22751 : โครงการ การพัฒนารูปแบบการเลี้ยงควายในชุมชนบ้านแม่ทรายเพื่อการอนุรักษ์และความยั่งยืนในอาชีพ
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางธนันธรณ์ วุฒิญาณ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 28/11/2567 11:14:54
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
04/12/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  30  คน
รายละเอียด  กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงควาย และ ประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจากจากงบประมาณโครงการ อพ.สธ.-มจ. ประจำปี 2568 2568 170,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มรกต  วงศ์หน่อ
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68-2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68-2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68-2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันการทำการเกษตรมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยมีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้เป็นเครื่องทุ่นแรงในการทำงาน บทบาทของกระบือในด้านการทำการเกษตรจึงลดลง กระบือจึงกลายเป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อจำหน่ายเป็นอาหารและเพื่อประกวดเป็นกระบือสวยงาม โดยการเลี้ยงกระบือของเกษตรกรในปัจจุบันจะเป็นการเลี้ยงเพื่อเสริมรายได้ ระบบการเลี้ยงส่วนใหญ่จะเป็นการเลี้ยงแบบปล่อยหากินตามแหล่งอาหารที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ใช้ตัวผู้คุมฝูงโดยและอาหารของกระบือส่วนใหญ่จะเป็นหญ้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ และผลพลอยได้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ต้นข้าวโพด เปลือกข้าวโพด เป็นต้น ชาวบ้านในหมู่บ้านแม่ทรายส่วนใหญ่เลี้ยงกระบือโดยการปล่อยให้กระบือแทะเล็มหญ้าในเขตที่ดินของตน กระบือจะมีหญ้ากินแค่ช่วงฤดูหนาวหรือหลังทำนาซึ่งมีหญ้าน้อยและมีเวลาสั้นในการปล่อยแทะเล็ม และเมื่อถึงช่วงฤดูกาลเพาะปลูก กระบือจะถูกต้อนให้ออกจากพื้นที่ให้เข้าไปหากินในป่าเนื่องจากชาวบ้านต้องทำการไถเตรียมแปลงปลูกข้าวโพด หรือปลูกข้าว และจากการที่ในช่วงฤดูฝนพื้นส่วนใหญ่จะถูกใช้ในการทำนาและทำให้เจ้าของกระบือจะต้องต้อนกระบือเข้าไปหากินในป่า โดยจะปล่อยให้กระบือหากินด้วยตนเองตามธรรมชาติ ซึ่งบ่อยครั้งที่เกิดความสูญเสีย เนื่องจากปัญหาทางด้านสุขภาพ การเจริญเติบโต เนื่องจากโรคติดเชื้อ โรคทำสำคัญคือโรคปรสิตในเลือด ซึ่งมักจะมีกระแพร่ระบาดในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากในช่วงฤดูการดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่ อุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมแก่การแพร่พันธุ์ของแมลงชนิดต่างๆ รวมถึงแมลงดูดเลือดที่เป็นพาหะของโรคปรสิตในเลือด และลักษณะของป่าในเขตอำเภอร้องกวาง เป็นป่าเต็งรังผสมสน ป่าเต็งรัง และป่าเบญจพรรณซึ่งฝนตกไม่มากนัก ดินอุ้มน้ำน้อย ทำให้กระบือมีหญ้ากินน้อย ประกอบกับเมื่อเกิดโรคเกิดขึ้น จึงเกิดความสูญเสียต่อกระบือ และผู้เลี้ยงเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การเลี้ยงแบบปล่อยเข้าป่ายังมีโอกาสในการผสมพันธุ์ภายในฝูงและเกิดเลือดชิดค่อนข้างสูงเนื่องจากขาดแคลนพ่อพันธุ์ เนื่องจากเกษตรกรไม่ได้คัดลูกตัวผู้ที่เกิดขึ้นภายในฝูง จึงเสี่ยงในการเกิดการผสมเลือดชิด ส่งผลให้ขนาดของกระบือมีรูปร่างค่อนข้างเล็ก รวมไปถึงสุขภาพของกระบือไม่แข็งแรงเท่าที่ควร โดยภาพรวมคือมีประสิทธิภาพการผลิตต่ำ สูญเสียโอกาสในการเศรษฐกิจไปอย่างมาก จากเหตุผลดังกล่าวจึงมีแนวความคิดในการถ่ายทอดองค์ความรู้ในการเลี้ยงแบบกึ่งปราณีต คือมีการนำองค์ความรู้ในการจัดการฟาร์ม การจัดการด้านอาหาร รวมถึงการจัดการด้านสุขภาพ ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือ เพื่อจะปรับเปลี่ยนรูปแบบบการเลี้ยงแบบเดิมที่ปล่อยกระบือหากินเองจากหญ้าในพื้นที่ป่าธรรมชาติให้เป็นแบบกึ่งปราณีต คือมีการปลูกสร้างแปลงหญ้าที่ให้ผลผลิตและคุณค่าทางอาหารสูง รวมถึงการดูแลสุขภาพให้แก่กระบือเพื่อลดการสูญเสีย นำไปสู่ความยั่งยืนในอาชีพการเลี้ยงและอนุรักษ์กระบือในแม่ทรายให้คงอยู่ต่อไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2.เพื่อศึกษาวิจัยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเลี้ยงที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตควายของกลุ่มผู้เลี้ยงกระบือตำบลแม่ทราย
3.เพื่อเป็นการอนุรักษ์ควายในตำบลแม่ทรายและนำไปสู่ความยั่งยืนในการเลี้ยง
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : พัฒนารูปแบบการเลี้ยงควายในชุมชนบ้านแม่ทรายเพื่อการอนุรักษ์และความยั่งยืนในอาชีพ
KPI 1 : มีการเผยแพร่ผลงานวิจัย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ครั้ง 1
KPI 2 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
170000 บาท 170000
KPI 3 : ความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 4 : จำนวนผู้เข้าร่วมอบรม
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 3คน 30
KPI 5 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 6 : ข้อมูลจากการวิจัยการใช้รูปแบบการเลี้ยงที่เหมาะสมในการเพิ่มประสิทธิภาพการเลี้ยงควายในชุมชนแม่ทราย
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
1 ชุด 1
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : พัฒนารูปแบบการเลี้ยงควายในชุมชนบ้านแม่ทรายเพื่อการอนุรักษ์และความยั่งยืนในอาชีพ
ชื่อกิจกรรม :
1 การถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการกระบือกึ่งปราณีต

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มรกต  วงศ์หน่อ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรศิลป์  มาลัยทอง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าอาหารกลางวัน (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 35 คน ๆ ละ 120 บาท 1 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 4,200 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (ผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่) จำนวน 35 คน ๆ ละ 35 บาท 2 มื้อ 1 วัน เป็นเงิน 2,450 บาท
ค่าจ้างเหมาจัดทำคู่มือฝึกอบรม ( 40 หน้า/เล่ม) จำนวน 30 เล่ม ๆ ละ 60 บาท 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,800 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
8,450.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 8,450.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยาการภาคบรรยาย จำนวน 3 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 คน ๆ ละ 1 วัน จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,800 บาท
ค่าตอบแทนวิทยาการภาคปฏิบัติ จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 300 บาท จำนวน 2 คน ๆ ละ 1 วัน จำนวน 1 ครั้ง เป็นเงิน 2,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
4,200.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 4,200.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุเกษตร เช่น เมล็ดพันธุ์หญ้า เชือก น้ำเชื้อพ่อพันธุ์ ถังฝาล๊อค เป็นต้น เป็นเงิน 60,000 บาท
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เช่น หญ้าถ่ายพยาธิ ไนโตรเจนเหลว ถุงมือล้วงผสมเทียม พลาสติกชีท ฮอร์โมนกระตุ้น เป็นต้น เป็นเงิน 60,000 บาท
ค่าวัสดุงานบ้านงานครัว เช่น ถุงขยะ ไม้กวาด เป็นต้น เป็นเงิน 3,350 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
123,350.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 123,350.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 136000.00
ชื่อกิจกรรม :
2 จัดทำแปลงพืชอาหารสัตว์

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มรกต  วงศ์หน่อ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุจดาว  คนยัง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชิตร์  วรรณคำ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าจ้างเหมาเตรียมแปลงไถ พรวน และปลูกหญ้า จำนวน 6 ไร่ เป็นเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 9000.00
ชื่อกิจกรรม :
3 การศึกษาประสิทธิภาพการผลิตของควายในรูปแบบการเลี้ยงที่ต่างกัน

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 04/12/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มรกต  วงศ์หน่อ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพงษ์  ทองเรือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุจดาว  คนยัง (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.ศุกรี  อยู่สุข (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเบี้ยเลี้ยงและค่าพาหนะเดินทางในการเก็บข้อมูล เป็นเงิน 13,000 บาท
ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงาน จำนวน 2 งาน ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 2,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 15,000.00 บาท 15,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนนักศึกษาช่วยปฏิบัติงาน จำนวน 3 คน ๆ ละ 200 บาท/วัน จำนวน 15 วัน เป็นเงิน 9,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 9,000.00 บาท 9,000.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุสำนักงาน เช่น ปากกา กระดาษเอ4 เป็นต้น เป็นเงิน 1,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 1,000.00 บาท 1,000.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 25000.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
มีการบูรณาการร่วมกับรายวิชา ผส 230 การจัดการฟาร์มโคนม โคเนื้อ ผส 350 โภชนศาสตร์เบื้องต้น ผส 331 การจัดการพืชอาหารสัตว์
ช่วงเวลา : 04/12/2567 - 30/09/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล