22802 : การศึกษาพันธุ์ “ข้าว" ในภาคเหนือจากหลักฐานทางโบราณคดี สู่การรับรู้การเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธี เมธาสิทธิ สุขสำเร็จ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 13/3/2568 11:35:42
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายนอก
ประเภทโครงการ
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/01/2568  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี พฤษศาสตร์ นักศึกษา หรือบุคคลที่สนใจด้านพันธุ์พืชในสมัยโบราณ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน แผนงาน บริการวิชาการแก่สังคม
งาน บริการวิชาการแก่ชุมชน
กองทุน บริการวิชาการ
งบ เงินอุดหนุน โครงการบริการวิชาการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
2568 160,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เมธี เมธาสิทธิ  สุขสำเร็จ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทิพย์สุดา  ตั้งตระกูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
คณะศิลปศาสตร์
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ LA68 มิติที่ 2 การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC): การบริการวิชาการที่เพิ่มศักยภาพในการพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิตของท้องถิ่นชุมชนและสังคม
เป้าประสงค์ LA68-2.7 มีการบริการวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต ของท้องถิ่นชุมชนที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน
ตัวชี้วัด LA68-2.6.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ LA68-2.6.1.ผลักดันและส่งเสริมให้การบุคลากรแสวงหางบประมาณจากแหล่งทุนภายนอก
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (อพ.สธ.) ได้อนุมัติงบประมาณ ให้ดำเนินโครงการวิจัยเชิงบูรณาการบริการวิชาการ เรื่อง "ข้าวในภาคเหนือประเทศไทยจากหลักฐานทางโบราณคดี" ข้าว คืออาหารหลักของผู้คนในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หลักฐานข้าวที่เก่าที่สุดในประเทศไทยพบที่แหล่งโบราณคดีถ้ำปุงฮุง อำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน (กำหนดอายุไว้ราว 4,000 – 3,000 ปีมาแล้ว) (Timothy 1992: 84) ได้พบเมล็ดข้าวที่มาจากธรรมชาติที่ปรากฏร่องรอยการใช้เครื่องมือในการกะเทาะเปลือกข้าว (Higham 2002: 51) ซึ่งชั้นดินที่พบเมล็ดข้าวที่ถ้ำปุงฮุง กำหนดอายุไว้ราว 3,000 ปีมาแล้ว (Timothy 1992: 84) แหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์อีกแหล่งที่ได้พบหลักฐานโบราณคดีเกี่ยวกับข้าว คือ แหล่งโบราณคดีประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยหินใหม่ตอนปลาย กำหนดอายุไว้ราว 3,200-2,9000 ปีมาแล้ว ที่แหล่งโบราณคดีนี้ได้พบรวงข้าวเปลือกเมล็ดสั้นเปลือกสีน้ำตาลบรรจุอยู่ในภาชนะจักสานฝังร่วมกับโครงกระดูกในหลุมขุดค้นที่ 2 และ 3 ในสมัยประวัติศาสตร์วัฒนธรรมหริภุญไชย มีการขุดค้นทางโบราณคดีบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย ในปี พ.ศ.2544 ได้พบเมล็ดข้าวสารสีดำ (เผาไฟ?) ร่วมกับหลักฐานที่แสดงถึงกิจกรรมโลหะกรรม อาทิ เตาสำหรับถลุงหรือตีโลหะ เครื่องมือเหล็กที่ยังไม่เสร็จ ข้าวสารที่พบลักษณะเป็นข้าวสารเมล็ดสั้น กลมป้อมแบบข้าวเหนียว ชั้นดินที่พบข้าวสารสีดำและกิจกรรมโลหะกรรมเป็นชั้นการอยู่อาศัยระยะที่ 3 สมัยวัฒนธรรมหริภุญไชย (สายันต์ 2540: น.79-81) ต่อมาในปี พ.ศ.2551 มีการขุดค้นทางโบราณคดีภายในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญไชย จังหวัดลำพูน อีกครั้งโดย ผศ.ดร.โขมสี แสนจิตต์ และผู้เขียน การขุดค้นครั้งดังกล่าวได้พบข้าวสารสีดำ ในปนในชั้นดินล่างสุด (โขมสี 2552: น.266)   แหล่งโบราณคดีสมัยวัฒนธรรมล้านนาที่พบหลักฐานทางโบราณคดีประเภทข้าว คือ แหล่งโบราณคดีคุ้มเจ้าบุรีรัตน์(มหาอินทร์) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งทำการขุดค้นเมื่อปี พ.ศ.2563 ในโครงการวิจัยเรื่อง พัฒนาการการใช้พื้นที่ของคุ้มเจ้าบุรีรัตน์ (มหาอินทร์) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จากหลักฐานโบราณคดี โดย ผศ.ดร.โขมสี แสนจิตต์ ซึ่งผู้เขียนเป็นผู้ร่วมขุดค้นด้วย การขุดค้นครั้งนี้ได้พบข้าวสารเผาไฟในชั้นดินสมมุติที่ 16 (260 cm.dt.) ซึ่งเป็นชั้นแรกเริ่มของการใช้พื้นที่ โครงการวิจัยฯ ได้นำตัวอย่างข้าวที่พบไปหาค่าอายุด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Radiocarbon Dating Laboratory) จาก ธThe university of Waikato New Zealand ค่าอายุที่ได้คือ 348+ 21 BP (AMS measurement) กำหนดอายุได้ราวพุทธศตวรรษที่ 21-22 (พ.ศ.2100-2200) (โขมสี 2564: 261) การศึกษา “ข้าว” ในทางโบราณคดี เป็นการศึกษาเพื่ออธิบายวิถีชีวิตของผู้คนในแต่ละยุคสมัยวัฒนธรรม ตลอดจนยังเชื่อมโยงกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของพื้นที่และภูมิภาค สำหรับวิธีการศึกษา “ข้าว” ในทางโบราณคดี เป็นการจำแนกเมล็ดข้าวด้วยวิธีการวัดขนาด โดยเลือกเมล็ดข้าว หรือแกลบข้าวที่มีรูปร่างสมบูรณ์มาทำการวัด และแบ่งลักษณะของเมล็ดข้าวออกเป็น 3 กลุ่ม ตามวิธีของ Matsuo (นคร, 2530: 49-50 และ 79) 1.เมล็ดป้อม (Round Types) อยู่ในกลุ่ม Japonica rice 2.เมล็ดใหญ่ (Large Types) อยู่ในลักษณะระหว่างกลุ่ม Japonica และ Indica (Intermediate Types) 3.เมล็ดเรียว (Slender Types) อยู่ในกลุ่ม Indica การศึกษาข้าวในฐานะหลักฐานทางโบราณคดีที่ผ่านมา เช่น การศึกษาร่องรอบแกลบข้าวในอิฐ ของ Tadayo Watabe และคณะ (2513) ได้ทำการศึกษาตัวอย่างแกลบข้าวที่พบในอิฐตามโบราณสถานในประเทศไทยจาก 39 จังหวัด จำนวน 108 ตัวอย่าง ได้ผลการศึกษาว่า 1)ในช่วงก่อนพุทธศตวรรษที่ 16 พบข้าวเมล็ดป้อม รองลงมาได้แก่ข้าวเมล็ดใหญ่ ส่วนใหญ่พบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ยังไม่พบข้าวเมล็ดเรียว 2)ช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 – 20 พบข้าวเมล็ดป้อม และเริ่มพบข้าวเมล็ดเรียวเพิ่มขึ้น ส่วนข้าวเมล็ดใหญ่มีจำนวนลดลง 3)ช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-23 พบข้าวเมล็ดป้อมกระจายอยู่ทั่วไป แต่พบข้าวเมล็ดเรียวเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลัน ข้าวเมล็ดใหญ่มีจำนวนลดลง และ 4)ช่วงพุทธศตวรรษที่ 23 เป็นต้นมา พบข้าวเมล็ดเรียวมากที่สุด การศึกษาอีกชิ้นหนึ่ง คือ หลักฐานเรื่องข้าวที่เกี่ยวกับโบราณคดีในประเทศไทย โดยนคร สำเภาทิพย์ (2530) ได้ทำการศึกษาตัวอย่างแกลบข้าวที่พบในอิฐตามโบราณสถาน จำนวน 33 ตัวอย่าง จาก 16 จังหวัด ได้ผลการศึกษา ดังนี้ 1)ไม่มีการพบข้าวเมล็ดใหญ่ 2)ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 11-16 เริ่มพบข้าวเมล็ดเรียว 3) ช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-20 พบข้าวเมล็ดป้อม ยังกระจายอยู่ในเขตภาคกลาง แต่เริ่มพบข้าวเมล็ดเรียวในพื้นที่ภาคใต้ และ4)หลังพุทธศตวรรษที่ 23 เป็นต้นมา พบข้าวเมล็ดเรียวกระจายอยู่ในเขตภาคกลางของประเทศไทย แต่ยังมีข้าวเมล็ดป้อมอยู่ด้วย ซึ่งจากการศึกษาทั้งสองงาน มีข้อสันนิษฐานตรงกันว่า ข้าวเมล็ดเรียว (กลุ่ม Indica) ซึ่งเป็นข้าวเจ้า ได้เริ่มเป็นที่นิยมเพาะปลูกของผู้คนในเขตภาคกลางตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา การศึกษานี้จะดำเนินการรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับ “ข้าว” ที่พบตามโบราณสถาน/แหล่งโบราณคดีในภาคเหนือ เช่น เมล็ดข้าวที่พบจากการขุดค้นทางโบราณคดี ร่องรอยข้าวในอิฐ และหลักฐานเหล่านั้นนำมาวิเคราะห์จัดกลุ่มพันธุ์ข้าว และวิเคราะห์ร่วมกับหลักฐานทางโบราณคดีประเภทอื่นที่เกี่ยวข้องในฐานะบริบททางโบราณคดี เพื่อนำผลวิเคราะห์ที่ได้มาแปลความให้ทราบถึงวิถีชีวิตของผู้คน และเชื่อมโยงกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ภายในภูมิภาคและต่างภูมิภาค

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เพื่อศึกษาและรวบรวมหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวข้องกับ “ข้าว” ในภาคเหนือ
เพื่อวิเคราะห์พันธุ์ข้าวในภาคเหนือจากหลักฐานทางโบราณคดี
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : องค์ความรู้ “ข้าวในภาคเหนือจากหลักฐานทางโบราณคดี”
KPI 1 : งานเสวนา เรื่อง “ข้าวในภาคเหนือจากหลักฐานทางโบราณคดี”
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
50 คน 50
KPI 2 : หนังสือเรื่อง “ข้าวในภาคเหนือจากหลักฐานทางโบราณคดี”
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
300 เล่ม 300
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : องค์ความรู้ “ข้าวในภาคเหนือจากหลักฐานทางโบราณคดี”
ชื่อกิจกรรม :
1.เก็บข้อมูล-บันทึกภาพหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวกับข้าวในภาคเหนือจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติในเขตจังหวัดภาคเหนือ / แหล่งโบราณคดีในภาคเหนือ / พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จังหวัดปทุมธานี / มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / มหาวิทยาลัยศิลปากร
2.งานเสวนา “ข้าวในภาคเหนือจากหลักฐานทางโบราณคดี”

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 01/01/2568 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธี เมธาสิทธิ  สุขสำเร็จ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติราชการ (ค่าเบี้ยเลี้ยง, ค่าที่พัก, ค่าพาหนะ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 10,000.00 บาท 23,400.00 บาท 0.00 บาท 33,400.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมารถพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง อัตราวันละ 2,500 บาท จำนวน 10 วัน
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 7,500.00 บาท 10,000.00 บาท 7,500.00 บาท 25,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 2,000.00 บาท 2,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดพิมพ์หนังสือ “ข้าว” ในภาคเหนือจากหลักฐานทางโบราณคดี อัตรา 250 บาท จำนวน 300 เล่ม
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 75,000.00 บาท 75,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาจัดทำบอร์ดโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์อัตราบอร์ดละ 2,000 บาท จำนวน 5 บอร์ด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 10,000.00 บาท 10,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (อัตรา 150 บาท x 50 คน x 1 มื้อ)
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (อัตรา 35 บาท x 50 คน x 2 มื้อ)
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 11,000.00 บาท 11,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยากรเสวนา
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 3,600.00 บาท 3,600.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 160000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
การตั้งถิ่นฐานและการเกษตรกรรมแรกเริ่มในภาคเหนือ ในรายวิชา 10700142 โบราณคดีล้านนา และ 10700102 อารยธรรมและโลกสมัยใหม่ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2568
ช่วงเวลา : 03/11/2568 - 12/01/2569
ตัวชี้วัด
สมศ 6 งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่นำมาใช้ประโยชน์
การบูรณาการ
วัตถุประสงค์การบูรณาการผลการประเมินการนำผลการประเมินไปปรับปรุงการบูรณาการ
เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากหลักฐานเชิงประจักษ์ (หลักฐานทางโบราณคดี) 80 จัดทำเอกสารประกอบการสอนในรายวิชา 10700102 อารยธรรมและโลกสมัยใหม่ / ปรับปรุงเอกสารคำสอน 10700142 โบราณคดีล้านนา
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล