22781 : โครงการการสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรห้อมและพืชให้สีครามจังหวัดแพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางธนันธรณ์ วุฒิญาณ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 19/12/2567 15:04:14
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
23/12/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  นักศึกษา นักวิจัย และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจาก งปบระมาณสนับสนุนโครงการ อพ.สธ.-มจ ประจำปี พ.ศ.2568 2568 160,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ ธีราพัฒน์  จักรเงิน
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 1. การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68 MJU 1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68 MJU 1.1.4 ผลการจัดอันดับ SDG Impact Ranking (Eco. University)
กลยุทธ์ 68 MJU 1.1.4.1 ผลักดันการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยและผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-1.การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเชิงรุก
เป้าประสงค์ 68-1.1 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาใช้ในการเพิ่มศักยภาพการผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เพื่อคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Intelligent Well-being Agriculture : IWA)
ตัวชี้วัด 68-1.1.4 ผลการจัดอันดับ SDG Impact Ranking (Eco. University)
กลยุทธ์ 68-1.1.4.1 ผลักดันการดาเนินงานของมหาวิทยาลัยและผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเพื่อตอบโจทย์เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ต้นห้อมมีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องถิ่น โดยที่จังหวัดแพร่ ลำปาง เชียงใหม่ และเชียงราย เรียกห้อมน้อย แม่ฮ่องสอนเรียกครามดอย ส่วนจังหวัดน่านเรียกห้อมเมือง และห้อมหลวง จากฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์ต้นห้อมมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Strobilanthes cusia (Nees) Kuntze วงศ์ ACANTHACEAE จากการสำรวจพื้นที่เบื้องต้นบ้านนาคูหาและบ้านแม่ลัว ตำบลสวนเขื่อน และบ้านนาตอง ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ พบห้อม 3 สายพันธุ์ คือ 1) สายพันธุ์ Strobilanthes cusia เป็นห้อมสายพันธุ์ใบใหญ่ พบที่บ้านแม่ลัวเป็น 2) สายพันธุ์ Strobilanthes auriculate voucher เป็นห้อมสายพันธุ์ในเล็กพบที่บ้านนาตอง 3) สายพันธุ์ Baphicacanthus cusia voucher เป็นห้อมใบใหญ่ พบที่บ้านนาตอง (ณัฐพร, 2562) พื้นที่ดังกล่าวพบต้นห้อมขึ้นตามธรรมชาติในหมู่บ้านบริเวณสวนหลังบ้านที่ชื้นแฉะโดยเฉพาะข้างลำห้วย บ้านนาตองปลูกห้อม 21 ครัวเรือน บ้านนาคูหา 23 ครัวเรือน และบ้านแม่ลัว 31 ครัวเรือน (ซึ่งแต่ละครัวเรือนมีพื้นที่ปลูกที่ไม่ชัดเจนเนื่องจากส่วนใหญ่จะปลูกริมห้วยในป่า และปลูกแซมกับพืชอื่น) ทั้ง 3 หมู่บ้านตั้งอยู่บนพื้นที่สูงมีสภาพป่าธรรมชาติล้อมรอบ ทำให้มีอากาศเย็นเกือบตลอดทั้งปี ในปัจจุบันต้นห้อมในธรรมชาติมีเหลือไม่มากนัก เนื่องจากมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการสวมใส่ผ้าหม้อห้อมทำให้การผลิต และค้าขายเสื้อผ้าหม้อห้อมมีจำนวน เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ต้นห้อมที่นำมาย้อมสีเจริญเติบโตไม่ทันตามความต้องการจากการสำรวจ พบว่า ห้อมแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มห้อมใบใหญ่ ได้แก่ สายต้นแพร่ 1 เชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา 1 2) กลุ่มห้อมใบเล็ก ได้แก่ สายต้นแพร่ 2 และพะเยา 2 การเจริญเติบโตของห้อมทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน รวมทั้งการให้คุณภาพของสีก็ไม่แตกต่างกันมากนัก กลุ่มห้อมใบใหญ่ให้ผลผลิตห้อมสด 1,407-1,933 กิโลกรัมต่อไร่ ทำเป็นเนื้อห้อมได้ 110-180 กิโลกรัมต่อไร่ และสารอินดิโก 7.06-9.56 เปอร์เซ็นต์ กลุ่มห้อมใบเล็กให้ผลผลิตห้อมสด 1,600-1,687 กิโลกรัมต่อไร่ ทำเป็นเนื้อห้อมได้ 122-169 กิโลกรัมต่อไร่ และสารอินดิโก 3.46-5.03 เปอร์เซ็นต์ (ประนอม, 2556) ซึ่งราคาห้อมสดจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 15-20 บาท ราคาห้อมเปียกจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 300-400 บาท สายพันธุ์ห้อมที่นิยมปลูกในประเทศไทย คือ Strobilanthes cusia (Nees.) Kuntze หรือห้อมใบใหญ่และยังมีสายพันธุ์ห้อมใบเล็ก Strobilanthes sp. ซึ่งชาวบ้าน ในชุมชนบ้านนาตองเชื่อว่าสายพันธุ์ใบเล็กให้ปริมาณเนื้อและสีที่ดีกว่าสายพันธุ์ใบใหญ่ แต่ก็ต้องทำการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ต่อไป ในปี 2562 จังหวัดแพร่ได้จัดทำการขอขึ้นทะเบียนสินค้าบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในเรื่อง “ผ้าหม้อห้อมแพร่” โดยมีผู้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ผลิตภัณฑ์ผ้าหม้อห้อม บ้านทุ่งโฮ้ง ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ จำนวน 37 คน และเป็นผู้ประกอบการที่ผลิตผ้าหม้อห้อม ซึ่งสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่ขึ้นทะเบียนแล้วจะต้องจัดให้มีระบบการควบคุมคุณภาพ กระบวนการผลิตและแหล่งที่มาของสินค้า เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถรักษามาตรฐานตามที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญาโดย GI เป็นเครื่องมือในการพัฒนาท้องถิ่น และเป็นเครื่องมือทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ ให้สามารถยกระดับสินค้าจากท้องถิ่นออกสู่ระดับประเทศ และต่างประเทศ จึงทำให้ผู้ประกอบการที่ผลิตผ้าหม้อห้อมย้อมสีธรรมชาติต้องการห้อมเปียกหรือเปอะ (Indigo plast) ที่มีคุณภาพในปริมาณที่สูง สืบเนื่องจากการอบรมเรื่องการก่อหม้อห้อมให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการผ้าหม้อห้อมแพร่เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2562 พบปัญหาเรื่องของปริมาณเนื้อห้อมเปียกที่ไม่เพียงพอต่อการก่อหม้อย้อมของผู้ผลิตและผู้ประกอบการในจังหวัดแพร่ เนื่องจากใบห้อมที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดแพร่มีลักษณะใบบาง ความเข้มของการติดสีน้อย เปอร์เซ็นต์การให้เนื้อห้อมน้อยเกิดจากผู้ปลูกพึ่งพิงธรรมชาติ เป็นหลัก และยังมีปัญหาเกี่ยวกับการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าที่ต้นห้อมมักเป็นโรคนี้กันค่อนข้างมาก ซึ่งส่วนใหญ่มักพบโรครากเน่าโคนเน่านี้ในช่วงฤดูฝนถึงฤดูหนาว เพราะเป็นช่วงที่มีความชื้นสูงทำให้ดินมีความชื้นสูงตามไปด้วย จุลินทรีย์ร้ายต่าง ๆ ที่อยู่ในดินเจริญเติบโตแพร่ขยายเผ่าพันธุ์ได้ดีและเร็วสาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่าเกิดจากเชื้อราไฟทอฟโธรา (Phytophthora parasitica Dastur) เชื้อราโรคพืชกลุ่มนี้จะอาศัยอยู่ในดินปกติอยู่แล้ว รอเวลาที่ต้นพืชที่ปลูกอ่อนแอหรือไม่มีภูมิคุ้มกันโรค เชื้อราไฟทอปโธราก็จะเข้าทำลาย สังเกตได้จากเวลาพบต้นห้อมเป็นโรครากเน่าโคนเน่า จะไม่พบการระบาดทั่วทั้งแปลงแต่จะพบเป็นบางต้นและค่อย ๆ ลุกลามไปยังต้นข้างเคียงแสดงให้เห็นว่า เชื้อราไฟทอฟโธราจะเข้าทำลายต้นที่อ่อนแอมีภูมิคุ้นกันต่อโรคต่ำที่สุด แต่ถ้าดูแลให้ต้นห้อมแข็งแรงมีภูมิคุ้มกันที่ดีอยู่ตลอดเวลาแล้ว อัตราการเกิดโรครากเน่าโคนเน่าก็จะลดลงตามไปด้วย การแก้ปัญหาดังกล่าวผู้มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการปลูกห้อมควรมีการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกห้อมให้อาหารทางใบสำหรับต้นห้อมและการใช้สารชีวภัณฑ์ ได้แก่ บิวเวอเรีย เมธาไรเซียมป้องกันแมลง ใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เพิ่มความหนาของใบ และเม็ดสีของใบห้อมใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาป้องกันโรครากเน่าโคนเน่า ราสนิมน้ำค้าง ซึ่งพบว่าต้องใช้ผลิตภัณฑ์ทางชีวภาพหลายชนิด แต่ถ้าเกิดใช้เอนโดไฟติกเเบคทีเรียเพียงชนิดเดียวสามารถให้ประสิทธิผลครอบคลุมในทุก ๆ ด้าน จากงานวิจัยการใช้เชื้อเอนโดไฟติกแบคทีเรียของ ณัฐพร (2561) สามารถทำให้ ต้นห้อมสามารถปลูกในพื้นที่ราบได้โดยควบคุมความชื้นให้อยู่ที่ 75-80 เปอร์เซ็นต์ ไม่พบการเกิดโรครากเน่าโคนเน่า ห้อมให้ผลผลิตที่ดีมีขนาดต้นที่สูงขึ้น จำนวนกอและกิ่งเพิ่มขึ้น 2 เท่าตัว อีกทั้งปริมาณเนื้อห้อมเพิ่มสูงขึ้น และให้การเปลี่ยนสีที่ดีขึ้นเมื่อใช้รวมกับเชื้อจุลินทรีย์ในการก่อหม้อ (ณัฐพร, 2562) และเนื่องจากจังหวัดแพร่ต้องการผลักดันผ้าหม้อห้อมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นจึงบรรจุงานต่าง ๆ เรื่องห้อมไว้ในแผนยุทธศาสตร์ของจังหวัด โดยจะอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งมีเป้าหมาย คือ 1) ประเทศไทยเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วเศรษฐกิจเติบโตอย่างมีเสถียรภาพและยั่งยืน 2) ประเทศไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงในประเด็นการเกษตรสร้างมูลค่า คือ 1) เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ส่งเสริมการนำอัตลักษณ์พื้นถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยมาเป็นผลิตภัณฑ์การเกษตร 2) เกษตรปลอดภัย ให้ความรู้ สนับสนุนกลไกตลาด เปลี่ยนผ่านสู่เกษตรอินทรีย์ 3) เกษตรชีวภาพ ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากฐานเกษตรกรรมฐานทรัพยากรชีวภาพ 4) เกษตรแปรรูป เพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์และสินค้าเกษตรพรีเมียม 5) เกษตรอัจฉริยะ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนา ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณห้อมและกำลังการผลิตในปัจจุบันยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้ พืชให้สีครามท้องถิ่นของจังหวัดแพร่หลายชนิดโดยเฉพาะห้อมเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของจังหวัดสู่ระดับประเทศ และระดับโลกที่นำมาผลิตเป็นสินค้าผ้าหม้อห้อม นอกจากห้อมแล้วยังมีพืชให้สีครามอีก 2 ชนิด คือ คราม และเบิก ที่ปัจจุบันไม่ได้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของแพร่แต่มีแนวโน้มของการใช้ประโยชน์ในด้านอื่น รวมทั้งบางชนิดยังไม่มีผู้ศึกษาศักยภาพในการใช้ประโยชน์จริงจังเนื่องจากขึ้นอยู่ตามธรรมชาติในป่า (เบิก) นอกจากสารสีครามในพืชกลุ่มนี้แล้วนั้นยังมีสารสำคัญอื่นอีกหลายชนิด เช่น สารสำคัญกลุ่ม Indole alkaloid glucosides สารกลุ่มควินาโซลิโนน แอลคาลอยด์ (Quinazolinone alkaloids) โมโนเทอร์พีน (Monoterpenes) ไตรเทอร์พีน (Triterpenes) ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) สเตอรอล (Sterols) แอนทราควิโนน (Anthraquinones) เบนโซซาซิโนน (Benzoxazinones) และลิกแนน (Lignans) (Honda and Tabata, 1979; Sun et al., 2008; Gu et al., 2014) ที่พบในครามและห้อม ซึ่งสารประกอบเหล่านี้มีคุณสมบัติในการต้านเชื้อจุลินทรีย์และเชื้อไวรัส บางชนิดได้รวมถึงมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็งได้อีกด้วย (Honda and Tabata, 1979; Merz et al., 2004; Ichimaru et al., 2015) แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้ให้เกิดศักยภาพที่สูงสุดได้ ดังนั้น พืชเหล่านี้จะมีความเสี่ยงในการสูญหายค่อนข้างสูง เพราะการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อทำประโยชน์อย่างอื่น ความจำเป็นในการเก็บรักษาทรัพยากรพืชเหล่านี้จึงมีความสำคัญยิ่ง นอกจากการเก็บรักษาแล้ว ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกลุ่มพืชก็มีความจำเป็นเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพันธุ์ พันธุกรรมและความแตกต่างหรือความหลากหลาย จากพืชกลุ่มห้อมลักษณะทางสัณฐานภายนอกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ห้อมใบใหญ่ และห้อมใบเล็ก โดยเฉพาะห้อมใบใหญ่นิยมปลูกในพื้นที่ ที่หลากหลายซึ่งอาจมีความหลากหลายทางชีวภาพที่แตกต่างกัน ประกอบกับจังหวัดแพร่ได้ขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) “ผลิตภัณฑ์หม้อห้อม” แต่ก็ไม่สามารถระบบชนิดสายพันธุ์ได้อย่างชัดเจนทางวิทยาศาสตร์ เพียงแต่ระบุว่าต้องเป็นสินค้าที่ผลิตจากห้อมของจังหวัดแพร่ ซึ่งไม่ครอบคลุมพืชให้สีครามอื่น เช่น คราม และเบิกรวมไปถึงการที่จะรักษาผลประโยชน์ของชาติโดยการ จดสิทธิบัตรพันธุ์พืชในอนาคตเมื่อมีการใช้ประโยชน์อย่างจริงจังการศึกษาในระดับพันธุกรรมของพืชหรือสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ต้องอาศัยเครื่องหมายพันธุศาสตร์หรือที่เรียกว่า genetic marker เป็นตัวบ่งชี้ ส่วนการทำงานของยีนนั้นก็ต้องอาศัยการแสดงออกในรุ่นลูกรวมทั้งอาศัยความรู้ทางคณิตศาสตร์เข้ามาช่วย ทั้งนี้เนื่องจากเราไม่สามารถมองเห็นยีนที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ ได้ ดังนั้น genetic marker จึงมีความสำคัญ ในอดีตเราใช้ลักษณะสัณฐานที่แตกต่างกันเป็น genetic marker แต่ด้วยข้อจำกัดหลายประการ นักวิทยาศาสตร์จึงได้พัฒนาเครื่องหมายระดับโมเลกุลขึ้นมา ซึ่งมีข้อได้เปรียบมากเมื่อเทียบกับลักษณะสัณฐาน RAPD เป็นหนึ่งในเครื่องหมายโมเลกุลที่ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 และมีการพิสูจน์แล้วว่าสามารถใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรม การจำแนกพันธุ์ เพราะสามารถทำได้รวดเร็ว เครื่องมือและวิธีการไม่ยุงยากมากนัก รวมทั้งค่าใช้จ่ายไม่แพงมากเมื่อเทียบกับเทคนิคอื่น ๆ แต่เพื่อความแม่นยำและละเอียดยิ่งขึ้นวิธี 16S rRNA ด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุลร่วมกับการใช้ฐานข้อมูลทางชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) จึงเลือกนำมาใช้ศึกษาในครั้งนี้ การอนุรักษ์พันธุ์พืชในท้องถิ่นนับว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้พืชท้องถิ่นบางชนิดถูกทำลายและสูญหายในที่สุด พืชให้สีครามของจังหวัดแพร่ และในเขตภาคเหนือก็กำลังเผชิญกับภาวะดังกล่าว หลายชนิดลดจำนวนลงอย่างรวดเร็วในระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพเล็งเห็นปัญหาดังกล่าว จึงจัดให้มีการดำเนินงานวิจัยเรื่อง “การเก็บรวบรวมและอนุรักษ์พันธุกรรมของพืชให้สีครามของภาคเหนือ” จากงานภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีได้ศึกษารวบรวมพืชให้สีครามในจังหวัดแพร่ซึ่งการเก็บรวบรวมพันธุ์พืชกลุ่มดังกล่าว ได้ดำเนินการใกล้เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยเก็บรวบรวมพันธุ์พืชและปลูกไว้ที่ศูนย์ห้อมและชีวนวัตกรรม มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ จ.แพร่ ขั้นตอนสำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการอนุรักษ์เชื้อพันธุ์พืช คือการศึกษาพันธุกรรมของพืชที่เก็บรวบรวมเพื่อเป็นฐานข้อมูลและการใช้ประโยชน์ในอนาคต การศึกษาพันธุกรรมพืชและการจำแนกกลุ่มพืช สามารถทำได้โดยอาศัยความแตกต่างของสัณฐานวิทยาที่ปรากฏ อย่างไรก็ตามการอาศัยลักษณะดังกล่าวมีข้อจำกัดมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพืชเหล่านั้นมีลักษณะใกล้เคียงกัน การใช้เทคนิคทางด้านชีวโมเลกุลจะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการศึกษาดังกล่าว เทคนิค RAPD (Random Amplified Polymorphic DNA) เป็นหนึ่งในเทคนิคทางชีวโมเลกุลที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมพืช การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มพืช รวมไปถึงการใช้เป็นข้อมูลในการทำแผนที่ยีนในพืชหลายชนิด ดังนั้นอาศัยลักษณะทางสัณฐานร่วมกับการใช้เทคนิค RAPD จะทำให้การประเมินลักษณะพันธุกรรมของพืชมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น แต่การศึกษาครั้งนี้เลือกใช้วิธี 16S rRNA ด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุลร่วมกับการใช้ฐานข้อมูลทางชีวสารสนเทศ (Bioinformatics) ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของห้อมและพืชให้สีคราม จึงต้องการทำโครงการโครงการการสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรห้อมและพืชให้สีครามจังหวัดแพร่ เพื่อตอบสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยจะดำเนินการลงพื้นที่สำรวจและทำบัญชีรายการห้อมและพืชให้สีคราม พร้อมระบุพิกัด และทำทะเบียนทรัพยากรภายใต้รัศมีอย่างน้อย 50 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่ ดังนี้ 1.บ้านนาตอง ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 2.บ้านนาคูหา ตำบลสวนเขื่อน อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 3.บ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 4. บ้านน้ำจ้อม ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ 5.ตำบลทุ่งโฮ้ง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ โดยจะทำการสำรวจทรัพยากรร่วมกับเครือข่าย อพ.สธ. หรือ สมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ทำให้เกิดความร่วมมือกัน มีกิจกรรมที่ดำเนินงานร่วมกัน มีหน่วยงานฯ เป็นพี่เลี้ยงและผู้สนับสนุน เป็นการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น และนำข้อมูลที่สำรวจได้เปรียบเทียบกันในแต่ละปีตามที่มีอยู่จริง เพื่อใช้ในการประเมินสภาพพื้นที่และทรัพยากรที่เปลี่ยนแปลงไป และเก็บตัวอย่างพืชในแต่ละพื้นที่ เพื่อจำแนกสายพันธุ์ของห้อมและพืชให้สีครามในจังหวัดแพร่จากการตรวจวิเคราะห์ยีน 16S rRNA ด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุล และนำข้อมูลที่ได้จากโครงการไปใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1 เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2 เพื่อสำรวจห้อมและพืชให้สีครามในพื้นที่ภายใต้รัศมี 50 กิโลเมตร จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
3 เพื่อทำบัญชีรายการห้อมและพืชให้สีครามที่สำรวจพบในพื้นที่พร้อมระบุพิกัด
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : โครงการการสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรห้อมและพืชให้สีครามจังหวัดแพร่
KPI 1 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 2 : ข้อมูลบัญชีรายการห้อมและพืชให้สีคราม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ฐานข้อมูล 1
KPI 3 : ร้อยละความพึงพอใจของผู้ร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
70 ร้อยละ 70
KPI 4 : นักศึกษา นักวิจัย และประชาชนทั่วไปที่ร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 คน 30
KPI 5 : ค่าใช้จ่ายของการกำเนินงานเป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
160000 บาท 160000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : โครงการการสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรห้อมและพืชให้สีครามจังหวัดแพร่
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 1 ลงพื้นที่สำรวจและทำบัญชีรายการห้อมและพืชให้สีคราม พร้อมระบุพิกัด และทำทะเบียนทรัพยากรในพื้นที่บ้านตอง บ้านนาคูหา บ้านแม่ลัว บ้านน้ำจ้อม และตำบลทุ่งโฮ้ง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 23/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ธีราพัฒน์  จักรเงิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาผู้ประสานงานโครงการ จำนวน 1 คน ๆ ละ 15,000 บาท จำนวน 3 เดือน เป็นเงิน 45,000 บาท
2. ค่าจ้างเหมารถตู้พร้อมน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 1 คัน ๆ ละ 2,800 บาท จำนวน 5 วัน เป็นเงิน 14,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 59,000.00 บาท 0.00 บาท 59,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. วัสดุสำนักงาน เช่น กระดาษ กรรไกร กาว ปากกา เป็นต้น เป็นเงิน 11,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 11,000.00 บาท 0.00 บาท 11,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 70000.00
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมที่ 2 เก็บตัวอย่างพืชในแต่ละพื้นที่ และจำแนกสายพันธุ์ของห้อมและพืชให้สีครามในจังหวัดแพร่จากการตรวจวิเคราะห์ยีน 16S rRNA ด้วยเทคนิคทางชีวโมเลกุล

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 23/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์ธีราพัฒน์  จักรเงิน (ผู้รับผิดชอบหลัก)
รองศาสตราจารย์ ดร.ณัฐพร  จันทร์ฉาย (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
1. ค่าจ้างเหมาจำแนกสายพันธุ์ห้อมและพืชให้สีคราม จำนวน 1 งาน เป็นเงิน 60,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท 0.00 บาท 60,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
1. วัสดุวิทยาศาสตร์ เช่น ไนโตรเจนเหลว จานเลี้ยงเชื้อ สเตอไรด์ ขวดดูแรน เคซีน เปปโตน เป็นต้น เป็นเงิน 30,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท 0.00 บาท 30,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 90000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
นำไปบูรณาการในการเรียนการสอนวิชา 11214373 การใช้ประโยชน์จากของเสียและการบำบัดมลพิษทางชีวภาพ จำนวน 4 คน
ช่วงเวลา : 06/12/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล