22745 : โครงการ "การผลิตน้ำหมักปลาจากปลาหมอคางดำที่จับได้ในพื้นที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร"
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
อาจารย์วีรชัย เพชรสุทธิ์ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 29/11/2567 10:19:22
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
15/01/2568  ถึง  10/08/2568
แผนงาน
กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  50  คน
รายละเอียด  นักเรียน นักศึกษา เกษตรกร และประชาชนทั่วไป
รูปแบบกิจกรรม
ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณเงินรายได้ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน ไม่ขอเบิกใช้งบประมาณ 2568 0.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
อาจารย์ วีรชัย  เพชรสุทธิ์
อาจารย์ ดร. ณัชพัฒน์  สุขใส
อาจารย์ ดร. เชษฐ์  ใจเพชร
อาจารย์ พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ มจ.ชพ.68 : 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก (MOC)
เป้าประสงค์ มจ.ชพ.68 : 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับหรือก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในสังคม ชุมชน และประเทศ โดยมีศาสตร์ทางด้านการเกษตรเป็นรากฐาน
ตัวชี้วัด มจ.ชพ.68 : 2.3.2 ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของชุมชนจากการบริการวิชาการ
กลยุทธ์ มจ.ชพ.68 : 2.3.2.1 สร้างความสำเร็จและประเมินสัมฤทธิ์ผลของโครงการบูรณาการอย่างเป็นรูปธรรม
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ปลาหมอคางดำ (Sarotherodon melanotheron) เป็นปลาน้ำกร่อยที่แพร่กระจายเข้ามาในระบบนิเวศน้ำจืด น้ำกร่อยและชายฝั่งทะเลอ่าวไทยของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ชายฝั่งอำเภอละแม จังหวัดชุมพร การแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็วของปลาชนิดนี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศพื้นถิ่น เช่น การแข่งขันทรัพยากรกับพันธุ์ปลาท้องถิ่นและการลดความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งผลให้ปลาหมอคางดำถูกมองว่าเป็นชนิดพันธุ์รุกรานที่สร้างปัญหาในระบบนิเวศ ในขณะเดียวกัน ชาวประมงในพื้นที่อำเภอละแมสามารถจับปลาหมอคางดำในปริมาณมาก แต่ยังขาดแนวทางที่เหมาะสมในการจัดการทรัพยากรดังกล่าวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด การนำน้ำหมักปลามาใช้ในภาคเกษตรกรรมเป็นทางเลือกที่ได้รับความสนใจอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากน้ำหมักปลาประกอบด้วยธาตุอาหารหลักและรองที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม รวมถึงสารอินทรีย์ที่สามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพดิน นอกจากนี้ น้ำหมักปลายังอุดมไปด้วยจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ เช่น แบคทีเรียกรดแลคติก และจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์สาร ซึ่งสามารถกระตุ้นการปลดปล่อยธาตุอาหารในดินและเสริมสร้างระบบรากของพืชให้แข็งแรง การใช้ปุ๋ยชีวภาพในรูปของน้ำหมักปลายังช่วยลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนในการทำเกษตร ในบริบทของการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน การผลิตน้ำหมักปลาจากปลาหมอคางดำจึงเป็นแนวทางที่สามารถสร้างประโยชน์หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการลดผลกระทบต่อระบบนิเวศจากชนิดพันธุ์รุกราน การเพิ่มมูลค่าให้กับทรัพยากรที่หาได้ในท้องถิ่น และการส่งเสริมเกษตรกรรมแบบยั่งยืนในชุมชนท้องถิ่น โครงการนี้มุ่งเน้นการพัฒนากระบวนการผลิตน้ำหมักปลาที่เหมาะสม เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ใช้งานง่าย และสามารถนำไปถ่ายทอดให้เกษตรกรในพื้นที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เพื่อนำไปใช้งานได้จริงในภาคการเกษตร ทั้งนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในกระบวนการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมผ่านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าอีกด้วย นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังได้ บูรณาการกับการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ ดังนี้ 11302322 การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ, 11302323 การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล, 11302361 ระเบียบวิธีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 11302421 การเพาะเลี้ยงหอยเศรษฐกิจ พช342 แพลงก์ตอนเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 0601202 สุขภาวะและความปลอดภัยของการท่องเที่ยว กท221 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การภาครัฐและเอกชน กท324ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานราชการ 11300200ปฏิบัติการเคมีทั่วไป ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักศึกษา เกษตรกรและประชาชนทั่วไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตน้ำหมักปลาจากปลาหมอคางดำที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับทรัพยากรในพื้นที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
เพื่อลดผลกระทบของปลาหมอคางดำต่อระบบนิเวศในท้องถิ่นโดยการนำปลาชนิดนี้มาใช้ประโยชน์ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์น้ำหมักปลา
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากปลาหมอคางดำและส่งเสริมการใช้ปุ๋ยชีวภาพในภาคเกษตรกรรมซึ่งช่วยลดการพึ่งพาปุ๋ยเคมีและส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืนในชุมชน
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : กระบวนการผลิตน้ำหมักปลาจากปลาหมอคางดำที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับทรัพยากรในพื้นที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
KPI 1 : จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
30 20 คน 50
KPI 2 : ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 80 ร้อยละ 80
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : กระบวนการผลิตน้ำหมักปลาจากปลาหมอคางดำที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับทรัพยากรในพื้นที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร
ชื่อกิจกรรม :
กิจกรรมการผลิตน้ำหมักปลาจากปลาหมอคางดำที่จับได้ในพื้นที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 15/01/2568 - 10/08/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
อาจารย์วีรชัย  เพชรสุทธิ์ (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ณัชพัฒน์  สุขใส (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์ ดร.เชษฐ์  ใจเพชร (ผู้รับผิดชอบรอง)
อาจารย์พัชรินทร์  วิริยะสุขสวัสดิ์ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ไม่ขอเบิกใช้งบประมาณ
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 0.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
แนวทางการแก้ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มี
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
บูรณาการกับวิชา 11302322 การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ, 11302323, การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล, 11302361 ระเบียบวิธีวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง 11302421 การเพาะเลี้ยงหอยเศรษฐกิจ พช342 แพลงก์ตอนเพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 0601202 สุขภาวะและความปลอดภัยของการท่องเที่ยว กท221 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การภาครัฐและเอกชน กท324ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารงานราชการ 11300200ปฏิบัติการเคมีทั่วไป
ช่วงเวลา : 15/01/2568 - 10/08/2568
ตัวชี้วัด
การบูรณาการ
เอกสารประกอบ
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล