22804 : โครงการบทบาทหน้าที่ของดอกไม้ในเพลงไทย
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
อาจารย์ ดร.ลักขณา ชาปู่ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/3/2568 11:36:35
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/01/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  บุคลากรและนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้ นักวิชาการ และบุคคลทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงาน บริการวิชาการแก่สังคม งานบริการวิชาการแก่ชุมชน กองทุนบริการวิชาการ งบเงินอุดหนุนโครงการบริการวิชาการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประจำปีงบประมาณ 2568 2568 80,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ดร. ลักขณา  ชาปู่
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.1 ปรับปรุงนโยบายการสนับสนุนทุนด้านการบริการวิชาการโดยเน้นพื้นที่ที่กำหนด (Area Base) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ต่างๆเพื่อเสนอของบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA68 มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC): การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ LA68-2.7 มีการบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ของท้องถิ่นชุมชนที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน
ตัวชี้วัด LA68-2.6.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ LA68-2.6.1.ผลักดันและส่งเสริมให้การบุคลากรแสวงหางบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันส่งผลให้ทั่วโลกมีความตื่นตัวและตระหนักถึงความสำคัญของการใส่ใจสิ่งแวดล้อม จึงมีการเผยแพร่ผ่านสื่อต่าง ๆ โดยให้ความรู้ รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ ฯลฯ ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดี มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์แต่ปัจจุบันได้รับผลกระทบจากการดำเนินชีวิตหรือจากการขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อการส่งเสริมอนุรักษ์ให้ใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่าและได้ประโยชน์สูงสุด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการจัดทำแผนแม่บทระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) โดยมีเป้าหมายเพื่อกำหนดทิศทางของการดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติแผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และแผนอื่น ๆ รวมถึงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยให้ทุกภาคส่วนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานบนพื้นฐานการเติบโตร่วมกัน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตโดยให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุลทั้ง 3 ด้าน อันจะนำไปสู่ “ระบบนิเวศมั่นคงเพื่อประชาชนใช้ประโยชน์อย่างมั่งคั่งและยั่งยืน” การศึกษาครั้งนี้ดำเนินงานภายใต้แผนของ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2566-2570 ยุทธศาสตร์ที่ 1 และ 5 คือ การจัดการทรัพยากรธรรมชาติทางบกและความหลากหลายทางชีวภาพให้เติบโตและมีความเป็นธรรมบนความสมดุลของฐานทรัพยากรธรรมชาติและการยกระดับกระบวนทัศน์เพื่อการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ จากแผนข้างต้นมีการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมภายใต้ส่วนงานที่รับผิดชอบ จึงทำให้ผู้วิจัยที่รับผิดชอบงานทางการศึกษาด้านภาษาไทย เล็งเห็นความสำคัญในการสร้างความตระหนักและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมโดยการสื่อสารผ่านภาษา จึงสนใจศึกษางานวรรณกรรมประเภทเพลงโดยเลือกบทเพลงที่มีการใช้ดอกไม้มาประพันธ์เป็นกรณีศึกษา ดอกไม้ นอกจากจะให้ความงดงามตามธรรมชาติหรือการปลูกประดับแล้ว ยังให้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น การนำไปบูชาพระ กลิ่นหอมและสรรพคุณเฉพาะนำไปทำเครื่องสำอางหรือเครื่องหอม สีและรูปลักษณ์นำไปเป็นองค์ประกอบในการทำอาหาร ทำเครื่องปรุงยาสมุนไพร นอกจากนี้ในด้านศิลปกรรมดอกไม้ได้ถูกนำไปเป็นเครื่องมือสร้างความงาม เป็นสื่อสัญลักษณ์ รวมถึงการสื่อสารตามที่ศิลปินต้องการให้ผู้รับสารขบคิด เช่น ประติมากรรมของเทพเจ้ามีการถือดอกไม้ไว้ในมือเพื่อแสดงความอุดมสมบูรณ์ เทพเจ้าบางองค์ถือดอกบัว เป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความบริสุทธิ์ ความเป็นสิริมงคล และความหมายแฝงทางพระพุทธศาสนาที่แสดงถึงผู้มีสติปัญญา ในงานจิตรกรรมมีการใช้ดอกไม้เพื่อสื่อสารความงามหรือเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาและจักรวาล ในงานวรรณกรรมมีการใช้ดอกไม้มาสร้างความหมายและบรรยากาศ หรือใช้แทนสัญลักษณ์ของความรักที่ปรากฏในบทอัศจรรย์เป็นต้น นอกจากนี้การใช้ดอกไม้ยังปรากฏในงานวรรณกรรมประเภทบทเพลง ที่ผ่านกระบวนการคิดของผู้ประพันธ์และถ่ายทอดโดยศิลปิน มีหลายบทเพลงที่ได้รับความนิยมตั้งแต่อดีตและยังคงมีการนำมาขับร้องโดยศิลปินในปัจจุบัน เช่น กุหลาบเวียงพิงค์ บัวขาว อุทยานดอกไม้ ปัจจุบันมีบทเพลงที่ประพันธ์ขึ้นใหม่โดยใช้ดอกไม้เป็นองค์ประกอบของเนื้อหาซึ่งได้รับความนิยมมาก เช่น เพลง ซ่อนกลิ่น ศิลปิน ปาล์มมี่ ซึ่งมียอดเข้าชมใน youtube จำนวน 236 ล้านครั้ง การนำดอกไม้มาใช้ในบทเพลงมีจุดประสงค์ที่หลากหลาย บางเพลงมีการนำมาใช้เพื่อสื่อสารโดยตรง เช่น เพลงอุทยานดอกไม้ เนื้อเพลงเป็นการนำชื่อของดอกไม้มาร้อยเรียงต่อกัน ทำให้ผู้ฟังได้เห็นความงามและทราบถึงประเภทของดอกไม้ไทยที่มีหลากหลายชนิด เพลงอุทยานกล้วยไม้ เป็นอีกบทเพลงที่นำชื่อดอกกล้วยไม้มาร้อยเรียงต่อกัน ทำให้เราทราบชื่อสายพันธุ์ของกล้วยไม้ไทยพร้อมคำอธิบายลักษณะไว้ด้วย ตัวอย่างเนื้อเพลงว่า เพลินพิศกล้วยไม้งามวิไลชูช่อ สวรรค์วาดกิ่งกอ ลออทั้งกลีบเกสร ช้างแดงงามซึ้ง สวยหนึ่งอรชร ช้างเผือกขาวซ้อน ช้างกระหอมยวนยี หอม เอื้องคำ เอื้องสายสามสี ชมเอื้องผึ้ง งามวาบหวามเห็นเอื้องนางชี เอื้องสามปอยหลวง เอื้องมัจฉานุขจี เอื้องครั่งโสภี เอื้องแววมยุรา นอกจากชื่อสายพันธุ์แล้ว ยังนำดอกกล้วยไม้มาเปรียบกับความงามและคุณธรรมของหญิงสาว ดังท่อนที่กว่า “ฉันรักกล้วยไม้ งามล้ำพิไลหลากสี งามหาใดเปรียบปาน เปรียบดังหวานแรกรุ่นดรุณี หอมกลิ่นกล้วยไม้ คล้ายคุณธรรมนารี รู้รักศักดิ์ศรีกุลสตรีเอย” นอกจากนี้ยังมีการนำดอกไม้มาสื่อสารในเชิงสัญลักษณ์ เช่น ความงาม ความดี ความชั่ว ความรัก สัญลักษณ์ทางเพศ ความกล้าหาญ ฯลฯ ตัวอย่าง เพลงทานตะวัน ประพันธ์โดยเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ เป็นการใช้ดอกทานตะวันสื่อถึงความกล้าหาญ เป็นความหวังที่ผลิบานทำให้ผู้พบเห็นดอกทานตะวันมีกำลังใจเพิ่มขึ้น ดังตัวอย่างเนื้อเพลงว่า ตะวันส่องแสงสาดแสงลงมา ทาบทาทางใหม่ ร่วมจิตร่วมใจก้าวไปก้าวไปฝ่าภัยร้อยพัน มิ่งขวัญเอ๋ยหัวใจเรามั่นเหมือนทานตะวัน เฉิดแสงแรงฝันกลางรวีตะวันสีทองส่องใส ด้วยภาษาดอกไม้ของทานตะวันที่สื่อถึงความหวังใหม่ จึงมีผู้นิยมนำดอกทานตะวันมามอบให้แก่บัณฑิตในวันที่สำเร็จการศึกษา หรือใช้ในโอกาสที่ประสบความสำเร็จ การนำดอกไม้มาใช้สื่อสารถึงสถานที่โดยการเปรียบเทียบ เช่น เพลงกุหลาบเวียงพิงค์ เป็นบทเพลงที่ต้องการสื่อถึงผู้หญิง โดยใช้ดอกกุหลาบ แต่เป็นหญิงสาวชาวเหนือโดยใช้สายพันธุ์ กุหลาบเวียงพิงค์ เป็นตัวบ่งชี้สถานที่ อธิบายถึงสาวชาวเหนืออยู่ในวัยแรกแย้มเหมือนกุหลาบที่กำลังผลิบานย่อมส่งกลิ่นหอมไปทั่วเป็นที่หมายปองของชายหนุ่ม เนื้อเพลงว่า กุหลาบเวียงพิงค์ดอกนี้บ่มีเจ้าของ เพิ่งแรกแย้มบ่มีใผจองเป็นเจ้าของครองใจเด็ดดม ส่งกลิ่นอบอวลยั่วยวนหัวใจไปตามสายลม เปิ้นทั่วแคว้นแดนไทยหมายชมสมเป็นกุหลาบเวียงเหนือ วัฒนธรรมไทยไม่นิยมกล่าวถึงเรื่องเพศในที่สาธารณะอย่างเปิดเผย ดอกไม้จึงถูกนำมาใช้กล่าวแทน เช่น หน้าอก หรือเครื่องเพศ ดังตัวอย่างจาก เพลงคำหอม เนื้อเพลงท่อนหนึ่งว่า ขวัญพุ่มปทุมมา กลีบบัวยั่วตาพลิ้วพากระเพื่อมลม ผ่องศรีที่พี่ชม สีนวลชวนชื่นอารมณ์ ดุจดังสีแพรเจ้าห่ม ปิดถันกันลมซ้ำชมให้เศร้าใจ เป็นการบรรยายภาพ “บัว” ของหญิงสาวที่เคลื่อนไหว เป็นการบรรยายอย่างแยบคายโดยผู้ประพันธ์ได้เชื่อมโยง “บัว” กับ “ถัน” ในวรรคถัดไปทำให้ “ชวนชื่นอารมณ์” เป็นต้น ดอกไม้ในเพลงไทยยังมีบทบาทและหน้าที่อีกหลายประการซึ่งงานวิจัยนี้มุ่งนำเสนอภูมิปัญญาของคนไทยที่ใช้ประโยชน์จากดอกไม้มาสร้างความงามด้วยภาษา เป็นอีกบทบาทหนึ่งของธรรมชาติที่ไม่ได้เพียงแต่บอกเล่าถึงพรรณไม้หากแต่มีหน้าที่สื่อความหมายในเชิงต่าง ๆ อีกด้วย ผู้ประพันธ์ได้แสดงถึงความรอบรู้ ความช่างสังเกต ถ่ายทอดเป็นบทเพลงที่ทรงคุณค่าสร้างสุนทรียะ ผู้วิจัยเห็นว่าการศึกษาบทบาทหน้าที่ของดอกไม้ในเพลงไทย เป็นการเชื่อมโยงภาษากับความคิดและวัฒนธรรม จะนำไปสู่การเข้าใจเข้าถึงทำให้เห็นความสำคัญของพรรณไม้ของไทยสร้างความตระหนักสู่การอนุรักษ์และเห็นคุณค่าทรัพยากรไทย

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ศึกษาบทบาทหน้าที่ของดอกไม้ในเพลงไทย
สร้างความตระหนักและแสดงให้เห็นถึงความงดงามของทรัพยากรธรรมชาติ
เพื่อนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปเผยแพร่ในลักษณะสิ่งพิมพ์ โดยนำเสนอบทเพลงในลักษณะพรรณนาวิเคราะห์ มีภาพพรรณไม้ประกอบ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมและการใช้ภาษา
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ภูมิปัญญาการใช้ดอกไม้เพื่อสื่อสารในบทเพลงไทย
KPI 1 : หนังสือเรื่อง "ดอกไม้ในเพลงไทย : ความงาม คุณค่า ภาษา วัฒนธรรม”
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 เล่ม 100
KPI 2 : งานวิจัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เรื่อง 1
KPI 3 : หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง "ดอกไม้ในเพลงไทย : ความงาม คุณค่า ภาษา วัฒนธรรม”
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 เล่ม 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ภูมิปัญญาการใช้ดอกไม้เพื่อสื่อสารในบทเพลงไทย
ชื่อกิจกรรม :
ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมดอกไม้
- เดินทางไปพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ (The Museum of Floral Culture) กรุงเทพฯ
- เก็บข้อมูลจากสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์
- เรียบเรียงและวิเคราะห์ข้อมูล
- รายงานสรุปผลการศึกษา
- จัดทำงานวิจัย
- เผยแพร่ภูมิปัญญาการใช้ดอกไม้ในเพลงไทยด้วยหนังสือ และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ ดร.ลักขณา  ชาปู่ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน (ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่าพาหนะ )
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 6,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 6,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาการถ่ายภาพ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาวาดภาพ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 5,000.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 5,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาออกแบบและจัดทำหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 20,700.00 บาท 0.00 บาท 20,700.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์หนังสือ "ดอกไม้ในเพลงไทย : ความงาม คุณค่า ภาษา วัฒนธรรม”
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท 0.00 บาท 40,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท 0.00 บาท 3,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเข้าสถานที่
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 300.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 300.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 80000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การนำเสนอแนวคิดโดยใช้ดอกไม้สื่อสารแทนภาษา บทบาทหน้าที่ของดอกไม้ที่ปรากฏในเพลงไทย
ช่วงเวลา : 01/07/2568 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
วัตถุประสงค์การบูรณาการผลการประเมินการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการ
เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นกระบวนการสื่อสารโดยใช้ธรรมชาติในการสะท้อนภาษากับการคิด 80 บทความสำหรับอ่าน
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล