไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
หน่วยงานเครือข่ายหรือวิทยากรที่จะมาให้ความรู้อาจไม่สะดวกที่จะมาเป็นวิทยากรให้ได้ในช่วงเวลาจัดกิจกรรมจริง
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
วางแผนสำรองกรณีที่หน่วยงานหรือวิทยากรหลักไม่สามารถมาฝึกอบรมได้ โดยการหาวิทยากรสำรองจากเครือข่ายอาจารย์ที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่อง HIV
จัดกิจกรรมให้มีความสร้างสรรค์เป็นกันเอง และมีการเล่นเกมส์เพื่อผ่อนคลายลดความรู้สึกกังวลและอึดอัดของผู้เข้าร่วมโครงการที่ต้องพูดคุยเรื่องเพศศึกษา
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล