22805 : โครงการการศึกษารวบรวมชื่ออาหารและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมุ่งสู่การสร้างมูลค่าตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และยั่งยืน
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณิดา ขันธพัทธ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/3/2568 11:37:02
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/01/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  200  คน
รายละเอียด  นักวิชาการ นักศึกษา และบุคคลทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงานบริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุนโครงการบริการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากโครงการพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ 2568 2568 160,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรรณิดา  ขันธพัทธ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.2 สร้างผลงานวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่มีการบูรณาการศาสตร์ โดยใช้เกษตรเป็นรากฐาน และได้รับการยอมรับในระดับชาติและนานาชาติ
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.2.2 จำนวนเงินวิจัยด้านสังคมศาสตร์
กลยุทธ์ 68 MJU 2.2.1.1 ผลักดันการวิจัยตามแผนแม่บทการวิจัยระยะ 15 ปี ที่สอดคล้อง กับทิศทางม.และของชาติ
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA68 มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC): การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ LA68-2.7 มีการบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ของท้องถิ่นชุมชนที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน
ตัวชี้วัด LA68-2.6.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ LA68-2.6.1.ผลักดันและส่งเสริมให้การบุคลากรแสวงหางบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์มากขึ้น โดยเศรษฐกิจสร้างสรรค์นั้นจะเน้นการพัฒนาระบบเศรษฐกิจโดยใช้ความคิดสร้างสรรค์บนฐานขององค์ความรู้ ภูมิปัญญา และการศึกษาวิจัยซึ่งเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมของท้องถิ่น เพื่อใช้ในการพัฒนาธุรกิจ การผลิตสินค้าและบริการในรูปแบบใหม่ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจหรือคุณค่าทางสังคม ทั้งนี้ “อาหาร” ก็จัดเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่เป็นเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทย ดังนั้นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทางด้านวัฒนธรรมอาหารของท้องถิ่นจึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจในชุมชนให้มั่นคงและยั่งยืน อีกทั้งยังช่วยพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมให้เกิดการนำกระบวนการคิดเชิงสร้างสรรค์ไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารของชุมชน อนึ่ง แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ก็ยังสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ที่ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไว้ตามกรอบยุทธศาสตร์ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ซึ่งแผนพัฒนาฯ ดังกล่าวก็ได้ให้ความสำคัญกับมิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม โดยหนึ่งในจุดมุ่งหมายสำคัญก็คือ สังคมไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เข้มแข็ง มีศักยภาพสูง และสามารถแข่งขันได้ อย่างไรก็ตามหากพิจารณาชุมชนชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ในเขตจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ปฏิเสธไม่ได้ว่าชุมชนชาติพันธุ์ไทใหญ่นับว่าเป็นชุมชนชาติพันธุ์ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นฐานทางภาคเหนือของไทย และเป็นชุมชนชาติพันธุ์ที่ขยายตัวมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งชุมชนชาวไทใหญ่นี้ก็มีมรดกภูมิปัญญาทางด้านวัฒนธรรมอาหารที่มีอัตลักษณ์เป็นของตัวเอง ทั้งนี้หากได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพตามแนวเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ก็จะช่วยให้เกิดการพัฒนาผู้ประกอบการและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารของชุมชน อันจะนำมาซึ่งการยกระดับเศรษฐกิจในชุมชนให้มั่นคงและยั่งยืนต่อไป ชาวไทใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีอัตลักษณ์ทางภูมิปัญญาที่ทรงคุณค่า และหนึ่งในภูมิปัญญาที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมนั้นก็คือ ภูมิปัญญาทางด้านการทำอาหารซึ่งโดยมากจะเน้นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีคุณค่าทางโภชนการ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันด้วยความเจริญทางเทคโนโลยีและความทันสมัยจากกระบวนการผลิตอาหารที่ทำให้เกิดอาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ มากมาย ได้ทำให้อาหารพื้นบ้านของชาวไทใหญ่ได้ค่อย ๆ เลือนหายไปพร้อมกับคนรุ่นเก่าที่ล่วงลับไป ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการวิจัยครั้งนี้ที่คณะผู้วิจัยเห็นว่า ควรจะมีการศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับชื่ออาหารของชาวไทใหญ่ โดยการศึกษาถึงกลวิธีการตั้งชื่ออาหาร และศึกษาถึงความหมายของชื่ออาหารแต่ละประเภท ซึ่งจะทำให้เห็นถึงมโนทัศน์และวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้แล้ว การวิจัยนี้ก็ยังเป็นการรวบรวมชื่ออาหารคาวและอาหารหวานของชาวไทใหญ่ไว้เพื่อให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมแก่คนรุ่นหลัง อันจะสะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญาทางการปรุงอาหารของบรรพชนชาวไทใหญ่ที่มีสืบทอดต่อกันมา ทั้งนี้ ผลศึกษาดังกล่าวนอกจากจะเป็นการรวบรวมชื่ออาหารไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ก็ยังทำให้ทราบความหมายของคำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการตั้งชื่ออาหารของชาวไทใหญ่ ตลอดจนได้รับองค์ความรู้เกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ที่เชื่อมโยงกับมโนทัศน์และวิถีวัฒนธรรมการกินของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ นอกจากนี้แล้ว องค์ความรู้ดังกล่าวสามารถนำไปส่งเสริมอาชีพให้ผู้คนมีรายได้และมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดี ส่งเสริมศักยภาพการสร้างอาชีพและการจ้างงานในวงกว้าง ตลอดจนส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์และยั่งยืนต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2. การศึกษารวบรวมชื่ออาหารและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ เพื่อใช้เป็นฐาน คลังข้อมูลวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ 3.เพื่อนำองค์ความรู้ทางด้านวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ไปเผยแพร่ในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อมุ่งสู่การสร้างมูลค่าตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : 1. องค์ความรู้ (วิจัย) 1 องค์ความรู้ เรื่อง “การศึกษารวบรวมชื่ออาหารและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมุ่งสู่การสร้างมูลค่าตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และยั่งยืน” 2.หนังสือ “วิถีวัฒนธรรมอาหารไทใหญ่ในล้านนา” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ 200 เล่ม 3.บอร์ด เรื่อง “วิถีวัฒนธรรมอาหารไทใหญ่ในล้านนา” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ 4 บอร์ด
KPI 1 : บอร์ด เรื่อง “วิถีวัฒนธรรมอาหารไทใหญ่ในล้านนา” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ 4 บอร์ด
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
4 บอร์ด 4
KPI 2 : องค์ความรู้ (วิจัย) การศึกษารวบรวมชื่ออาหารและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมุ่งสู่การสร้างมูลค่าตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และยั่งยืน
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 3 : หนังสือ “วิถีวัฒนธรรมอาหารไทใหญ่ในล้านนา” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
200 เล่ม 200
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : 1. องค์ความรู้ (วิจัย) 1 องค์ความรู้ เรื่อง “การศึกษารวบรวมชื่ออาหารและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมุ่งสู่การสร้างมูลค่าตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และยั่งยืน” 2.หนังสือ “วิถีวัฒนธรรมอาหารไทใหญ่ในล้านนา” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ 200 เล่ม 3.บอร์ด เรื่อง “วิถีวัฒนธรรมอาหารไทใหญ่ในล้านนา” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ 4 บอร์ด
ชื่อกิจกรรม :
1. การจัดทำงานวิจัย เรื่อง การศึกษารวบรวมชื่ออาหารและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ในจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อมุ่งสู่การสร้างมูลค่าตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์และยั่งยืน 2. การจัดทำหนังสือ “วิถีวัฒนธรรมอาหารไทใหญ่ในล้านนา” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ 200 เล่ม 3.การจัดทำบอร์ด “วิถีวัฒนธรรมอาหารไทใหญ่ในล้านนา” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ทางวัฒนธรรมอาหารของชาวไทใหญ่ 4 บอร์ด

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณิดา  ขันธพัทธ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจ้างเหมาบริการถ่ายภาพ
- ค่าจ้างเหมาเก็บข้อมูล
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน (ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าพาหนะ) 8 ครั้ง ครั้งละ 3,000 บาท = 24,000 บาท
- ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง 2 ครั้ง ครั้งละ 3,000 บาท = 6,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 12,000.00 บาท 18,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจัดทำรายงานวิจัยความก้าวหน้า และรายงานฉบับสมบูรณ์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจัดพิมพ์หนังสือ "วิถีวัฒนธรรมอาหารไทใหญ่ในล้านนา" 200 เล่ม เล่มละ 490 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 98,000.00 บาท 98,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
- ค่าจัดทำบอร์ด ไวนิล/โปสเตอร์ จำนวน 4 บอรืด บอร์ดละ 2,000 บาท= 8,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,000.00 บาท 8,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
- ค่าวัสดุสำนักงาน
- ค่าวัสดุคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 160000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล