22857 : โครงการอบรมเพิ่มทักษะการผสมเครื่องดื่มเพื่อบริการนักท่องเที่ยว
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
น.ส.ถิรนันท์ กิติคู้ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 18/12/2567 15:56:38
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
25/12/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  21  คน
รายละเอียด  นักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ฯ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ที่จัดสรรให้สาขาวิชาพัฒนาการท่องเที่ยว ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 2568 5,250.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 4. การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68 MJU 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68 MJU 4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68 MJU 4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-4.การพลิกโฉมมหาวิทยาลัย(Reinventing)
เป้าประสงค์ 68-4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างวัตกรรม (Technology Development and Innovation)
ตัวชี้วัด 68-4.1.1 นักศึกษาและบัณฑิตผู้ประกอบการ หรือผู้ที่ได้รับการพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
กลยุทธ์ 68-4.1.1.1 สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้ สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันม็อกเทลได้รับการตอบรับในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มมากขึ้นแม้จะมีสัดส่วนน้อย แต่มีศักยภาพทางการตลาดสูงไม่แพ้เครื่องดื่มประเภทค็อกเทล เพราะสามารถตอบโจทย์และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ประกอบการทดแทน หรือเสริมจากเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ อนาคตของม็อกเทล โดยรวมแล้ว ข้อมูลนี้แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าอุตสาหกรรมม็อกเทลกำลังเติบโตอย่างแข็งแกร่งและมีศักยภาพที่จะขยายตัวต่อไปได้อีกมาก เนื่องจากผู้บริโภคใส่ใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์จึงถูกแทนที่ด้วยเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ที่มีให้เลือกมากมายขึ้นเรื่อยๆ เงื่อนไขทางกฎหมายที่ตีกรอบให้กับธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งโฆษณา ระยะเวลาและสถานที่วางจำหน่าย ได้เปิดโอกาสให้กับ "ม็อกเทล" เครื่องดื่มรสชาติคล้ายคลึงกันแต่ปราศจากแอลกอฮอล์ สร้างทางเลือกทางรอดให้กับผู้ประกอบการ "การทำธุรกิจแอลกอฮอล์เป็นเรื่องยาก ถ้ายังฝืนทำอยู่โอกาสธุรกิจเติบโตคงไม่มี ในฐานะผู้ประกอบการต้องคิดหาทางออกเพื่อให้ธุรกิจสามารถอยู่รอดได้ จึงเป็นที่มาของการคิดค้นสูตรม็อกเทลที่มีรสชาติเหมือนค็อกเทล แต่ไม่มีส่วนผสมแอลกอฮอล์ ทำให้ธุรกิจไม่ถูกจำกัดด้วยข้อห้ามจากกฎหมาย" (คนธวรรณ รัคเจือเจริญยิ่ง กรรมการผู้จัดการบริษัท บาร์เทนเดอร์ จำกัด) ทางรอดของธุรกิจ คนธวรรณ มองว่า ค็อกเทลเป็นเครื่องดื่มเพื่อการสังสรรค์ ไม่ใช่ดื่มให้มึนเมา แต่เมื่อเข้าข่ายเป็นเครื่องดื่มต้องห้าม ในฐานะคนทำธุรกิจต้องปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ด้วยการแตกไลน์สินค้าม็อกเทลออกมาเป็นทางเลือกให้กับลูกค้าทั้งที่เป็นผู้บริโภคและผู้ที่ต้องการทำธุรกิจ โดยพัฒนาสูตรที่มีส่วนผสมจากผลไม้และสมุนไพร เข้ามาเป็นส่วนประกอบในการปรุงเพื่อให้ได้รสชาติที่ใกล้เคียงหรือแตกต่าง ที่สำคัญรสชาติต้องถูกใจคนดื่ม ยกตัวอย่างเช่น การใช้เปลือกมะนาวที่มีรสขมมาผสมเพื่อให้รสสัมผัสคล้ายคลึงกับค็อกเทล เครื่องดื่มปลอดแอลกอฮอล์จึงเป็นทางออกที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปใช้กับประกอบธุรกิจเดิมที่ทำอยู่ เพื่อสร้างสีสันให้กับร้าน รวมถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ร้านกาแฟแทนที่ขายแต่ชา กาแฟ ม็อกเทลจะเป็นทางเลือกใหม่ให้ผู้บริโภค เพราะสามารถดื่มได้มากกว่า ชา กาแฟ ที่สำคัญราคาต่อแก้วสูงไม่แพ้ร้านกาแฟแบรนด์ดัง ในช่วงที่ผ่านมา บริษัทหันมาให้ความสำคัญกับเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์มากขึ้น รับเทรนด์ของผู้บริโภคยุคใหม่ที่หันมาใส่ใจตัวเองและลดความเสี่ยงทางธุรกิจ จากเดิมโฟกัสเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ตามประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยข้อที่ 4 การพลิกโฉมสู่การเป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่ 2 (Reinventing) เป้าประสงค์หน่วยงานข้อที่ 4.1 เป็นมหาวิทยาลัยด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและส่งเสริมการสร้างนวัตกรรม(Technology Development and Innovation) กลยุทธ์หน่วยงาน สร้างและพัฒนาศักยภาพผู้เรียนที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและการสร้างนวัตกรรมให้สามารถนำองค์ความรู้มาประยุกต์ใช้สร้างผลงาน พัฒนาผลิตภัณฑ์ ต่อยอดเป็นนวัตกรรม ตัวชี้วัดหน่วยงานข้อที่ 4.1.4 บุคลากรสถาบันอุดมศึกษาและนักศึกษาที่แลกเปลี่ยน ความรู้สู่ภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม จึงได้ร่วมกับผู้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องดื่มประเภทม็อกเทลและค๊อกเทล มาและเปลี่ยนแนวคิดการเป็นผู้ประกอบการ และฝึกทักษะการผสมเครื่องดื่มเบื้องต้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมซึ่งเป็นนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาการเท่องเที่ยว ได้รับองค์ความรู้และเตรียมความรพร้อมการเป็นผู้ประกอบการด้านเครื่องดื่มสำหรับบริการนักท่องเที่ยว คาดว่าความนิยมของม็อกเทลจะพุ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากม็อกเทลถูกนำไปใช้ในเมนูร้านอาหาร บาร์ และกิจกรรมสังสรรค์ต่างๆ มากขึ้น ด้วยรสชาติใหม่ๆ ส่วนผสมที่มีประโยชน์ และเทคนิคการผลิตที่สร้างสรรค์ ทำให้เห็นได้ชัดว่าอุตสาหกรรมม็อกเทลจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดต่อไปอีกหลายปีข้างหน้า

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้ประกอบการเครื่องดื่มสำหรับบริการนักท่องเที่ยว
2 เพื่อให้นักศึกษามีทักษะการผสมเครื่องดื่มอย่างสร้างสรรค์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ทักษะการผสมเครื่องดื่มเพื่อบริการนักท่องเที่ยว
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
21 คน 21
KPI 2 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
KPI 3 : ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผสมเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้น
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
90 ร้อยละ 90
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ทักษะการผสมเครื่องดื่มเพื่อบริการนักท่องเที่ยว
ชื่อกิจกรรม :
อบรมเพิ่มทักษะการผสมเครื่องดื่มเพื่อบริการนักท่องเที่ยว

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 25/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.อำนวยพร  ใหญ่ยิ่ง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.เกษราพร  ทิราวงศ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.นฤพนธ์  เลิศกาญจนาพร (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา  วณิชชานนท์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ศศิมินตรา  บุญรักษา (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
1. ค่าตอบแทนวิทยากรภาคบรรยาย (มิใช่บุคลากรของรัฐ) จำนวน 1 คน ๆ ละ 6 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 1,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เป็นเงิน 3,450 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 3,450.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,450.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 5250.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล