22734 : โครงการความหลากหลายของลักษณะภายนอก และภูมิปัญญาในการเลี้ยงไก่ของชนเผ่าในจังหวัดแพร่
ประเภทแผนโครงการ: ในแผนปฏิบัติการประจำปี 2568
นางธนันธรณ์ วุฒิญาณ (ผู้เพิ่มข้อมูล)
วันที่ปรับปรุงข้อมูล : 26/11/2567 14:02:48
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
รูปแบบโครงการ
โครงการภายใน
ประเภทโครงการ
โครงการตามแผนปฏิบัติการประจำปีของส่วนงาน (เบิกจ่ายจากงบประมาณเงินรายได้ของส่วนงาน หรืองบประมาณจากแหล่งอื่น)
ช่วงเวลาที่ทำโครงการ
01/12/2567  ถึง  30/09/2568
แผนงาน


กลุ่มเป้าหมาย
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย  100  คน
รายละเอียด  เกษตรกร เยาวชน และประชาชนทั่วไปที่สนใจ
รูปแบบกิจกรรม





ตอนที่ 2 งบประมาณ
ประเภททุนสนับสนุนหมวดค่าใช้จ่ายคำอธิบายปีงบประมาณจำนวนเงิน(บาท)
งบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หมวดรายจ่าย » งบอุดหนุน เบิกจ่ายจากงบประมาณโครงการ อพ.สธ.มจ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2568 2568 160,000.00
รวมทั้งหมด0.00
ตอนที่ 3 ผู้รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อผู้รับผิดชอบสถานะ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วรศิลป์  มาลัยทอง
ตอนที่ 4 ที่ปรึกษาโครงการ
รายชื่อที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัฐพงศ์  ปกแก้ว
ตอนที่ 5 หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ
รายชื่อหน่วยงานสถานะ
มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ
ตอนที่ 6 นโยบายมหาวิทยาลัย
นโยบาย
นโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และองค์ความรู้
ตอนที่ 7 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย
ประเด็นยุทธศาสตร์
[ 2568 ] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68 MJU 2. การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68 MJU 2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68 MJU 2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68 MJU 2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 8 สอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์หน่วยงาน
ประเด็นยุทธศาสตร์
[2568] ประเด็นยุทธศาสตร์ 68-2.การขับเคลื่อนผลการดำเนินงานตามพันธกิจหลัก
เป้าประสงค์ 68-2.3 ให้บริการวิชาการเพื่อเป็นที่ยอมรับจากสังคม ชุมชน และประเทศ ด้วยศาสตร์ทางด้านการเกษตร
ตัวชี้วัด 68-2.3.1 จำนวนงบประมาณบริการวิชาการ
กลยุทธ์ 68-2.3.1.2 ผลักดันผลงานการให้บริการวิชาการของมหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)
ตอนที่ 9 หลักการและเหตุผล

ไก่พื้นเมือง (Native Chickens) มีถิ่นกำเนิดในแถบเอเชีย วิวัฒนาการมาจากไก่ป่าชนิดต่างๆ และที่พบในประเทศไทยเป็นไก่ป่า 2 ชนิด คือ ไก่ป่าตุ้มหูขาว และไก่ป่าตุ้มหูแดง (ฐาปนา, 2552) ในประเทศไทย มีไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ดั้งเดิมมีอยู่ 3 สายพันธุ์ คือ ไก่แจ้ ไก่ตะเภา และไก่อู โดยทั่วไปเกษตรกรเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคภายในครัวเรือนเป็นหลัก เมื่อมีไก่เหลือจำนวนมากพอ ก็จะนำมาจำหน่ายให้เพื่อนบ้านเป็นรายได้แบบเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยลักษณะที่มีนิสัยก้าวร้าว รักการต่อสู้ และมีขนสีสันสวยงาม จึงมักถูกนำมาเลี้ยงไว้ด้วยวัตถุประสงค์อื่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น เลี้ยงไว้เป็นไก่ชนหรือต่อสู้กันในเชิงกีฬา รวมถึงเลี้ยงไว้เป็นไก่สวยงามตามมาตรฐานพันธุ์เพื่อการประกวด ปัจจุบันไก่พื้นเมืองมีความหลากหลายทางสายพันธุ์ และแต่ละสายพันธุ์มีลักษณะที่ดีแตกต่างกันออกไป ไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงกันอยู่ในชนบทเพื่อเป็นอาหาร และเลี้ยงเพื่อเป็นไก่ชนมาตั้งแต่ดั้งเดิมนั้น เป็นไก่ที่ได้รับคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์มาตั้งแต่อดีตจนมีสีขน และลักษณะประจำสายพันธุ์ที่เด่นชัด ทนทานต่อสภาพแวดล้อม และมีชั้นเชิงในการต่อสู้ที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ไก่สายพันธุ์ประดู่หางดำ ไก่สายพันธุ์เขียวหางดำ ไก่ชี และไก่สายพันธุ์เหลืองหางขาว เป็นต้น ต่อมาเมื่อมีความต้องการบริโภคไก่มากขึ้น ส่วนราชการจึงได้นำไก่สายพันธุ์จากต่างประเทศเข้ามาผสมพันธุ์กับไก่พื้นเมือง เพื่อยกระดับการให้ผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการบริโภค ประกอบกับการเลี้ยงเพื่อการชนไก่ ผู้เลี้ยงนิยมนำไก่ชนผสมข้ามกับไก่สายพันธุ์ต่างประเทศ เช่น ไก่พม่า ไก่เวียดนาม และไก่ญี่ปุ่น จึงทำให้กลายเป็นไก่ลูกผสมที่มีความหลายหลายทั้งทางด้านพันธุกรรม และลักษณะปรากฏ ทำให้สูญเสียความบริสุทธิ์ของพันธุกรรมดั้งเดิมลงไป อย่างไรก็ตาม ในจังหวัดแพร่ยังมีชาวบ้านที่เป็นชนเผ่าอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็นภูเขาสูงซับซ้อนจำนวนหนึ่ง ที่ยังคงเลี้ยงไก่พื้นเมืองประจำท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นสายพันธุ์ของชุมชน ไก่เหล่านี้ถูกเลี้ยงโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำมาใช้ประโยชน์ในกิจกรรมสำคัญตามประเพณีอยู่เสมอ ในบางครั้ง ชุมชนอาจมีไก่ที่เหมาะสำหรับการประกอบพิธีกรรมไม่เพียงพอ จึงทำให้ต้องลงมาหาซื้อไก่ที่มีลักษณะตรงกับความต้องการจากพื้นราบขึ้นไปใช้ประกอบพิธีกรรมแทน และหากมีไก่ที่เหลือก็นำมาเลี้ยงรวมกับไก่ประจำถิ่นของตน ซึ่งถ้าเกิดการการผสมพันธุ์กับไก่ที่เลี้ยงไว้เดิม ก็อาจจะทำให้การสูญเสียพันธุกรรมที่ดีของไก่ประจำถิ่นไป จากการศึกษางานวิจัยในช่วงที่ผ่านมา (สุภาวดี, 2557, อังศนา และจิตรกร, 2559, กวินท์ และคณะ, 2559, เจนรงค์ และคณะ, 2559, ปุณเรศวร์ และคณะ 2559; สิริวดี และสกุณา, 2560, กิจจา และคณะ, 2562) มีรายงานเกี่ยวกับความหลากหลายทางพันธุกรรม สถานภาพ วิถีชีวิต และภูมิปัญญาของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองในแต่ละท้องถิ่นอย่างกว้างขวาง แต่อย่างไรก็ตาม การศึกษาถึงความหลากหลายทางลักษณะปรากฏ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเลี้ยงไก่พื้นเมืองของชนเผ่าในจังหวัดแพร่ ยังไม่พบการรายงานที่เป็นหลักฐานอย่างชัดเจน ดังนั้น ในการศึกษาครั้งนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความหลากหลายทางลักษณะปรากฏ และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเลี้ยงไก่ เพื่อที่จะรวบรวมข้อมูลไปวางแผนการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมที่ดีเด่นของไก่ประจำถิ่นของชนเผ่าในจังหวัดแพร่ได้อย่างเหมาะสม พร้อมกันนี้ จะมีการดำเนินการอนุรักษ์พันธุกรรมไก่ประจำถิ่นไปพร้อมกัน ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านระบบการผสมพันธุ์เพื่อการเก็บรักษาความดีเด่นของพันธุกรรมไก่ รวมถึงแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการให้ผลผลิตของไก่พ่อแม่พันธุ์ให้กับเกษตรกรชนเผ่าด้วย เพื่อป้องกันการปนเปื้อนพันธุกรรมจากแหล่งอื่น ซึ่งอาจจะส่งผลทำให้สูญเสียพันธุกรรมที่ดีเด่นไป

ตอนที่ 10 วัตถุประสงค์
วัตุประสงค์
1.เพื่อสนองพระราชดำริภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
2.เพื่อศึกษาความหลากหลายทางลักษณะภายนอกของไก่พื้นถิ่นในชุมชนของชนเผ่าต่างๆ ในจังหวัดแพร่
3.เพื่อรวบรวมภูมิปัญญาการเลี้ยงไก่ของชนเผ่าในจังหวัดแพร่
4.เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านระบบการผสมพันธุ์ไก่สำหรับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากพันธุกรรมไก่ในท้องถิ่น
5.เพื่อถ่ายถอดเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลผลิตของพ่อแม่พันธุ์ไก่ให้กับเกษตรกรชนเผ่า
ตอนที่ 11 ผลผลิตของโครงการและตัวชี้วัด
ผลผลิต : ข้อมูลลักษณะภายนอกของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงโดยชนเผ่าและผู้เข้ารับการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
KPI 1 : จำนวนข้อมูล
ประเภท : เชิงปริมาณ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
400 ชุด 400
KPI 2 : เกษตรกรที่ร่วมโครงการที่มีความพึงพอใจต่อเข้ารับการฝึกอบรม
ประเภท : เชิงคุณภาพ
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
80 ร้อยละ 80
KPI 3 : ร้อยละของโครงการที่แล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด
ประเภท : เชิงเวลา
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
100 ร้อยละ 100
KPI 4 : ค่าใช้จ่ายของการให้บริการวิชาการตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร
ประเภท : เชิงต้นทุน
ค่าเป้าหมายของตัวชี้วัด
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 หน่วยนับ การคำนวณ ผลลัพธ์
160000 บาท 160000
 
ตอนที่ 12 ผลผลิตของโครงการและค่าใช้จ่าย
ผลผลิต : ข้อมูลลักษณะภายนอกของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงโดยชนเผ่าและผู้เข้ารับการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
ชื่อกิจกรรม :
การศึกษาความหลากหลายของลักษณะภายนอกของไก่พื้นเมืองที่เลี้ยงโดยชนเผ่า จำนวน 400 ตัว

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/11/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรศิลป์  มาลัยทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อิศรา  วัฒนนภาเกษม (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์มรกต  วงศ์หน่อ (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เช่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าที่พัก ค่ายานหาหนะ จำนวน 7 ครั้ง ๆ ละ 9,200 บาท เป็นเงิน 64,400 บาท
ค่าจ้างเหมาจัดทำรายงาน จำนวน 2 งาน ๆ ละ 1,250 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 66,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 66,900.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าวัสดุ
ค่าวัสดุวิทยาศาสตร์ ได้แก่ เครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตัล เวอร์เนียคาร์ลิปเปอร์ดิจิตัล สายวัด เป็นเงิน 12,400บาท
ค่าวัสดุสำนักงาน ได้แก่ กระดาษA4 หมึกพิมพ์เลเซอร์ หมึกพิมพ์สีแบบขวด เป็นเงิน 8,500 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 20,900.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 20,900.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 87800.00
ชื่อกิจกรรม :
การฝึกอบรบเชิงปฏิบัติการในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงและการขยายพันธุ์ไก่พื้นเมือง

ช่วงเวลาดำเนินกิจกรรม : 26/11/2567 - 30/09/2568
รายชื่อผู้รับผิดชอบ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรศิลป์  มาลัยทอง (ผู้รับผิดชอบหลัก)
อาจารย์ ดร.ศุกรี  อยู่สุข (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิชิตร์  วรรณคำ (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดุจดาว  คนยัง (ผู้รับผิดชอบรอง)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรพงษ์  ทองเรือง (ผู้รับผิดชอบรอง)
งบประมาณดำเนินการ
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าใช้สอย
ค่าเดินทางและค่าที่พักในการฝึกอบรม จำนวน 4 ครั้ง ๆ ละ 9,200 บาท เป็นเงิน 36,800 บาท
ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ จำนวน 30 คน ๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 80 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 9,600 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าร่วมอบรมและเจ้าหน้าที่ 30 คน ๆ ละ 2 มื้อ ๆ ละ 35 บาท จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 8,400 บาท
ค่าจ้างเหมาทำเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 100 เล่ม ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 57,800.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 57,800.00 บาท
รายจ่ายดำเนินงาน » ค่าตอบแทน
ค่าตอบแทนวิทยาการภาคบรรยาย จำนวน 6 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท จำนวน 1 คน ๆ ละ 1 วัน จำนวน 4 ครั้ง เป็นเงิน 14,400 บาท
ไตรมาส 1 ไตรมาส 2 ไตรมาส 3 ไตรมาส 4 รวม
0.00 บาท 14,400.00 บาท 0.00 บาท 0.00 บาท 14,400.00 บาท
รวมจำนวนเงินทั้งหมด 72200.00
 
ตอนที่ 13 ปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 14 แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค
ไม่มีข้อมูล
ตอนที่ 15 เอกสารประกอบ
ตอนที่ 16 การบูรณาการ
การเรียนการสอน
ไม่มีข้อมูล
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ไม่มีข้อมูล
งานวิจัย
ไม่มีข้อมูล
อื่นๆ
ไม่มีข้อมูล